นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าผลตรวจสอบสายการบินนกแอร์ จากกรณีที่มีการยกเลิกเที่ยวบินตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.59 ที่ผ่านมาว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) หลังจากการตรวจสอบในประเด็นของจำนวนชั่วโมงบินของนักบิน ,ระบบการบริหาร การแก้ไขปัญหาฉุกเฉินและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร ซึ่งพบว่า ทางสายการบินนกแอร์ในประเด็นของจำนวนชั่วโมงข้อมูลของสายการบินนกแอร์แสดงการบันทึกชั่วโมงบินของนักบินเป็นรายเดือน และรายปีตามปีปฏิทิน ซึ่งตามประกาศของการบินพลเรือนจะต้องระบุเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีปฏิทิน ที่ตามกำหนดจะต้องไม่เกินมาตรฐาน
ทั้งนี้ เบื้องต้น ข้อมูลที่สายการบินนกแอร์จัดเก็บข้อมูลไม่ตรงตามประกาศทำให้มีจำนวนชั่วโมงบินของนักบินเกินเล็กน้อย จึงได้มีการสั่งการให้ กพท. ทำการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง โดยทางสายการบินนกแอร์ จะต้องแสดงข้อมูลให้ตรงเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีตามปฏิทินตามที่ได้กำหนดไว้ คาดว่า จะทราบผลภายในระยะเวลา 1 เดือน และหลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบอีก 13 สายการบินที่บินประจำภายในประเทศเพิ่มเติม
สำหรับระยะเวลาการทำการบินของนักบินนั้น ที่ทางสายการบินทุกสายการบินจะต้องทำหน้าที่ในเรื่องของการกำกับนักบิน และทางนักบินก็จะต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามประกาศกรมการบินพลเรือนลงวันที่ 1 ธ.ค.52 ที่เป็นประกาศเกี่ยวกับการข้อจำกัดเวลาเวลาทำการบินและหลักปฏิบัติหน้าที่ โดยระยะเวลาของการบินจะนับตั้งแต่ 1 ชั่วโมงก่อนการบินถึง 30 นาทีหลังทำการลงจอด ระยะทำการบิน รวมถึงระยะเวลาของการพักผ่อนของนักบิน
ส่วนความคืบหน้าของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของการตรวจเรื่องต่างผู้โดยสารในวันที่ 14 ก.พ.59 ที่ผ่านมา พบว่า ขณะนี้สายการบินมีการชดเชยผู้โดยสารไปแล้ว 90% โดยในวันที่ 14 ก.พ.59 มีผู้โดยสารมาทำการเช็คอินท์ใน 9 เส้นทางจำนวน 3,002 คน คืนตั๋วจำนวน 374 คนเที่ยวไป จำนวน 160 คนเที่ยวกลับ โดยสายการบินได้โอนย้ายผู้โดยสารไปยังสายการบินพันธมิตร และขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติม จัดที่พัก รวมถึงจ่ายค่าชดเชยจำนวน 1,200 บาทให้ผู้โดยสารที่เดินทางจากดอนเมืองไปชดเชยไปแล้วจำนวน 1,154 คน อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายชดเชยจำนวน 263 คน ผู้โดยสารเที่ยวกลับจากต่างจังหวัดเข้ามาดอนเมืองจำนวน 784 คน อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายชดเชยจำนวน 32 คน ซึ่ง กพท. จะกำกับดูแลให้สายการบินนกแอร์ชดเชยผู้โดยสารครบตามจำนวน
ในส่วนแผนที่โครงสร้างการบริหารงานสายการบินนกแอร์ มีแผนขยายธุรกิจกับสายการบินในยุโรป ซึ่งจะต้องได้มาตรฐานตามกำหนดขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป(EASA) ทางสายการบินนกแอร์ จึงจำเป็นต้องแยกโครงสร้างการบริหารงานระหว่างฝ่ายปฏิบัติการบิน และฝ่ายกำกับการบินให้ชัดเจน รวมถึงการฝึกอบรมใหม่จะขึ้นตรงกับผู้บริหารเพื่อให้สายการบินมีประสิทธิภาพ ก็ไม่พบว่า มีปัญหาและขัดต่อระเบียบกระทรวง
อย่างไรก็ตาม ทางสายการบินนกแอร์ได้แจ้งว่า จะให้สายการบินพันธมิตร มาช่วยสนับสนุนด้านการบินจนถึงวันที่ 10 มี.ค.59 นี้ แต่ จะมีการรายงานติดตามแบบวันต่อวัน ส่วนการจัดหานักบิน ได้รายงานว่า จะมีนักบินมาเพิ่มเติมจากจำนวน 190 คน ซึ่งมีทั้งนักบินที่ลาออกไปแล้วและขอกลับมาทำงานใหม่ และมีนักบินต่างชาติจากสายการบินพันธมิตร ซึ่งเป็นนักบินเครื่องบิน BOEING เพิ่มเติมอีกประมาณ 10 คน โดยกระทรวงคมนาคม จะช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการออกใบอนุญาต
สำหรับมาตรฐานการกำกับชั่วโมงบินของนักบินจะชี้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก คือในวัน 1 วันต้องบินไม่เกินประมาณ 11 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์ ต้องไม่เกิน 34 ชั่วโมง ใน 1 เดือนต้องไม่เกิน 110 ชั่วโมง และใน 1 ปีต้องไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง ซึ่งการที่ กพท.ตรวจสอบสายการบินนกแอร์ และพบนักบินทำการบินเกินชั่วโมงบิน จึงเป็นเรื่องที่ต้องลงโทษตามกฎการบิน ทั้งการปรับและการยึดใบอนุญาตนักบิน แต่กลับให้ทำการสอบสวนใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก และแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมาตรฐานของหน่วยงานที่กำกับการดูแลด้านการบิน จึงไม่แปลกใจที่ไทยไม่ผ่านการตรวจสอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO)
ทั้งนี้ เบื้องต้น ข้อมูลที่สายการบินนกแอร์จัดเก็บข้อมูลไม่ตรงตามประกาศทำให้มีจำนวนชั่วโมงบินของนักบินเกินเล็กน้อย จึงได้มีการสั่งการให้ กพท. ทำการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง โดยทางสายการบินนกแอร์ จะต้องแสดงข้อมูลให้ตรงเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีตามปฏิทินตามที่ได้กำหนดไว้ คาดว่า จะทราบผลภายในระยะเวลา 1 เดือน และหลังจากนี้ จะมีการตรวจสอบอีก 13 สายการบินที่บินประจำภายในประเทศเพิ่มเติม
สำหรับระยะเวลาการทำการบินของนักบินนั้น ที่ทางสายการบินทุกสายการบินจะต้องทำหน้าที่ในเรื่องของการกำกับนักบิน และทางนักบินก็จะต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามประกาศกรมการบินพลเรือนลงวันที่ 1 ธ.ค.52 ที่เป็นประกาศเกี่ยวกับการข้อจำกัดเวลาเวลาทำการบินและหลักปฏิบัติหน้าที่ โดยระยะเวลาของการบินจะนับตั้งแต่ 1 ชั่วโมงก่อนการบินถึง 30 นาทีหลังทำการลงจอด ระยะทำการบิน รวมถึงระยะเวลาของการพักผ่อนของนักบิน
ส่วนความคืบหน้าของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของการตรวจเรื่องต่างผู้โดยสารในวันที่ 14 ก.พ.59 ที่ผ่านมา พบว่า ขณะนี้สายการบินมีการชดเชยผู้โดยสารไปแล้ว 90% โดยในวันที่ 14 ก.พ.59 มีผู้โดยสารมาทำการเช็คอินท์ใน 9 เส้นทางจำนวน 3,002 คน คืนตั๋วจำนวน 374 คนเที่ยวไป จำนวน 160 คนเที่ยวกลับ โดยสายการบินได้โอนย้ายผู้โดยสารไปยังสายการบินพันธมิตร และขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติม จัดที่พัก รวมถึงจ่ายค่าชดเชยจำนวน 1,200 บาทให้ผู้โดยสารที่เดินทางจากดอนเมืองไปชดเชยไปแล้วจำนวน 1,154 คน อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายชดเชยจำนวน 263 คน ผู้โดยสารเที่ยวกลับจากต่างจังหวัดเข้ามาดอนเมืองจำนวน 784 คน อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายชดเชยจำนวน 32 คน ซึ่ง กพท. จะกำกับดูแลให้สายการบินนกแอร์ชดเชยผู้โดยสารครบตามจำนวน
ในส่วนแผนที่โครงสร้างการบริหารงานสายการบินนกแอร์ มีแผนขยายธุรกิจกับสายการบินในยุโรป ซึ่งจะต้องได้มาตรฐานตามกำหนดขององค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป(EASA) ทางสายการบินนกแอร์ จึงจำเป็นต้องแยกโครงสร้างการบริหารงานระหว่างฝ่ายปฏิบัติการบิน และฝ่ายกำกับการบินให้ชัดเจน รวมถึงการฝึกอบรมใหม่จะขึ้นตรงกับผู้บริหารเพื่อให้สายการบินมีประสิทธิภาพ ก็ไม่พบว่า มีปัญหาและขัดต่อระเบียบกระทรวง
อย่างไรก็ตาม ทางสายการบินนกแอร์ได้แจ้งว่า จะให้สายการบินพันธมิตร มาช่วยสนับสนุนด้านการบินจนถึงวันที่ 10 มี.ค.59 นี้ แต่ จะมีการรายงานติดตามแบบวันต่อวัน ส่วนการจัดหานักบิน ได้รายงานว่า จะมีนักบินมาเพิ่มเติมจากจำนวน 190 คน ซึ่งมีทั้งนักบินที่ลาออกไปแล้วและขอกลับมาทำงานใหม่ และมีนักบินต่างชาติจากสายการบินพันธมิตร ซึ่งเป็นนักบินเครื่องบิน BOEING เพิ่มเติมอีกประมาณ 10 คน โดยกระทรวงคมนาคม จะช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการออกใบอนุญาต
สำหรับมาตรฐานการกำกับชั่วโมงบินของนักบินจะชี้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก คือในวัน 1 วันต้องบินไม่เกินประมาณ 11 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์ ต้องไม่เกิน 34 ชั่วโมง ใน 1 เดือนต้องไม่เกิน 110 ชั่วโมง และใน 1 ปีต้องไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง ซึ่งการที่ กพท.ตรวจสอบสายการบินนกแอร์ และพบนักบินทำการบินเกินชั่วโมงบิน จึงเป็นเรื่องที่ต้องลงโทษตามกฎการบิน ทั้งการปรับและการยึดใบอนุญาตนักบิน แต่กลับให้ทำการสอบสวนใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก และแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมาตรฐานของหน่วยงานที่กำกับการดูแลด้านการบิน จึงไม่แปลกใจที่ไทยไม่ผ่านการตรวจสอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO)