นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า รู้สึกงงเมื่อได้ยินนายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว ระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดี ไม่ผิด แต่วิธีการผิด ซึ่งเท่ากับรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมรับว่าการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรา 84 (8) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ส่วนที่บอกว่าผิดที่วิธีการนั้น คือเห็นว่ามีความผิดในส่วนการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) แต่งตั้งให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบ ที่น่าเศร้าไปกว่านั้นคือประเด็นที่ประธานคณะกรรมการฯ เพิ่งบอกว่าเป็นนโยบายที่ดีนั้น ได้ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นำไปยื่นขอถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติให้ถอดถอนไปเรียบร้อย และแย่ยิ่งกว่า คืออัยการสูงสุด (อสส.) นำประเด็นที่บอกว่าเป็นประโยชน์กับชาวนา ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อศาล โดยอ้างว่าทำให้เกษตรกรเสียหาย ไม่เป็นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกร แต่เป็นนโยบายประชานิยมที่นำไปสู่การทุจริตเชิงนโยบาย
นายวัฒนา กล่าวว่า ตนขอประณามว่า อสส.นำเอาประเด็นข้าวจำนวน 390,000 ตัน ที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์เพิ่งบอกว่าไม่ได้หายไปไหน แต่เป็นการลงบัญชีผิดพลาดนั้น ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยบรรยายฟ้องว่าความเสียหายในทางทรัพย์สินอื่น ได้แก่ การจัดเก็บรักษาข้าวตามโครงการเกิดการสูญหายหรือขาดบัญชี สรุปคือ อสส.นำความเท็จที่เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ ไปฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปี และรัฐบาลกำลังจะเอาเรื่องนี้ไปเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีก นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 39/2558 คุ้มครองการบริหารจัดการข้าวคงเหลือในการดูแลรักษาของรัฐและการดำเนินการต่อผู้รับผิด เพื่อคุ้มครองตัวเองและบริวาร ใส่ร้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่ารัฐบาลนี้จะรับผิดชอบอย่างไรกับการนำเอาความเท็จไปฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นคดีอาญา
นายวัฒนา กล่าวว่า ตนขอประณามว่า อสส.นำเอาประเด็นข้าวจำนวน 390,000 ตัน ที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์เพิ่งบอกว่าไม่ได้หายไปไหน แต่เป็นการลงบัญชีผิดพลาดนั้น ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยบรรยายฟ้องว่าความเสียหายในทางทรัพย์สินอื่น ได้แก่ การจัดเก็บรักษาข้าวตามโครงการเกิดการสูญหายหรือขาดบัญชี สรุปคือ อสส.นำความเท็จที่เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ ไปฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปี และรัฐบาลกำลังจะเอาเรื่องนี้ไปเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีก นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 39/2558 คุ้มครองการบริหารจัดการข้าวคงเหลือในการดูแลรักษาของรัฐและการดำเนินการต่อผู้รับผิด เพื่อคุ้มครองตัวเองและบริวาร ใส่ร้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่ารัฐบาลนี้จะรับผิดชอบอย่างไรกับการนำเอาความเท็จไปฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นคดีอาญา