ธปท.ชี้ธนาคารกลางยุโรปประกาศลดดอกเบี้ย เพื่อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สะท้อนได้ว่ายุโรปมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อจะต่ำเกินไป และเกิดความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด แนะจับตาผลกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งก็ต้องระมัดระวัง และดูแลความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนก็เคลื่อนไหว 2 ทิศทาง มีเสถียรภาพดี และทาง ธปท. ก็มีเครื่องมือดูแล
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า การที่ธนาคารยุโรป หรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.10 ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.5 รวมทั้งยังมีการออกมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ หรือคิวอี เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ สะท้อนได้ว่า ยุโรปมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อจะต่ำเกินไป และเกิดความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด ซึ่งการลดดอกเบี้ยช่วยสร้างภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน และการบริโภค ไม่ให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจดูซบเซามากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้มีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป เพราะการที่ยุโรปลดดอกเบี้ยมีผลทำให้ค่าเงินยุโรปอ่อนลง ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ทำให้ประเทศที่ทำการค้ากับยุโรปได้ประโยชน์ แต่อาจไม่เต็มที่เพราะยังมีความกังวลความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย และยูเครน
นายจิรเทพ ยังกล่าวด้วยว่า ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน แต่ยังคงเชื่อว่าประเทศจีนแม้อัตราการขยายตัวชะลอลงแต่ไม่ถึงขั้นซบเซา ศักยภาพเศรษฐกิจของเอเชียก็ยังมีอยู่ ซึ่ง ธปท. ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเชีย และไทย แต่อาจจะเห็นการไหลเข้าออกของเงินทุนอ่อนไหวตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศ ซึ่ง ธปท.ก็ต้องระมัดระวัง และดูแลความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนก็เคลื่อนไหว 2 ทิศทางมีเสถียรภาพดี ซึ่ง ธปท.ก็มีเครื่องมือดูแล
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกคงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นขาลงหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยก็ต้องตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยเป็นปัจจัยภายในประเทศมากกกว่าปัจจัยภายนอก ซึ่งต้องติดตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหากมีการลงทุนเพิ่ม และมีการนำเข้าสินค้า และเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนการลงทุนจึงอาจทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลไปบ้างไม่น่าเป็นห่วง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และเป็นการยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจให้โตเต็มศักยภาพ
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า การที่ธนาคารยุโรป หรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.10 ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.5 รวมทั้งยังมีการออกมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ หรือคิวอี เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ สะท้อนได้ว่า ยุโรปมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อจะต่ำเกินไป และเกิดความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด ซึ่งการลดดอกเบี้ยช่วยสร้างภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน และการบริโภค ไม่ให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจดูซบเซามากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้มีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป เพราะการที่ยุโรปลดดอกเบี้ยมีผลทำให้ค่าเงินยุโรปอ่อนลง ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ทำให้ประเทศที่ทำการค้ากับยุโรปได้ประโยชน์ แต่อาจไม่เต็มที่เพราะยังมีความกังวลความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย และยูเครน
นายจิรเทพ ยังกล่าวด้วยว่า ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน แต่ยังคงเชื่อว่าประเทศจีนแม้อัตราการขยายตัวชะลอลงแต่ไม่ถึงขั้นซบเซา ศักยภาพเศรษฐกิจของเอเชียก็ยังมีอยู่ ซึ่ง ธปท. ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเชีย และไทย แต่อาจจะเห็นการไหลเข้าออกของเงินทุนอ่อนไหวตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศ ซึ่ง ธปท.ก็ต้องระมัดระวัง และดูแลความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนก็เคลื่อนไหว 2 ทิศทางมีเสถียรภาพดี ซึ่ง ธปท.ก็มีเครื่องมือดูแล
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกคงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นขาลงหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยก็ต้องตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยเป็นปัจจัยภายในประเทศมากกกว่าปัจจัยภายนอก ซึ่งต้องติดตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหากมีการลงทุนเพิ่ม และมีการนำเข้าสินค้า และเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนการลงทุนจึงอาจทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลไปบ้างไม่น่าเป็นห่วง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และเป็นการยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจให้โตเต็มศักยภาพ