ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มบังคับใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะจัดการกับภาวะเงินฝืด ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงขาลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการ BOJ มีมติ 5-4 เสียงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ คือ -0.1% สำหรับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่นำเงินไปฝากไว้กับ BOJ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.พ.เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่า ธนาคารพาณิชย์จะต้องเป็นฝ่ายจ่ายค่าฝากแก่ BOJ หากมีการนำเงินส่วนเกินมาพักไว้ที่ BOJ โดยมาตรการของ BOJ ในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ แทนที่จะนำมาพักไว้ที่ BOJ และต้องการลดการออมของประชาชน เพื่อให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น และกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้ความพยายามมานานในการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยครั้งหนึ่งรัฐบาลถึงกับออกคูปองช็อปปิ้งให้แก่ประชาชนเพื่อให้ไปซื้อสินค้า หลังจากที่ประเทศเผชิญปัญหาเงินฝืดเป็นเวลากว่า 10 ปี
นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่า BOJ จะลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบมากขึ้น หากมีความจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยในขณะนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นชะลอตัวอยู่ที่ 0.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ อยู่มาก
ด้านสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ระบุว่า การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบนั้น จะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานของธนาคารระดับภูมิภาค ปรับตัวลดลง 15% และกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารรายใหญ่ ปรับตัวลดลง 8% สำหรับปีงบการเงิน 2559 เนื่องจากธนาคารต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการฝากเงินที่สำรองไว้กับ BOJ และรายได้ที่ลดลงจากการปล่อยกู้และการถือพันธบัตร
เรียวจิ โยชิซาว่า นักวิเคราะห์ของ S&P กล่าวว่า "ปัจจุบัน รายได้จากการปล่อยเงินกู้ภายในประเทศของธนาคารพาณิชย์ย่ำแย่อยู่แล้ว การใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบจะยิ่งทำให้รายได้ของธนาคารเหล่านี้ย่ำแย่ลงอีก"
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการ BOJ มีมติ 5-4 เสียงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ คือ -0.1% สำหรับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่นำเงินไปฝากไว้กับ BOJ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.พ.เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่า ธนาคารพาณิชย์จะต้องเป็นฝ่ายจ่ายค่าฝากแก่ BOJ หากมีการนำเงินส่วนเกินมาพักไว้ที่ BOJ โดยมาตรการของ BOJ ในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ แทนที่จะนำมาพักไว้ที่ BOJ และต้องการลดการออมของประชาชน เพื่อให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น และกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้ความพยายามมานานในการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยครั้งหนึ่งรัฐบาลถึงกับออกคูปองช็อปปิ้งให้แก่ประชาชนเพื่อให้ไปซื้อสินค้า หลังจากที่ประเทศเผชิญปัญหาเงินฝืดเป็นเวลากว่า 10 ปี
นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่า BOJ จะลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบมากขึ้น หากมีความจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยในขณะนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นชะลอตัวอยู่ที่ 0.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ อยู่มาก
ด้านสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ระบุว่า การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบนั้น จะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานของธนาคารระดับภูมิภาค ปรับตัวลดลง 15% และกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารรายใหญ่ ปรับตัวลดลง 8% สำหรับปีงบการเงิน 2559 เนื่องจากธนาคารต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการฝากเงินที่สำรองไว้กับ BOJ และรายได้ที่ลดลงจากการปล่อยกู้และการถือพันธบัตร
เรียวจิ โยชิซาว่า นักวิเคราะห์ของ S&P กล่าวว่า "ปัจจุบัน รายได้จากการปล่อยเงินกู้ภายในประเทศของธนาคารพาณิชย์ย่ำแย่อยู่แล้ว การใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบจะยิ่งทำให้รายได้ของธนาคารเหล่านี้ย่ำแย่ลงอีก"