พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่าจะมีน้ำใช้ไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ข้อมูลน้ำของกรมชลประทานล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลัก 4 แห่ง 3,068 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ซึ่งเป็นตัวเลขจริงที่ใช้สื่อสารกับประชาชน โดยไม่รวมน้ำตายหรือน้ำก้นเขื่อนที่มีตะกอน รัฐบาลยืนยันว่ามีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียงพอไปจนสิ้นฤดูแล้ง
ส่วนภาคการเกษตรนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจดีว่ามีน้ำไม่เพียงพอ แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ต้องการปลูกข้าวต่อไป โดยยืนยันว่าจะรับความเสี่ยงเอง แม้ปริมาณน้ำทุกเขื่อนเพียงพอที่จะจัดสรรไปหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศตลอดฤดูแล้ง แต่ต้องยอมรับว่าบางพื้นที่เกิดภาวะแล้งจริง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัย 46 อำเภอ 12 จังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถอนุมัติงบประมาณไปใช้ในระดับอำเภอและท้องถิ่น รวมถึงขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำหรือเครื่องสูบน้ำได้
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมกว่า 93,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 670,000 ราย
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งเป็น 1 ใน 8 มาตรการรับมือวิกฤตภัยแล้ง โดยจะปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ กาญจนบุรี อุดรธานี นครราชสีมา จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี อีกทั้งจะดำเนินการขุดบ่อบาดาลเพิ่มอีก 2,000 บ่อ ภายในเดือนเมษายน ในพื้นที่ประสบภัยแล้งระยะเร่งด่วนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีประชาชนได้รับประโยชน์ 225,733 ครัวเรือน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องปัญหาภัยแล้งมาก และขอความร่วมมือประชาชนมาตลอด โดยขอให้ทุกฝ่ายใช้น้ำอย่างประหยัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด ควบคู่กับมาตรการควบคุมการจ่ายน้ำของการประปา โดยรัฐบาลเตรียมรณรงค์ให้คนไทยประหยัดน้ำอย่างจริงจัง และเชิญชวนประชาชนใช้การรดน้ำดำหัวแทนการเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำและสืบสานวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งยังได้กำชับให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องปริมาณน้ำในโรงแรมที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งอาจกระทบต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ส่วนภาคการเกษตรนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจดีว่ามีน้ำไม่เพียงพอ แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ต้องการปลูกข้าวต่อไป โดยยืนยันว่าจะรับความเสี่ยงเอง แม้ปริมาณน้ำทุกเขื่อนเพียงพอที่จะจัดสรรไปหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศตลอดฤดูแล้ง แต่ต้องยอมรับว่าบางพื้นที่เกิดภาวะแล้งจริง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัย 46 อำเภอ 12 จังหวัด เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถอนุมัติงบประมาณไปใช้ในระดับอำเภอและท้องถิ่น รวมถึงขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำหรือเครื่องสูบน้ำได้
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมกว่า 93,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 670,000 ราย
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งเป็น 1 ใน 8 มาตรการรับมือวิกฤตภัยแล้ง โดยจะปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ กาญจนบุรี อุดรธานี นครราชสีมา จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี อีกทั้งจะดำเนินการขุดบ่อบาดาลเพิ่มอีก 2,000 บ่อ ภายในเดือนเมษายน ในพื้นที่ประสบภัยแล้งระยะเร่งด่วนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีประชาชนได้รับประโยชน์ 225,733 ครัวเรือน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องปัญหาภัยแล้งมาก และขอความร่วมมือประชาชนมาตลอด โดยขอให้ทุกฝ่ายใช้น้ำอย่างประหยัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด ควบคู่กับมาตรการควบคุมการจ่ายน้ำของการประปา โดยรัฐบาลเตรียมรณรงค์ให้คนไทยประหยัดน้ำอย่างจริงจัง และเชิญชวนประชาชนใช้การรดน้ำดำหัวแทนการเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำและสืบสานวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งยังได้กำชับให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องปริมาณน้ำในโรงแรมที่พักหรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งอาจกระทบต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย