นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการทำงานของ กรธ.ว่า กรธ.จะนำเอาทุกเรื่องที่รับฟังมาคุยกัน หลังจากที่ทุกภาคส่วนได้ส่งความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญมายัง กรธ. โดยวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ กรธ.จะเริ่มพิจารณาไล่เรียงไปตามหมวดและมาตราต่าง ๆ และเปรียบเทียบว่าในแต่ละหมวดแต่ละมาตรามีใครเสนอปรับแก้อย่างไรบ้าง หากประเด็นใดเป็นประโยชน์กับประชาชน และผู้ที่เสนอให้แก้ไขสามารถให้เหตุผลที่ชัดเจนว่าดีกว่าที่ กรธ.คิด หรือหักล้างความคิดของเราได้ ก็พร้อมจะปรับแก้ให้ตามข้อเสนอโดยไม่ขัดข้อง ทั้งนี้ ยืนยันว่า กรธ.พร้อมที่จะรับฟังทุกความเห็นและข้อเสนอแนะ ทุกฝ่ายสามารถส่งเข้ามาได้ ยังมีเวลาจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์
ส่วนข้อเสนอของ สนช.และ สปท.ที่เตรียมส่งให้ กรธ. ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นความเห็นที่น่าสนใจ แต่บางประเด็นที่คัดค้าน เช่น ที่มา ส.ว. หรือระบบการเลือกตั้ง ตนเห็นว่าบางท่านเป็นอดีตนักการเมือง ถึงจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมานำมาเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะ แต่ข้อเสนอบางเรื่องก็ยังมีผลประโยชน์กับตนเองอยู่บ้าง เมื่อไปปิดกั้นหรือเปลี่ยนแปลงก็กระทบกับตัวเอง จึงเกิดความไม่พอใจ ซึ่งขอยืนยันว่า กรธ.จะไม่เอาใจนักการเมืองหรือใครทั้งนั้น หาตามใจนักการเมือง หรือคนหวังประโยชน์ ปัญหาของประเทศก็ไม่จบ ดังนั้น ต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก หากจะปรับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าประชาชนยังไม่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง แต่จะไม่ปรับเพื่อประโยชน์ของคนเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น
ส่วนข้อเสนอของ สนช.และ สปท.ที่เตรียมส่งให้ กรธ. ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นความเห็นที่น่าสนใจ แต่บางประเด็นที่คัดค้าน เช่น ที่มา ส.ว. หรือระบบการเลือกตั้ง ตนเห็นว่าบางท่านเป็นอดีตนักการเมือง ถึงจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมานำมาเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะ แต่ข้อเสนอบางเรื่องก็ยังมีผลประโยชน์กับตนเองอยู่บ้าง เมื่อไปปิดกั้นหรือเปลี่ยนแปลงก็กระทบกับตัวเอง จึงเกิดความไม่พอใจ ซึ่งขอยืนยันว่า กรธ.จะไม่เอาใจนักการเมืองหรือใครทั้งนั้น หาตามใจนักการเมือง หรือคนหวังประโยชน์ ปัญหาของประเทศก็ไม่จบ ดังนั้น ต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก หากจะปรับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าประชาชนยังไม่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง แต่จะไม่ปรับเพื่อประโยชน์ของคนเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น