นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเผยว่า จากกระประเมินด้วยสายตา เบื้องต้นพบต้นเพลิงมาจากบริเวณชั้น 3 ด้านทิศตะวันตกใกล้กับห้องครัว โดยไฟลุกลามอย่างรวดเร็วไปทางบันไดชั้น 4-7 และพบว่าชั้น 7 มีความเสียหายรุนแรงที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่วิบัติ หรือ คานมีรอยร้าวชัดเจน จึงไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิม ซึ่งจากการตรวจสอบสามารถระบุได้ว่า ชั้น1-2 สามารถซ่อมแซม ปรับปรุง และอยู่ได้ตามปกติ ส่วนชั้น3-7 ควรจะได้รับการตรวจสอบเป็นพิเศษ เนื่องจากคอนกรีตร่อน และเริ่มเห็นเหล็กข้างใน และชั้น8เป็นชั้นที่จะต้องควบคุม เพราะได้รับความเสียหายมากที่สุด ส่วนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบนั้น คาดว่า จะใช้เวลาในการตรวจสอบถึงโครงสร้างต่างๆ ภายในอาคารไม่เกิน 7 วัน และจากการตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปภายในอาคาร ไม่พบสปริงเกอร์ ถังดับเพลิง สัญญาณเตือนไฟ บันไดหนีไฟ เครื่องจับควัน เนื่องจากอาคารดังกล่าวสร้างตั้งแต่ปี2534 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายควบคุมอาคารออกมา
ด้านนายอมร พิมาณมาศ เลขาสภาวิศวกรฯ กล่าวว่า วันนี้เป็นการตรวจสอบทางสายตา โดยมุ่งเน้น พื้นที่ต้นเพลิงพบว่า เสาและคานไม่มีความเสียหายมาก ซึ่งร้อยละ5 ของพื้นมีการกระเทาะ เหล็กเส้นยังไม่เสียรูป ส่วนความสมดุลของอาคาร สามารถรับน้ำหนักได้ ส่วนการซ่อมแซมนั้น อาจทำได้ด้วยการปูพื้นใหม่
ด้านนายอมร พิมาณมาศ เลขาสภาวิศวกรฯ กล่าวว่า วันนี้เป็นการตรวจสอบทางสายตา โดยมุ่งเน้น พื้นที่ต้นเพลิงพบว่า เสาและคานไม่มีความเสียหายมาก ซึ่งร้อยละ5 ของพื้นมีการกระเทาะ เหล็กเส้นยังไม่เสียรูป ส่วนความสมดุลของอาคาร สามารถรับน้ำหนักได้ ส่วนการซ่อมแซมนั้น อาจทำได้ด้วยการปูพื้นใหม่