พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ได้ส่งความเห็นในส่วนของ ป.ป.ช.ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กรธ.กำลังดูรายละเอียดในทุกหมวด ซึ่งหมวดเกี่ยวกับองค์กรอิสระจะอยู่ในตอนท้ายๆ อย่างไรก็ตาม วันพรุ่งนี้ (29 ก.พ.) ป.ป.ช.ได้รับการเชิญจากคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตต่างๆ ให้ไปชี้แจงในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องกรอบการทำงานของ ป.ป.ช.นั้น ตามแนวทางของ กรธ.จะให้ทำในช่วงแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ได้เริ่มกระชับการทำงานมากขึ้น มีการกระจายอำนาจของหน่วย ป.ป.ช.ในพื้นที่ จึงทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ดังนั้น ต่อจากนี้ เมื่อมีการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ป.ป.ช.สามารถให้เจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัด หรือในเขต ทำเรื่องไต่สวน หรือเข้าไปดำเนินการได้เลย ซึ่งหากใช้ระบบนี้จะสามารถเร่งรัดกระบวนการไต่สวนได้อย่างรวดเร็ว และจะทำให้คนเกิดความเกรงกลัว และไม่กล้ากระทำความผิด
นอกจากนี้ แม้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เรียบร้อย แต่ไม่กระทบการทำงานของ ป.ป.ช.ซึ่ง 2 เดือน ที่คณะกรรมการชุดนี้เข้ามา ได้เร่งรัดการทำงานในทุกมิติ และในต้นเดือนมีนาคมนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะมีการจัดทำเวิร์คช็อปในพื้นที่ของกองทัพบกที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อระดมความเห็นในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หรือกฎหมายที่จะต้องทำใน พ.ร.บ.ประกอบ เพื่อทำให้การไต่สวนมีความรวดเร็ว กระทัดรัด และมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าว่า ไม่เกิน 2 ปีนี้ คดีที่คั่งค้างอยู่จะต้องจัดการให้หมด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ได้เริ่มกระชับการทำงานมากขึ้น มีการกระจายอำนาจของหน่วย ป.ป.ช.ในพื้นที่ จึงทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ดังนั้น ต่อจากนี้ เมื่อมีการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ป.ป.ช.สามารถให้เจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัด หรือในเขต ทำเรื่องไต่สวน หรือเข้าไปดำเนินการได้เลย ซึ่งหากใช้ระบบนี้จะสามารถเร่งรัดกระบวนการไต่สวนได้อย่างรวดเร็ว และจะทำให้คนเกิดความเกรงกลัว และไม่กล้ากระทำความผิด
นอกจากนี้ แม้ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เรียบร้อย แต่ไม่กระทบการทำงานของ ป.ป.ช.ซึ่ง 2 เดือน ที่คณะกรรมการชุดนี้เข้ามา ได้เร่งรัดการทำงานในทุกมิติ และในต้นเดือนมีนาคมนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะมีการจัดทำเวิร์คช็อปในพื้นที่ของกองทัพบกที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อระดมความเห็นในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หรือกฎหมายที่จะต้องทำใน พ.ร.บ.ประกอบ เพื่อทำให้การไต่สวนมีความรวดเร็ว กระทัดรัด และมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าว่า ไม่เกิน 2 ปีนี้ คดีที่คั่งค้างอยู่จะต้องจัดการให้หมด