นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ขณะนี้กลไกของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานในทุกมาตรการอย่างเร่งด่วนและจริงจัง โดยได้มีการกระจายเม็ดเงินลงพื้นที่มียอดรวมการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการต่างๆ แล้วเป็นจำนวนเงิน 7,913.44 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 9 ก.พ59)
โดยมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ได้รับอนุมัติโครงการจากสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่แล้ว 120,198 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 92.07 จำนวนเงินที่อนุมัติแล้ว 35,423.60 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 4,021.87 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 7,979.54 ล้านบาท มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ได้รับการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณแล้วจำนวน 3,827 โครงการ เป็นเงิน 3,200.968 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,297.19 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 712.35 ล้านบาท
โครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 421 รายการ เป็นเงิน 254.28 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่ 21 จังหวัด เบิกจ่ายแล้ว 83.51 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 65.68 ล้านบาท มาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลกระทรวงมหาดไทยได้รับงบประมาณ 4,490 รายการ เป็นเงิน 2,565.80 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว 2,286.44 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,474.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่าทุกจังหวัดจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีการนำข้อมูลสภาพปัญหาที่ได้จากการตรวจติดตามในพื้นที่มากำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมให้ข้อแนะนำกับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ บูรณาการการบริหารงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ พร้อมดูแลทุกโครงการให้เกิดความโปร่งใส และเพื่อให้จังหวัดสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันตามระยะเวลา กระทรวงมหาดไทย ได้ประสานกรมบัญชีกลาง ให้ขยายเวลาการให้บริการแก่ส่วนราชการที่ดำเนินการภายใต้มาตรการดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ได้ให้แต่ละจังหวัดพิจารณาคัดเลือกโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ มีลักษณะการดำเนินการที่ดี สามารถแสดงให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน เช่น โครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาอาชีพ โครงการสร้างงานสร้างรายได้ เป็นต้น เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ
โฆษกกระทรวงมหาดไทย ระบุกระทรวงทหาดไทยยังเน้นย้ำให้จังหวัดกำชับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนดำเนินการตามโครงการมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้เม็ดเงินลงไปถึงมือพี่น้องประชาชนอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล
โดยมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ได้รับอนุมัติโครงการจากสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่แล้ว 120,198 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 92.07 จำนวนเงินที่อนุมัติแล้ว 35,423.60 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 4,021.87 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 7,979.54 ล้านบาท มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ได้รับการอนุมัติและจัดสรรงบประมาณแล้วจำนวน 3,827 โครงการ เป็นเงิน 3,200.968 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,297.19 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 712.35 ล้านบาท
โครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 421 รายการ เป็นเงิน 254.28 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่ 21 จังหวัด เบิกจ่ายแล้ว 83.51 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 65.68 ล้านบาท มาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลกระทรวงมหาดไทยได้รับงบประมาณ 4,490 รายการ เป็นเงิน 2,565.80 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว 2,286.44 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,474.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่าทุกจังหวัดจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีการนำข้อมูลสภาพปัญหาที่ได้จากการตรวจติดตามในพื้นที่มากำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมให้ข้อแนะนำกับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ บูรณาการการบริหารงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ พร้อมดูแลทุกโครงการให้เกิดความโปร่งใส และเพื่อให้จังหวัดสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันตามระยะเวลา กระทรวงมหาดไทย ได้ประสานกรมบัญชีกลาง ให้ขยายเวลาการให้บริการแก่ส่วนราชการที่ดำเนินการภายใต้มาตรการดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ได้ให้แต่ละจังหวัดพิจารณาคัดเลือกโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ มีลักษณะการดำเนินการที่ดี สามารถแสดงให้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน เช่น โครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาอาชีพ โครงการสร้างงานสร้างรายได้ เป็นต้น เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ
โฆษกกระทรวงมหาดไทย ระบุกระทรวงทหาดไทยยังเน้นย้ำให้จังหวัดกำชับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนดำเนินการตามโครงการมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้เม็ดเงินลงไปถึงมือพี่น้องประชาชนอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล