สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย ได้มีการรับการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยผลงานเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ที่เรียกว่ากังหันน้ำชัยพัฒนา ก็นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย เป็นครั้งแรกของโลกด้วย ผมอยากให้นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเยาวชน ที่ใฝ่ฝันจะเติบโตขึ้นมาเป็นนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต โดยยึดมั่นแนวทางการพัฒนาผลงานของตนตามแบบอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมุ่งค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานในการแก้ปัญหาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต ให้กับปวงชนชาวไทย ผมขอเป็นกำลังใจให้กับการมานะ ทุ่มเท ในการผลิตนวัตกรรมเพื่อส่วนรวมโดยการสร้างชาติ โดยการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของมวลมนุษยชาติ รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนให้นำเข้าสู่ภาคการผลิตให้ได้มากที่สุดนะครับ ในวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2559 มีการจัดงานวันนักประดิษฐ์ ณ Hall 102-103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิดผลงานประดิษฐ์ที่นำสู่การเรียนรู้ และการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ผมขอเชิญผู้ที่สนใจ เช่น นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการแนวคิด แรงบันดาลใจ และนักประดิษฐ์ที่ต้องการหาลู่ทางการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ เยี่ยมชมผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งของนักประดิษฐ์ไทย และนักประดิษฐ์ต่างประเทศกว่า 11 ประเทศ ในวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวนะครับ ผมขอเรียนอีกครั้งถึงปัญหาของประเทศเราวันนี้มีความวุ่นวายพอสมควรนะครับ ในขั้นการเตรียมการเลือกตั้ง การเตรียมการทำประชามติ หรือร่างรัฐธรรมนูญของเรานะครับ ผมขอเรียนย้ำว่า เราจะต้องแก้ไข และวางพื้นฐานให้ได้โดยเร็วในการที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน
เรื่องที่ 1. คือปัญหาด้านการเมือง และการเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ทุกคนทราบดี
เรื่องที่ 2 ความแตกต่างเรื่องของอาชีพ รายได้ การศึกษา ของคนในประเทศ
เรื่องที่ 3 ความเหลื่อมล้ำ แตกต่าง ในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี เรื่องใหญ่ ไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอ
เรื่องที่ 4 เรื่องไม่เป็นธรรม ในสังคม การเลือกปฏิบัติ นะครับ
เรื่องที่ 5 การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ หรือการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับผู้นำ ระดับผู้บริหาร และไม่ได้คำนึงถึงประชาชนส่วนใหญ่ ตลอดจนการไม่ยอมรับ ในการตัดสินหรือหการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยการอ้างสิทธิมนุษยชน และก็ไม่ได้ดูว่า ทุกปัญหานั้นที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำของตนในการทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องให้มีการตรวจสอบตามกฎหมาย เข้าสู่กระบวนการชัดเจนขึ้น ทุกอย่างก็สงบเรียบร้อย
เรื่องที่ 6 ระบบงบประมาณ รายรับรายจ่ายขจองประเทศ มีการขาดดุลอยู่จำนวนมากพอสมควร ทำอย่างไร เราจะมีรายรับมากขึ้น ใหสัมพันธ์กับรายจ่ายที่ ต้องมีเพิ่มขึ้น ตลอดเวลา เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ สังคมที่จะต้องมีการแข่งขันกันอีกมากมายในวันข้างหน้านะครับ รวมความไปถึงเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ การดูแลด้านสาธารณสุข การศึกษานะครับ
เรื่องที่ 7 โครงสร้างรายรับของประเทศนั้นเราต้องปรับปรุงทั้งหมดนะครับ ในเรื่องของสินค้าส่งออก สินค้านำเข้า ภาษีการค้า สรรพสามิต กรมศุลกากร ต่างๆเหล่านั้นต้องมีการปรับปรุงปรับแก้ให้ได้ในอนาคต
8.ระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของประชาคมโลก ซึ่งวันนี้ทุกกลุ่มประเทศได้มีการพูดถึงความเชื่อมโยง ความเป็นเศรษฐกิจเดียว การอุตสาหกรรมที่เป็นมิตร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจขนาดเอสเอ็มอี หรือไมโครเอสเอ็มอี และการรวมกลุ่มขยายตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งพันธสัญญาต่างๆมากมาย ความตกลงทางการค้า ที่มีบทบาทสูง เช่น TPP, RCEP ความร่วมมือ FTA หรือกลุ่มประเทศต่างๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน 9. ความเข้มแข็งของประเทศ เราอาจจะยังมีไม่เพียงพอ น้อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน กฎหมาย จิตสำนึก วินัย อุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล เราต้องเร่งพัฒนาทุกด้านโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ชุมชน ต้องพัฒนาจากภายใน ต้องเริ่มจากระดับหมู่บ้าน แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ข้างล่างก็ต้องแสวงหากันให้ได้ ความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้งนะ โดยใช้การเป็นประชารัฐ รัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรต่างๆ ในพื้นที่
ที่ผมเรียนว่าความร่วมมือต้องมากกว่าความขัดแย้งเพราะว่าเราเห็นต่างกันมากในปัจจุบัน ทุกคนเคารพความเห็นต่าง แต่ต้องหาทางรวมกันให้ได้ หากว่ายังเห็นต่างกันแล้วสุดโต่งกันไปทั้งคู่ มันก็ไปไม่ได้ทั้งหมด ไม่เกิดอะไรขึ้นมาได้เลย นอกจากความขัดแย้ง
10. ปัญหาความไม่เข้มแข็งของภาคการเกษตร เพราะว่าอะไร เพราะว่าดินฟ้าอากาศมันเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกก็เปลี่ยนแปลง ดังที่จะเห็นว่าน้ำเราก็น้อยลง ฝนตกน้อยลง ไม่ตรงตามฤดูกาล และมันจะได้รับผลกระทบมากในประเทศไทย หรือประเทศที่มีผลิตผลทางการเกษตรมาก อย่างเช่นประเทศเรา เรื่องข้าว เรื่องยาง เรื่องผลไม้ เรื่องการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำ เพราะฉะนั้นวันนี้ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำมาก เราจำเป็นต้องช่วยเกษตรกรให้มากขึ้น วันนี้ก็มีนโยบายไปหลายอย่างด้วยกัน หลายมาตรการ การลดค่าใช้จ่ายต้นทุน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช การสร้างกระบวนการแปรรูป การเพิ่มมูลค่าสินค้า การตลาด เหล่านี้กำลังเร่งดำเนินการอยู่
เรื่องที่ 11 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เราต้องเร่งส่งเสริม เพิ่มขีดความสามารถในทุกระดับ ตั้งแต่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค กลุ่มการค้าชายแดน เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับที่เป็นคลัสเตอร์ หรือซูเปอร์คลัสเตอร์ และเราจะได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์เหล่านั้นให้มีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นพอที่จะแข่งขันกันได้ในเวทีสากลนะครับ ทั้งอาเซียนไปยังประเทศที่พัฒนาเข้มแข็งแล้ว หรือไปยังประชาคมโลกอื่นๆ
เรื่องที่ 12 การลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศของนักลงทุนไทย และตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในไทย สิ่งสำคัญก็คือเราต้องพัฒนาในเรื่องทรัพยากรมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อม การศึกษา แรงงานที่มีทักษะ หัวหน้างาน เพื่อจะเตรียมการต้อนรับผู้มาลงทุน และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำประเทศชาติให้เข้มแข็งในวันหน้านะครับ
ในเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถึงแม้เราจะดีมากพอสมควรในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ครบนะครับ ผมต้องการให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องของการเชื่อมโยงภูมิภาค 2 ภูมิภาค และช่องทางการค้าขายบริเวณชายแดน อันนี้เป็นเส้นทางหลักนะครับ ต่อไปก็จะเป็นเส้นทางจังหวัดต่อจังหวัด และเชื่อมโยงภูมิภาค จากนั้นก็เป็นจังหวัด อำเภอ อำเภอไปตำบล ตำบลไปหมู่บ้าน พวกนี้เป็นสิ่งที่มันต้องโยงกันทั้งหมด คราวนี้ถ้าเราทำขาดๆ ตอนๆ มันก็ไม่สำเร็จซักที มันอาจจะต้องกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า ตรงไหนมันจะก่อน ตรงไหนมันจะหลัง แต่ประชาชนจะต้องไม่เดือดร้อนนะครับ จะต้องมีความพอเพียงในขั้นต้นให้ได้ก่อน
สำหรับในเรื่องของการคมนาคมขนส่ง การโทรคมนาคม น้ำ ไฟ พลังงาน เราจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ได้ ความเชื่อมโยงให้ได้ เพื่อจะสนับสนุนความเข้มแข็งของประเทศในอนาคตทั้งการเป็นที่อยู่อาศัย ในเรื่องของการเป็นสถานที่ประกอบการ การทำการค้า การอุตสาหกรรมอะไรก็แล้วแต่นะครับ สังคมเมือง คราวนี้ต้องพร้อมให้หมดนะครับ
เรื่องต่อไปคือเรื่องของนวัตกรรม กราบเรียนไปแล้วว่า ปัญหาของเราก็คือสินค้าเราราคาต่ำนะครับ เป็นราคาของสินค้าต้นทุน ถ้าเราเน้นนวัตกรรมให้ได้ ทำสิ่งใหม่ๆ ออกมา มีความแปลกกว่าเขา เป็นไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่นนะครับ เราแปรรูปออกมา ราคาก็สูงขึ้นเองนะครับ วันนี้ก็ได้พยามให้เอาไปขายในที่อื่นๆ อีกด้วย กำลังปรับปรุงอยู่นะครับในเรื่องของการนำ โอทอป ไปขายบนเครื่องบินบ้าง หรือ ตามร้านค้าปลอดภาษีบ้าง อะไรบ้างก็มีการประสานกันหารือกันอยู่นะครับขณะนี้
ในเรื่องความเข้มแข็งของประชาชน เช่นเดียวกันนะครับ เราต้องรวมกัน ขัดแย้งกันมากความเข้มแข็งก็จะลดลง ในเรื่องของวิสาหกิจชุมชน ต้องเกิดขึ้น ธุรกิจชุมชน ธุรกิจเพื่อสังคม เหล่านี้ สหกรณ์ต้องมีการปรับปรุง รวมความไปถึงเรื่องการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำสู่การผลิตนะครับ ทั้งปลูก ทั้งผลิตด้วยตัวเอง การรวมแปลงใหญ่ เหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงทั้งสิ้น
ส่วนมูลค่าของสินค้า หรือของกิจกรรมทั้งหมด มันจะเกิดเชื่อมโยงทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ใครจะอยู่ตรงไหนก็ได้ ประชาชนอาจจะอยู่ตรงต้นทาง เป็นผู้เพาะปลูก กลางทางก็มีผู้มารับไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ปลายทางก็ไปสู่ตลาด ทั้งในท้องถิ่น ในต่างจังหวัด ในประเทศ แล้วก็ในต่างประเทศต่อไปนะครับ
เรื่องที่ 13 คือเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มันก็มีผลกระทบกับในเรื่องของการปลูกพืช ทางการเกษตรด้วย รวมความถึงน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลักดันของระบบนิเวศวิทยานะครับ ของเรา เพราะนั้นในเรื่องนี้มีความจำเป็นนะครับ การปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรให้เหมาะสม ในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับ น้ำที่เรามีอยู่ คือเรากำลังทำแผน การบริหารน้ำทั้งระบบนะครับ แล้วก็ต้องสอดคล้องกับแผนการปลูกพืชด้วย ทั้งหมดมันต้องมีทั้ง ดีมานด์ ซัพพลาย สอดคล้องกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ทั้งประเทศ เราจะได้สามารถทำทุกอย่างให้มันเข้มแข็ง มีราคาได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้
อย่างที่เคยเรียนไปแล้วว่า เราวางแผนอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่ย้อนกลับมาดูต้นทุนของน้ำที่มีอยู่ หรือระบบการกักเก็บระบบการระบายน้ำ ส่งน้ำ พร่องน้ำ เหล่านี้ ทรงรับสั่งไว้แล้ว ทรงทำเป็นตัวอย่างไว้แล้ว หลายพื้นที่ด้วยกัน เราต้องทำให้ครบ ไม่งั้นก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา เป็นปัญหาอย่างยั่งยืน ผมไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นเรื่องการจัดน้ำให้ครงกับพื้นที่การเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ พื้นที่ใดที่ไปไม่ถึง ประชาชนก็ต้องเข้าใจ ว่ามันไปไม่ถึง ยังไงก็ไม่ถึง เพราะระบบชลประทานของประเทศ มันไปไม่ถึงทั่วประเทศ เพราะพื้นที่มันสูงต่ำต่างกัน การที่จะเอาน้ำจากที่ต่ำไปขึ้นที่สูงมากๆ มันต้องใช้งบประมาณสูงมาก และต้นทุนน้ำเราก็ไม่เพียงพอ เราอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย พืชใช้น้ำมากๆก็ไปอยู่ในพื้นที่ชลประทาน หรือในพื้นที่ที่สามารถส่งน้ำให้ได้ หรือมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่แล้วเดิม ทำนองนี้ รายละเอียดมีมากมาย ในระหว่างนี้เราต้องเตรียมการ ไม่อยากบังคับใครทั้งสิ้น แต่ทุกคนถ้าเรียนรู้ด้วยตัวเองจากข้อมูลที่ทางรัฐให้ไป แล้วก็มาตรการส่งเสริมให้ทุกคนได้สามารถมีอาชีพ หรืออาชีพเสริมอยู่ให้ได้ โดยการลดปลูกพืชหลักลงไปบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับน้ำที่มีอยู่ เหล่านี้จะทำให้ประเทศเราอยู่รอดในอนาคต
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง คือเรื่องที่ 14.ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่จำกัด ที่ผ่านมามักจะละเลยกัน ไร้การบริหารจัดการที่ดี ทั้งผิดกฎหมายบ้าง ถูกกฎหมายบ้าง ขาดสมดุลในการใช้ทรัพยากร ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว การฟื้นฟู การปลูกทดแทน ที่ดิน ป่าไม้ มีปัญหาหมด ถูกบุกรุก ทำลายไปมาก ทั้งในพื้นที่บนบกและชายฝั่ง อาจจะทำให้เกิดปัญหาขาดความชุ่มชื้น ฝนตกน้อยลง เคยเรียนไปแล้ว ว่าบ้านเรามีต้นกำเนิดน้ำมาจากฝนอย่างเดียวเท่านั้นเอง ถ้าป่ามันหายไป ความชุ่มชื้นหายไป อากาศข้างบนมันก็ชื้นน้อย ฝนก็ไม่ตก ทำฝนเทียมยังไงก็ไม่ตก เพราะไม่มีความชุ่มชื้นไง ฉะนั้นมันสัมพันธ์กันทั้งหมด ขอให้ช่วยกันระมัดระวังด้วย
ในเรื่องการบริหารจัดการที่ดินที่ผ่านมานั้น ทุกคนก็เรียกร้องที่ดิน ก็เป็นที่น่ากังวลใจ รัฐบาลก็พยายามจะแก้ปัญหาให้ได้ก่อนในระยะนี้ เพราะทุกคนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก เราจะทำอย่างไรในพื้นที่ที่ถูกบุกรุกไปแล้ว จะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร แต่ต้องคำนึงถึงกฎหมายด้วย และคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ที่เราต้องการให้มีปริมาณป่าอยู่สัก 40 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ของประเทศ ถ้าเราไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกฎกติกากันเลย มันก็จะเกิดการทุจริต การสมยอมกัน เจ้าหน้าที่ก็เดือดร้อน ประชาชนก็เดือดร้อน ท้ายที่สุดก็ไปเดือดร้อนกับศาล กับกระบวนการยุติธรรมโน่น แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ท้ายที่สุดประชาชนที่ยากไร้ก็ต้องทำผิดกฎหมาย ถูกตัดสิน ดำเนินคดีอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องมีการบูรณาการกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ทั้งมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรฯ รวมทั้งประชาชนด้วย ที่ต้องการพื้นที่ทำกิน รัฐบาลนี้กำลังแก้ไข โดยต้องเริ่มจากหลักนิติศาสตร์ แล้วก็ใช้วิธีการทางรัฐศาสตร์ควบคู่กันไป ด้วยการทำงานของคณะกรรมการจัดที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมการระดับนโยบายของรัฐบาล
เรื่องที่ 15 อันนี้สำคัญที่สุด ปัญหาการเสื่อมถอยของสังคมไทย ซึ่งเคยเป็นสังคมสันติสุขในอดีตที่ผ่านมา แต่หลายปีที่เรามีความขัดแย้งกันมาก ทำให้เป็นสังคมที่มีความขัดแย้ง ไม่สงบสุข มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งประชาชน มีการใช้ความรุนแรงต่อกันในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก็เกิดจากการบิดเบือน ปลุกปั่น สุดโต่ง จากผู้ที่ไม่หวังดี อาจจะมีการหวังผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย หรือนักวิชาการที่สุดโต่ง มุ่งเน้นในเรื่องประชาธิปไตย โดยไม่ได้สอนให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งสื่อบางสื่อที่มีจรรยาบรรณไม่เพียงพอ ตลอดจนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีคำพูดซึ่งสร้างความเกลียดชังอยู่ทั่วไป ในวันนี้ต้องขจัดออกไปให้ได้ ต้องคำนึงถึงส่วนรวม ลูกเด็กเล็กแดง เห็นแล้วมันไม่สุภาพ มันก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อไปในอนาคต สังคมไทยมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเราจะต้องจัดทำระบบประชาธิปไตยของเราให้สอดคล้องกับวิถีไทย จะทำยังไงก็ไปว่ากันมา วันนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการศึกษารัฐธรรมนูญร่างที่ 1 อยู่ เราจะต้องระมัดระวัง ไม่เปิดทางให้ใคร หรือผู้ใด เข้ามาเป็นรัฐบาลที่ไม่มีธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปมาก เราเคยมีความสุขมากกว่านี้ วันนี้ลดลง แทบจะไม่มีเลย ห้วงที่ผ่านมา ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 เพราะว่าเราใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล หลักการต่างๆ ไม่คำนึงถึง ใช้ความรู้สึกเกลียด ชอบ รัก อะไรก็แล้วแต่ มันไม่เป็นผลดีเลย อนาคตของประเทศมันอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ประเทศชาติ ประชาชนคนไทยทุกคนนั้นไม่มีความสุข เราต้องช่วยกันให้สังคมเรามีความสุขเหมือนเดิม
ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ก็อยากจะเรียนอีกครั้งหนึ่งว่า ทุกคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งสำคัญ สำคัญครับ ผมไม่ได้ว่าไม่สำคัญ สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ เป็นหลักการของประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่ผมสังเกตดูเหมือนกับทุกคนคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญคือยาวิเศษ หรือสูตรสำเร็จในการที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศไทย หรือแก้โลกได้ทั้งโลก ผมอยากจะให้ทบทวนดูนะ ถ้าเราดูร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็ฟังคนโน้นพูด คนนี้พูด โดยที่ไม่ใช่คนร่างพูด มันจะทำให้สับสน เพราะฉะนั้นของผมเอง ผมก็ต้องศึกษาเหมือนกัน ในฐานะผมเป็นประชาชน แล้วก็ในนามของรัฐบาล ผมก็ใช้หลักการของผมเอง เริ่มต้นตั้งแต่ ดูทีละหมวด มันมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ถ้าอ่านแล้วไม่ติดใจสงสัยเราก็ผ่านไป ถ้าสงสัยตรงไหนก็ทำเครื่องหมายเอาไว้ กาไว้ แล้วก็อาจจะต้องไปศึกษาเปรียบเทียบว่ามันต่างกับ 40 อย่างไร 50 อย่างไร หรือฉบับอื่นๆ มีไหม บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กันอยู่แล้ว เพียงแต่คำพูดแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง แต่วัตถุประสงค์เหมือนกัน จากนั้นก็ต้องเอาปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ โดยต้องเอาปัญหาก่อนเดือนพฤษภาคม 57 คลี่ออกมา ในเรื่องของการติดล็อกต่างๆ ในเรื่องของปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาในเรื่องของการที่รัฐบาลต้องไปสู่การเป็นรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจเต็ม เหล่านี้ มันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันแก้ปัญหาทั้งหมด มันจะได้หรือไม่ ถ้าได้ ได้อย่างไร แล้วทำไมต้องระบุ อะไรที่มีความแตกต่างบ้าง เพราะว่าช่วงต่อไปเป็นช่วงที่มีความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปประเทศ เราจะต้องดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ถ้าเรายังไม่มีวินัย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกติกาของสังคม ไม่ดูแลคนให้เกิดความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่วางแผนอนาคตประเทศให้ชัดเจน ไม่มียุทธศาสตร์ ผมคิดว่าการเป็นประชาธิปไตยของไทยก็จะกลับไปสู่ที่เดิม มีความขัดแย้งกัน อาจจะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลเรื่องรัฐธรรมนูญมากนัก มันอยู่ที่ใจของทุกคน รัฐธรรมนูญนี่ใจสำคัญที่สุด
ประเทศไทยนั้นเราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากจะถามประชาชนทั้งประเทศว่า มันจำเป็นต้องปฏิรูปไหม ทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทุกคนไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ก็ต้องมอบหมายให้ใครเข้ามาทำอะไรก็แล้วแต่ เรื่องของท่าน แต่คนที่เข้ามา ท่านต้องให้เขารับในหลักการว่าต้องมีการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องงบประมาณ ถ้าเราไม่ดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หลายอย่างก็จะไม่ต่อเนื่องเชื่อมโยง ไม่เกิด เหมือนกับร่างกายมนุษย์ มันต้องมีเส้นเลือดใหญ่ เส้นเลือดกลาง เส้นเล็ก ที่จะต้องไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย และประชาชนก็อาศัยอยู่ตามเส้นเลือดเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเกษตร อาชีพ ที่อยู่อาศัย ถ้าทุกอย่างมันไม่เตรียมการ ไม่มีล่วงหน้า อีก 20 ปีข้างหน้า คนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมา จบปริญญาออกมา อะไรทำนองนี้ จะอยู่กันอย่างไร เราต้องวางให้เขาตั้งแต่วันนี้ มันถึงต้องมียุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ล่วงหน้า ประเมินจากปัจจัยภายใน ภายนอก สถานการณ์โลก อะไรก็แล้วแต่ ในเรื่องของงบประมาณต่างๆ เหล่านั้น เราต้องมาดูซิว่า มันทั่วถึงไหม มันประหยัดงบประมาณหรือเปล่า ซ้ำซ้อนหรือไม่ ทั้งผู้ปฏิบัติ และ พ.ร.บ.งบประมาณ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไหม เพิ่มเติมไหม เพื่อให้ไม่เกิดการรั่วไหลซ้ำซ้อน มีการบูรณาการ นโยบายของรัฐบาลหรือพรรคการเมือง โอเคครับก็ว่าไป การกำหนดนโยบายของพรรค แต่นโยบายของรัฐบาลมันต้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ 20 ปี และในส่วนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของสภาพัฒน์
เพราะฉะนั้นในเรื่องของการใช้งบประมาณ ที่สำคัญที่มีปัญหากันอยู่ก็คือเรื่องการประชานิยม ถ้าไม่มีผลเสียหายเราก็ทำได้ ผมคิดว่านะ ถ้าไม่ทำทั้งหมด ไม่ทำจนเสียหายร่อยหรอจนกระทบกระเทือนอย่างอื่น มันก็ต้องเรียนให้มันถูกต้อง ผมว่าประชานิยมมันเคยอธิบายไปแล้วว่า ประชานิยมกับประชารัฐมันคนละแบบนะ ประชารัฐมันร่วมกัน ไอ้ประชานิยมมันใช้เงินรัฐอย่างเดียว ผมว่ามันไม่ถูกตรงนี้ และมีผลเสียหายไม่ได้ กระทบต่อระบบงบประมาณของประเทศ เพราะพวกนี้มันจ่ายแล้วหายไปเลย แต่ถ้าระบบประชานิยม เช่น ถ้าเราทำเยอะๆ มันจะเกิดปัญหา ถ้าเราทำประชารัฐมันความร่วมมือของภาครัฐมาด้วยกับเอกชน ภาคธุรกิจ วันนี้พยายามจะเดินหน้าสู่การลงทุนร่วมของพีดีพีอะไรก็แล้วแต่ ก็มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุนเหล่านี้ ถ้าทุกคนไม่ยอมรับในสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้มันก็เกิดขึ้นไม่ได้อีกนะครับ
เพราะฉะนั้นอะไรที่มันเกิดได้ ก็ควรจะเกิดซะในช่วงนี้ ทุกอย่างมันแก้ไขได้หมดนะ คราวนี้เราจำเป็นต้องใช้อะไรบ้างล่ะในช่วงการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ จะดี จะถูก จะผิดก็ไปวิเคราะห์กันออกมานะครับ และดูจากรัฐธรรมนูญ ดูจากกฎหมายที่ทยอยออกไปในเวลานี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันจำเป็นต้องมีความแตกต่างหรือไม่จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด ทั้งปัญหา ทั้งการพัฒนาประเทศ ทั้งการขจัดความขัดแย้ง ทั้งการปฏิรูป หรือการวางพื้นฐานมันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ว่าแตกต่างหรือไม่ มันคงไม่ใช่ แหมคงไม่มีประชาธิปไตยเลย มันคงไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้นมันต้องมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านในการบังคับใช้เท่านั้นเองนะครับ เพื่อไม่ให้ประเทศหยุดชะงักอีก ไม่ต้องเกิดปัญหาอย่างก่อน 22 กุมภาฯ เข้าไปอีกนะครับ
ในเรื่องต่อไปก็คือ การที่เราจะกำหนดอนาคตประเทศไทย ทำได้อย่างไรในเวทีโลกนะครับ เราก็ต้องเอาย้อนกลับมาว่า เมื่อ 20 ปีต่อไป หรือทุก 5 ปีๆ ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในเวทีโลก เราก็กำหนดมาตรฐานของเราไว้ และเดินตามมาตรฐานเหล่านั้น เพื่อจะให้เกิดความยั่งยืนให้ได้ว่า เราจะเป็นอย่างไรใน 20 ปีข้างหน้า แล้วมองย้อนกลับ 5-5-5-5 และย้อนกลับมาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่เราวางไว้ตั้งแต่แผน 12-13- 14- 15 อีก 4 แผน วันนี้ก็ 11 : 12 แล้ว เรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับนะครับ ถ้าเรามองว่าคือยาวิเศษ และแก้ไขทุกอย่างไปทบทวนดูนะ มันจะแก้ไขได้ทั้งหมดไหมความขัดแย้ง ปัญหายิ่งแรงความขัดแย้งก็สูงขึ้น ถ้าไม่เข้มแข็งพอก็มีปัญหาอีก ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ประชาชนไม่เชื่อมั่น ไม่เชื่อถือ เพราะงั้นทุกอย่างต้องมีความสมดุลกันในตัวเองนะครับ ให้ความเป็นธรรม ดูสากลเข้าบ้าง อะไรเขาบ้าง ก็ผสม ผเสกันไป
ผมคิดว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เต็มที่แล้วนะ ผมเห็นเหน็ดเหนื่อย เครียดเหมือนกัน เพราะว่าเราจะต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นนี่ ทุกอย่างลำบากหมดนะครับ ในเรื่องของการแก้ไขความขัดแย้ง แก้ไขการทุจริต ความรุนแรง ความไม่เข้มแข็ง ความไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เหล่านี้จะทำยังไงนะครับ
แล้วถ้าเราสามารถผ่านประชามติไปได้ เราจะต้องเข้าไปสู่การเลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งได้ ก็ไปตั้งรัฐบาลได้ ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ วุ่นวายกันอีก มีการทำร้ายกัน หรือใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ใส่กันอีก เหมือนเดิม ก็ไปไม่ได้อีกเหมือนเดิมนะ เพราะงั้นเราต้องช่วยกันคิดนะครับ เราจะหยุดเรื่องเหล่านี้อย่างไร อย่าพูดว่าไม่เป็นไร ไม่เป็นไร วันนี้ก็เห็นสงบเงียบเรียบร้อยดี
ผมเคยกราบเรียนแล้วว่า สงบอย่างนี้ทุกที แต่ปัญหาก็คือมีการเอาชนะคะคานกันในหลายๆ อย่างนะครับ ทำให้ประชาชนสับสน แล้วแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน เจ้าหน้าที่ก็ลำบาก อย่าให้เกิดขึ้นอีกเลยนะครับ แล้วหลังเลือกตั้งมาแล้วนี่ ต่างฝ่ายต่างจะยอมรับในผลการเลือกตั้งหรือไม่นะ ก็จะกลับมาเดือดร้อนเจ้าหน้าที่อีกนั่นแหละ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้ทุกคนยอมรับกัน
ผมว่าต้องยอมรับกันนะด้วยกติกาของสังคม ของสังคมโลก เลือกตั้งคือเลือกตั้ง เลือกตั้งแล้วผลยังไงอีกฝ่ายก็ต้องรับแล้ว แล้วไม่ให้เกิดปัญหาอีกเช่นที่ผ่านมา ไม่รู้กี่ครั้งแล้วนะครับ แล้วถ้าแก้ไม่ได้จริง ๆ แล้วใครจะเป็นคนหยุดสถานการณ์ได้ วันนี้เขาก็มีวิธีการแก้ไขให้อยู่แล้ว ก็ไม่เห็นด้วยอีก เพิ่มอำนาจคนโน้นคนนี้มาก แล้วใครจะทำ ถ้าไม่ต้องทำเหรอ ก็คือทุกคนต้องอยู่ที่ใจของทุกคนทั้งประเทศ จะทำยังไง หยุดด้วยตัวเองได้ไหม
เรื่องต่อไปคือกฎหมายการปกครอง การบริหาร กฎหมายลูกต่าง ๆ บทเฉพาะกาล ต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกันทั้งสิ้น ประโยชน์คนละอย่างกัน บางอย่างก็ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ บางอย่างอยู่ในกฎหมายลูก บางอย่างอาจจะต้องอยู่ในบทเฉพาะกาล ไม่งั้นตีกันไปหมด คนละความมั่งหมาย ศึกษาให้ดีนะครับ ไม่งั้นจะสับสน แล้วก็ไม่เห็นชอบไปทุกเรื่องไป ต้องดูความสัมพันธ์กันให้ต่อเนื่องด้วยนะครับ
เรื่องต่อไปคือเรื่องการเมืองไทยที่ผ่านมานั้น เรามักจะเน้นในเรื่องพลังอำนาจของประชาชน แต่พลังอำนาจอย่างไรล่ะครับ อำนาจของประชาชนคืออย่างเดียว คือการเลือกผู้แทน การลงประชามติ เลือกผู้แทน หรือ สส. ขึ้นมาเพื่อจะทำงานให้บ้านเมือง แล้วก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว แล้วเราได้รัฐบาลมา ดีบ้างไม่ดีบ้าง อะไรก็แล้วแต่นะ เพราะงั้นขอให้เรามองปัญหาของเรา ย้อนมองกลับไปกลับมา เราจะรู้เองว่า เราต้องปรับปรุง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ปฏิรูป อะไร อย่างไรนะครับ เพราะงั้นช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
ผมเองค่อนข้างเครียดเหมือนกันนะ ในช่วงนี้ก็ทั้งปัญหา ทั้งเตรียมการปฏิรูป ทั้งเตรียมการประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ อะไรก็แล้วแต่ มันหลายเรื่องด้วยกัน แม่น้ำ 5 สาย แล้วก็ปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็เยอะแยะ มากมายนะครับ
วันนี้เราควรจะต้องพิจารณากันแล้วว่าเราจะต้องมีกลไกอะไรหรือไม่ ที่จะทำให้ประเทศเราผ่านช่วงนี้ไปได้ นั่นแหละคือเหตุผลที่มีความแตกต่างนะครับ อยากให้ทุกคนตั้งใจพิจารณา อย่าตั้งใจเพื่อจะขัดแย้ง หาจุดขัดแย้งไม่ได้ หาจุดที่มีความแตกต่างและไปหาเหตุผล ถ้าดีก็ยอมรับนะครับ ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ประชาชนเป็นศูนย์รวมนะครับ มองปัญหาอย่างเป็นกลาง ผมไม่ใช่ศัตรูใครทั้งสิ้น ในเรื่องของกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินนะครับ ศึกษาบทเรียน และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี กลับมาเป็นสังคมสันติสุขของไทยๆ แบบเดิมอย่างที่เราเคยเป็น
สำหรับปัญหาของพี่น้องชาวนานั้น อยากจะเรียนให้ทราบว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ วันนี้หลายๆ ที่ก็เริ่มมีความยากลำบากแล้ว เรื่องน้ำ เรื่องข้าว เรื่องยางอะไรก็แล้วแต่ ผมจะแก้ไปเรื่อยๆ นะครับ สร้างความเข้มแข็งไปด้วย ถ้าบรรเทาความเดือดร้อนมันก็จบเป็นเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลย ปีหน้าก็เกิดใหม่ วันนี้อาจจะลำบากมาก เพราะมันมาพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นวันนี้ผมได้ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งนะครับ เพื่อจัดทำแผนข้าวครบวงจรตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนร่วมด้วย เช่น สมาคมชาวนา สมาคมโรงสี สมาคมผู้ค้าข้าวถุง และสมาคมผู้ส่งออก เป็นต้นนะครับ
สำหรับแผนข้าวครบวงจรนี้ เป็นความพยายามของรัฐที่ต้องการให้มีการปลูกข้าวให้สมดุลกับความต้องการใช้ หรือที่เรียกว่า ซัพพลายเท่ากับดีมานด์นะครับ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการลดผลผลิตของข้าว ซึ่งมากเกินความต้องการ วันนี้ได้รับรายงานจากคณะทำงานว่า ได้ประมาณการความต้องการข้าวแล้วของประเทศนี้อยู่ที่ประมาณ 25 ล้านตันข้าวเปลือก และได้วางแผนการจัดทำพื้นที่เพาะปลูกให้สมดุลกัน ซึ่งแน่นอนว่ามีบางพื้นที่อาจจะปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าว หรือลดการปลูกข้าวลง เพื่อไปปลูกพืชอันอื่นเสริม ผมไม่อยากให้มีการบังคับกัน เดี๋ยวก็เดือดร้อนอีก แต่ถ้าปลูกแล้วมันตาย ปลูกแล้วมันไม่มีน้ำ มันจะปลูกมันก็เสียเปล่า เป็นหนี้เป็นสินอีก กราบเรียนขอให้พี่น้องชาวนาได้เข้าใจนะครับ ให้ความร่วมมือภาครัฐด้วยตามความสมัครใจ และตามหลักการวิชาการด้วย รับคำแนะนำอย่างเปิดใจด้วยกันนะครับ ผมรู้ว่ามันยาก เราเคยทำกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย วันนี้ต้องกลับมาดูด้วยว่าเราเป็นหนี้เยอะหรือเปล่า และวันหน้าจะเป็นหนี้อีกหรือเปล่า จะหมดหนี้เมื่อไร วันนี้มันต้องปรับเปลี่ยนแล้วแหละผมว่า
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในอนาคตอันใกล้ ถ้าทุกคนร่วมมือแบบวันนี้ ทุกพืชเศรษฐกิจผมว่ามันไปได้ เราทำสำเร็จแน่ คราวนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมหาตลาดรองรับไว้แล้ว ในส่วนของการพืชทดแทนที่ผลิตขึ้นมา หรือปลูกขึ้นมาแทนการปลูกข้าวนะครับ จำนวนหนึ่งที่จะต้องลดลง และไปเพิ่มเป็นผลผลิตอย่างอื่นต้องหาตลาดให้ด้วย เพราะฉะนั้นเข้าไปหาเขา หาราชการจังหวัด ไปหานายอำเภอ หาผู้ว่าฯ หาอะไรต่างๆ เกษตรจังหวัดมีอยู่หมดแล้ว ถ้าไม่ไปหาเขามันก็ไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นคนที่จะไปหาเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. ก็ไปพบข้าราชการเขา และก็เอาความเดือดร้อนของประชาชนไปคุยกับเขา รัฐบาลไม่สามารถจะลงไปได้ทุกพื้นที่ ก็ต้อใช้กลไกเหล่านี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และในส่วนของประชารัฐไง ฉะนั้นเราต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ในการแก้ปัญหาเดิม เช่น ลดการปลูกข้าว และไปปลูกอย่างอื่น มีปัญหาเรื่องตลาดอีก
ในส่วนของข้อเสนอของสมาคมชาวนา เรื่องการช่วยเหลือชาวนาแบบยั่งยืน ที่ได้ยื่นให้คณะกรรมการได้พิจารณานั้น ผมได้ทราบแล้ว และรัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์กำลังนำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเร่งให้โดยเร็ว อย่าใจร้อนมากนัก ถ้าแก้ไขอะไรที่มันเร่งด่วนเกินไป ปัญหาก็จะกลับมาที่เดิม ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก ขอชื่นชมชาวนายุคใหม่ หลายๆพื้นที่ หลายๆท่าน หลายๆกลุ่ม ชื่นชมจริงๆ เพราะแนวคิดที่ท่านเสนอมาจะมุ่งเน้นความยั่งยืน และมุ่งให้ความช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับนโยบายนาแปลงใหญ่ของรัฐบาลที่กำหนดไป ผมก็หวังว่าแผนข้าวครบวงจรนี้ จะเป็นประโยชน์ คณะกรรมการจะดำเนินการจัดทำ และจวนจะเสร็จแล้ว ก็จะเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน มันจะทำให้เราสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม ให้กับพี่น้องชาวนาได้อย่างยั่งยืน คือการเจริญเติบโตจากภายในด้วย ในการช่วยเหลือโดยข้าราชการ มาช่วยทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง การปลูก การผลิต ให้มีคุณภาพ และมีภาคเอกชนมารองรับผลผลิต คือการตลาดปลายทาง
สำหรับเรื่องยางนั้น ก็กำลังแก้ไขไปเป็นระยะ และช่วงนี้ก็เห็นว่าราคายางก็ยังอยู่ในราคาที่ค่อนข้างจะไม่สูงมากนัก แต่เป็นฤดูใกล้การปิดกรีดยางพอดี ก็เดี๋ยวจะต้องเตรียมการกันต่อ เรื่องการนำสู่การผลิตหรือการทำมาใช้ ต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อน วันนี้ไมได้มุ่งหวังว่า จะต้องไปซื้อมาทั้งหมด ซื้อไม่ได้อยู่แล้ว วันนี้ก็ไปซื้อนำราคาเฉยๆ ราคาก็สูงขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังดีกว่ามันไม่ขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่มันจะเกิดตามมาคือ เรากำลังแปรรูป มันต้องใช้เวลาในการแปรรูป ตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่ 2 ก็คือส่วนหนึ่งจะต้องเอามาสู่โรงงาน ผลการวิจัยพัฒนาเรื่องยางต้องทำควบคู่กันไป จะได้เข้มเเข็งและยั่งยืน
ผมเป็นห่วง รัฐบาลเป็นห่วงรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร พ่อแม่พี่น้อง ลูกหลาน รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ พอเศรษฐกิจมันแย่ รายได้ที่จากธุรกิจเชื่อมโยงมันก็ลดลงหมด การสัญจรไปมาลดลง การคมนาคมลดลง รายได้จากการขับแท็กซี่ ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คือมันลดหมด แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสู้ ช่วยกันทำ ช่วยกันหาเงิน ช่วยกันใช้ มากบ้างน้อยบ้าง แล้วก็สัญจรไปมาหาสู่กัน เดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง มันจะช่วยยกทางนั้นทางนี้ขึ้นมาหลายทาง ถ้ารอการช่วยเหลืออย่างเดียวมันก็ไม่ไหวเหมือนกันนะ รัฐบาล ก็เต็มกลืน ปัญหามันเยอะ
สุดท้ายนี้ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นช่วงของตลาดวัฒนธรรมสยามเมืองยิ้ม จัดวันที่ 1- 26 กุมภาพันธ์ โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพ จะเป็นการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ นำสินค้าเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อจะเพิ่มรายได้ท้องถิ่นและพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วยตามอัตลักษณ์ และเราจไะด้เชื่อมโยงการตลาดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง จะมีการปรับเปลี่ยนทีมงานในแต่ละสัปดาห์ให้ประชาชนได้มาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย ช่วยกันมา จะมีบรรยากาศแตกต่างกันออกไป ช่วงแรก 1-7 กุมภาพันธ์ เรียกว่าตลาดมั่งมีศรีสุข ซึ่งอยู่ในช่วงตรุษจีน เชิญพ่อแม่พี่น้องร่วมกันจับจ่ายใช้สอย ช่วงที่ 2 วันที่ 8 - 14 กุมภาพันธ์ ตลาดสร้างรัก ก็อยู่ในช่วงวันแห่งความรัก วันวาเลนไทน์ ช่วงที่ 3 วันที่ 15-21 กุมภาฯ ตลาดสร้างสุข และช่วงสุดท้าย 22 -16 กุมภาฯ เรียกว่าตลาดสร้างบุญ เป็นสัปดาห์ของวันมาฆบูชา ขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตลาดได้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงๆ ขอบคุณ ขอบคุณจริงๆ ขอเชิญชวนมาเที่ยวชมเยอะๆ ช่วยกันใช้จ่ายบ้าง ไม่มากก็น้อย
เรื่องอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งดีๆของคนไทย ประเทศไทย ทุกคนต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ต่างประเทศ ได้รับทราบข้อเท็จจริง อย่าไปเปิดประเด็นใหม่ การบิดเบือนหรือเปิดความขัดแย้งให้รุนแรงอีก มันไม่มีวันจบสิ้น ขอบคุณสื่อที่ดีๆที่เข้าใจและทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ เพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทุกคน ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ผมขอเชิญผู้ที่สนใจ เช่น นักเรียน นักศึกษาที่ต้องการแนวคิด แรงบันดาลใจ และนักประดิษฐ์ที่ต้องการหาลู่ทางการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ เยี่ยมชมผลงานสิ่งประดิษฐ์ทั้งของนักประดิษฐ์ไทย และนักประดิษฐ์ต่างประเทศกว่า 11 ประเทศ ในวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวนะครับ ผมขอเรียนอีกครั้งถึงปัญหาของประเทศเราวันนี้มีความวุ่นวายพอสมควรนะครับ ในขั้นการเตรียมการเลือกตั้ง การเตรียมการทำประชามติ หรือร่างรัฐธรรมนูญของเรานะครับ ผมขอเรียนย้ำว่า เราจะต้องแก้ไข และวางพื้นฐานให้ได้โดยเร็วในการที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน
เรื่องที่ 1. คือปัญหาด้านการเมือง และการเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ทุกคนทราบดี
เรื่องที่ 2 ความแตกต่างเรื่องของอาชีพ รายได้ การศึกษา ของคนในประเทศ
เรื่องที่ 3 ความเหลื่อมล้ำ แตกต่าง ในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี เรื่องใหญ่ ไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอ
เรื่องที่ 4 เรื่องไม่เป็นธรรม ในสังคม การเลือกปฏิบัติ นะครับ
เรื่องที่ 5 การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ หรือการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับผู้นำ ระดับผู้บริหาร และไม่ได้คำนึงถึงประชาชนส่วนใหญ่ ตลอดจนการไม่ยอมรับ ในการตัดสินหรือหการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยการอ้างสิทธิมนุษยชน และก็ไม่ได้ดูว่า ทุกปัญหานั้นที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำของตนในการทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องให้มีการตรวจสอบตามกฎหมาย เข้าสู่กระบวนการชัดเจนขึ้น ทุกอย่างก็สงบเรียบร้อย
เรื่องที่ 6 ระบบงบประมาณ รายรับรายจ่ายขจองประเทศ มีการขาดดุลอยู่จำนวนมากพอสมควร ทำอย่างไร เราจะมีรายรับมากขึ้น ใหสัมพันธ์กับรายจ่ายที่ ต้องมีเพิ่มขึ้น ตลอดเวลา เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ สังคมที่จะต้องมีการแข่งขันกันอีกมากมายในวันข้างหน้านะครับ รวมความไปถึงเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ การดูแลด้านสาธารณสุข การศึกษานะครับ
เรื่องที่ 7 โครงสร้างรายรับของประเทศนั้นเราต้องปรับปรุงทั้งหมดนะครับ ในเรื่องของสินค้าส่งออก สินค้านำเข้า ภาษีการค้า สรรพสามิต กรมศุลกากร ต่างๆเหล่านั้นต้องมีการปรับปรุงปรับแก้ให้ได้ในอนาคต
8.ระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของประชาคมโลก ซึ่งวันนี้ทุกกลุ่มประเทศได้มีการพูดถึงความเชื่อมโยง ความเป็นเศรษฐกิจเดียว การอุตสาหกรรมที่เป็นมิตร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจขนาดเอสเอ็มอี หรือไมโครเอสเอ็มอี และการรวมกลุ่มขยายตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งพันธสัญญาต่างๆมากมาย ความตกลงทางการค้า ที่มีบทบาทสูง เช่น TPP, RCEP ความร่วมมือ FTA หรือกลุ่มประเทศต่างๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน 9. ความเข้มแข็งของประเทศ เราอาจจะยังมีไม่เพียงพอ น้อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน กฎหมาย จิตสำนึก วินัย อุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล เราต้องเร่งพัฒนาทุกด้านโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ชุมชน ต้องพัฒนาจากภายใน ต้องเริ่มจากระดับหมู่บ้าน แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ข้างล่างก็ต้องแสวงหากันให้ได้ ความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้งนะ โดยใช้การเป็นประชารัฐ รัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรต่างๆ ในพื้นที่
ที่ผมเรียนว่าความร่วมมือต้องมากกว่าความขัดแย้งเพราะว่าเราเห็นต่างกันมากในปัจจุบัน ทุกคนเคารพความเห็นต่าง แต่ต้องหาทางรวมกันให้ได้ หากว่ายังเห็นต่างกันแล้วสุดโต่งกันไปทั้งคู่ มันก็ไปไม่ได้ทั้งหมด ไม่เกิดอะไรขึ้นมาได้เลย นอกจากความขัดแย้ง
10. ปัญหาความไม่เข้มแข็งของภาคการเกษตร เพราะว่าอะไร เพราะว่าดินฟ้าอากาศมันเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกก็เปลี่ยนแปลง ดังที่จะเห็นว่าน้ำเราก็น้อยลง ฝนตกน้อยลง ไม่ตรงตามฤดูกาล และมันจะได้รับผลกระทบมากในประเทศไทย หรือประเทศที่มีผลิตผลทางการเกษตรมาก อย่างเช่นประเทศเรา เรื่องข้าว เรื่องยาง เรื่องผลไม้ เรื่องการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำ เพราะฉะนั้นวันนี้ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำมาก เราจำเป็นต้องช่วยเกษตรกรให้มากขึ้น วันนี้ก็มีนโยบายไปหลายอย่างด้วยกัน หลายมาตรการ การลดค่าใช้จ่ายต้นทุน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช การสร้างกระบวนการแปรรูป การเพิ่มมูลค่าสินค้า การตลาด เหล่านี้กำลังเร่งดำเนินการอยู่
เรื่องที่ 11 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เราต้องเร่งส่งเสริม เพิ่มขีดความสามารถในทุกระดับ ตั้งแต่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภูมิภาค กลุ่มการค้าชายแดน เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับที่เป็นคลัสเตอร์ หรือซูเปอร์คลัสเตอร์ และเราจะได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์เหล่านั้นให้มีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นพอที่จะแข่งขันกันได้ในเวทีสากลนะครับ ทั้งอาเซียนไปยังประเทศที่พัฒนาเข้มแข็งแล้ว หรือไปยังประชาคมโลกอื่นๆ
เรื่องที่ 12 การลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศของนักลงทุนไทย และตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในไทย สิ่งสำคัญก็คือเราต้องพัฒนาในเรื่องทรัพยากรมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อม การศึกษา แรงงานที่มีทักษะ หัวหน้างาน เพื่อจะเตรียมการต้อนรับผู้มาลงทุน และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำประเทศชาติให้เข้มแข็งในวันหน้านะครับ
ในเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถึงแม้เราจะดีมากพอสมควรในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ครบนะครับ ผมต้องการให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องของการเชื่อมโยงภูมิภาค 2 ภูมิภาค และช่องทางการค้าขายบริเวณชายแดน อันนี้เป็นเส้นทางหลักนะครับ ต่อไปก็จะเป็นเส้นทางจังหวัดต่อจังหวัด และเชื่อมโยงภูมิภาค จากนั้นก็เป็นจังหวัด อำเภอ อำเภอไปตำบล ตำบลไปหมู่บ้าน พวกนี้เป็นสิ่งที่มันต้องโยงกันทั้งหมด คราวนี้ถ้าเราทำขาดๆ ตอนๆ มันก็ไม่สำเร็จซักที มันอาจจะต้องกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า ตรงไหนมันจะก่อน ตรงไหนมันจะหลัง แต่ประชาชนจะต้องไม่เดือดร้อนนะครับ จะต้องมีความพอเพียงในขั้นต้นให้ได้ก่อน
สำหรับในเรื่องของการคมนาคมขนส่ง การโทรคมนาคม น้ำ ไฟ พลังงาน เราจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ได้ ความเชื่อมโยงให้ได้ เพื่อจะสนับสนุนความเข้มแข็งของประเทศในอนาคตทั้งการเป็นที่อยู่อาศัย ในเรื่องของการเป็นสถานที่ประกอบการ การทำการค้า การอุตสาหกรรมอะไรก็แล้วแต่นะครับ สังคมเมือง คราวนี้ต้องพร้อมให้หมดนะครับ
เรื่องต่อไปคือเรื่องของนวัตกรรม กราบเรียนไปแล้วว่า ปัญหาของเราก็คือสินค้าเราราคาต่ำนะครับ เป็นราคาของสินค้าต้นทุน ถ้าเราเน้นนวัตกรรมให้ได้ ทำสิ่งใหม่ๆ ออกมา มีความแปลกกว่าเขา เป็นไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่นนะครับ เราแปรรูปออกมา ราคาก็สูงขึ้นเองนะครับ วันนี้ก็ได้พยามให้เอาไปขายในที่อื่นๆ อีกด้วย กำลังปรับปรุงอยู่นะครับในเรื่องของการนำ โอทอป ไปขายบนเครื่องบินบ้าง หรือ ตามร้านค้าปลอดภาษีบ้าง อะไรบ้างก็มีการประสานกันหารือกันอยู่นะครับขณะนี้
ในเรื่องความเข้มแข็งของประชาชน เช่นเดียวกันนะครับ เราต้องรวมกัน ขัดแย้งกันมากความเข้มแข็งก็จะลดลง ในเรื่องของวิสาหกิจชุมชน ต้องเกิดขึ้น ธุรกิจชุมชน ธุรกิจเพื่อสังคม เหล่านี้ สหกรณ์ต้องมีการปรับปรุง รวมความไปถึงเรื่องการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำสู่การผลิตนะครับ ทั้งปลูก ทั้งผลิตด้วยตัวเอง การรวมแปลงใหญ่ เหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงทั้งสิ้น
ส่วนมูลค่าของสินค้า หรือของกิจกรรมทั้งหมด มันจะเกิดเชื่อมโยงทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ใครจะอยู่ตรงไหนก็ได้ ประชาชนอาจจะอยู่ตรงต้นทาง เป็นผู้เพาะปลูก กลางทางก็มีผู้มารับไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ปลายทางก็ไปสู่ตลาด ทั้งในท้องถิ่น ในต่างจังหวัด ในประเทศ แล้วก็ในต่างประเทศต่อไปนะครับ
เรื่องที่ 13 คือเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มันก็มีผลกระทบกับในเรื่องของการปลูกพืช ทางการเกษตรด้วย รวมความถึงน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลักดันของระบบนิเวศวิทยานะครับ ของเรา เพราะนั้นในเรื่องนี้มีความจำเป็นนะครับ การปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรให้เหมาะสม ในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับ น้ำที่เรามีอยู่ คือเรากำลังทำแผน การบริหารน้ำทั้งระบบนะครับ แล้วก็ต้องสอดคล้องกับแผนการปลูกพืชด้วย ทั้งหมดมันต้องมีทั้ง ดีมานด์ ซัพพลาย สอดคล้องกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ทั้งประเทศ เราจะได้สามารถทำทุกอย่างให้มันเข้มแข็ง มีราคาได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้
อย่างที่เคยเรียนไปแล้วว่า เราวางแผนอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่ย้อนกลับมาดูต้นทุนของน้ำที่มีอยู่ หรือระบบการกักเก็บระบบการระบายน้ำ ส่งน้ำ พร่องน้ำ เหล่านี้ ทรงรับสั่งไว้แล้ว ทรงทำเป็นตัวอย่างไว้แล้ว หลายพื้นที่ด้วยกัน เราต้องทำให้ครบ ไม่งั้นก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา เป็นปัญหาอย่างยั่งยืน ผมไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นเรื่องการจัดน้ำให้ครงกับพื้นที่การเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ พื้นที่ใดที่ไปไม่ถึง ประชาชนก็ต้องเข้าใจ ว่ามันไปไม่ถึง ยังไงก็ไม่ถึง เพราะระบบชลประทานของประเทศ มันไปไม่ถึงทั่วประเทศ เพราะพื้นที่มันสูงต่ำต่างกัน การที่จะเอาน้ำจากที่ต่ำไปขึ้นที่สูงมากๆ มันต้องใช้งบประมาณสูงมาก และต้นทุนน้ำเราก็ไม่เพียงพอ เราอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย พืชใช้น้ำมากๆก็ไปอยู่ในพื้นที่ชลประทาน หรือในพื้นที่ที่สามารถส่งน้ำให้ได้ หรือมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่แล้วเดิม ทำนองนี้ รายละเอียดมีมากมาย ในระหว่างนี้เราต้องเตรียมการ ไม่อยากบังคับใครทั้งสิ้น แต่ทุกคนถ้าเรียนรู้ด้วยตัวเองจากข้อมูลที่ทางรัฐให้ไป แล้วก็มาตรการส่งเสริมให้ทุกคนได้สามารถมีอาชีพ หรืออาชีพเสริมอยู่ให้ได้ โดยการลดปลูกพืชหลักลงไปบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับน้ำที่มีอยู่ เหล่านี้จะทำให้ประเทศเราอยู่รอดในอนาคต
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง คือเรื่องที่ 14.ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่จำกัด ที่ผ่านมามักจะละเลยกัน ไร้การบริหารจัดการที่ดี ทั้งผิดกฎหมายบ้าง ถูกกฎหมายบ้าง ขาดสมดุลในการใช้ทรัพยากร ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว การฟื้นฟู การปลูกทดแทน ที่ดิน ป่าไม้ มีปัญหาหมด ถูกบุกรุก ทำลายไปมาก ทั้งในพื้นที่บนบกและชายฝั่ง อาจจะทำให้เกิดปัญหาขาดความชุ่มชื้น ฝนตกน้อยลง เคยเรียนไปแล้ว ว่าบ้านเรามีต้นกำเนิดน้ำมาจากฝนอย่างเดียวเท่านั้นเอง ถ้าป่ามันหายไป ความชุ่มชื้นหายไป อากาศข้างบนมันก็ชื้นน้อย ฝนก็ไม่ตก ทำฝนเทียมยังไงก็ไม่ตก เพราะไม่มีความชุ่มชื้นไง ฉะนั้นมันสัมพันธ์กันทั้งหมด ขอให้ช่วยกันระมัดระวังด้วย
ในเรื่องการบริหารจัดการที่ดินที่ผ่านมานั้น ทุกคนก็เรียกร้องที่ดิน ก็เป็นที่น่ากังวลใจ รัฐบาลก็พยายามจะแก้ปัญหาให้ได้ก่อนในระยะนี้ เพราะทุกคนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก เราจะทำอย่างไรในพื้นที่ที่ถูกบุกรุกไปแล้ว จะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร แต่ต้องคำนึงถึงกฎหมายด้วย และคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ที่เราต้องการให้มีปริมาณป่าอยู่สัก 40 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ของประเทศ ถ้าเราไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกฎกติกากันเลย มันก็จะเกิดการทุจริต การสมยอมกัน เจ้าหน้าที่ก็เดือดร้อน ประชาชนก็เดือดร้อน ท้ายที่สุดก็ไปเดือดร้อนกับศาล กับกระบวนการยุติธรรมโน่น แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ท้ายที่สุดประชาชนที่ยากไร้ก็ต้องทำผิดกฎหมาย ถูกตัดสิน ดำเนินคดีอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องมีการบูรณาการกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ทั้งมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรฯ รวมทั้งประชาชนด้วย ที่ต้องการพื้นที่ทำกิน รัฐบาลนี้กำลังแก้ไข โดยต้องเริ่มจากหลักนิติศาสตร์ แล้วก็ใช้วิธีการทางรัฐศาสตร์ควบคู่กันไป ด้วยการทำงานของคณะกรรมการจัดที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมการระดับนโยบายของรัฐบาล
เรื่องที่ 15 อันนี้สำคัญที่สุด ปัญหาการเสื่อมถอยของสังคมไทย ซึ่งเคยเป็นสังคมสันติสุขในอดีตที่ผ่านมา แต่หลายปีที่เรามีความขัดแย้งกันมาก ทำให้เป็นสังคมที่มีความขัดแย้ง ไม่สงบสุข มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งประชาชน มีการใช้ความรุนแรงต่อกันในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก็เกิดจากการบิดเบือน ปลุกปั่น สุดโต่ง จากผู้ที่ไม่หวังดี อาจจะมีการหวังผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย หรือนักวิชาการที่สุดโต่ง มุ่งเน้นในเรื่องประชาธิปไตย โดยไม่ได้สอนให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งสื่อบางสื่อที่มีจรรยาบรรณไม่เพียงพอ ตลอดจนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีคำพูดซึ่งสร้างความเกลียดชังอยู่ทั่วไป ในวันนี้ต้องขจัดออกไปให้ได้ ต้องคำนึงถึงส่วนรวม ลูกเด็กเล็กแดง เห็นแล้วมันไม่สุภาพ มันก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อไปในอนาคต สังคมไทยมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเราจะต้องจัดทำระบบประชาธิปไตยของเราให้สอดคล้องกับวิถีไทย จะทำยังไงก็ไปว่ากันมา วันนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการศึกษารัฐธรรมนูญร่างที่ 1 อยู่ เราจะต้องระมัดระวัง ไม่เปิดทางให้ใคร หรือผู้ใด เข้ามาเป็นรัฐบาลที่ไม่มีธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปมาก เราเคยมีความสุขมากกว่านี้ วันนี้ลดลง แทบจะไม่มีเลย ห้วงที่ผ่านมา ก่อน 22 พฤษภาคม 2557 เพราะว่าเราใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล หลักการต่างๆ ไม่คำนึงถึง ใช้ความรู้สึกเกลียด ชอบ รัก อะไรก็แล้วแต่ มันไม่เป็นผลดีเลย อนาคตของประเทศมันอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ประเทศชาติ ประชาชนคนไทยทุกคนนั้นไม่มีความสุข เราต้องช่วยกันให้สังคมเรามีความสุขเหมือนเดิม
ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ก็อยากจะเรียนอีกครั้งหนึ่งว่า ทุกคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งสำคัญ สำคัญครับ ผมไม่ได้ว่าไม่สำคัญ สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ เป็นหลักการของประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่ผมสังเกตดูเหมือนกับทุกคนคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญคือยาวิเศษ หรือสูตรสำเร็จในการที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศไทย หรือแก้โลกได้ทั้งโลก ผมอยากจะให้ทบทวนดูนะ ถ้าเราดูร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็ฟังคนโน้นพูด คนนี้พูด โดยที่ไม่ใช่คนร่างพูด มันจะทำให้สับสน เพราะฉะนั้นของผมเอง ผมก็ต้องศึกษาเหมือนกัน ในฐานะผมเป็นประชาชน แล้วก็ในนามของรัฐบาล ผมก็ใช้หลักการของผมเอง เริ่มต้นตั้งแต่ ดูทีละหมวด มันมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ถ้าอ่านแล้วไม่ติดใจสงสัยเราก็ผ่านไป ถ้าสงสัยตรงไหนก็ทำเครื่องหมายเอาไว้ กาไว้ แล้วก็อาจจะต้องไปศึกษาเปรียบเทียบว่ามันต่างกับ 40 อย่างไร 50 อย่างไร หรือฉบับอื่นๆ มีไหม บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กันอยู่แล้ว เพียงแต่คำพูดแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง แต่วัตถุประสงค์เหมือนกัน จากนั้นก็ต้องเอาปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ โดยต้องเอาปัญหาก่อนเดือนพฤษภาคม 57 คลี่ออกมา ในเรื่องของการติดล็อกต่างๆ ในเรื่องของปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาในเรื่องของการที่รัฐบาลต้องไปสู่การเป็นรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจเต็ม เหล่านี้ มันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันแก้ปัญหาทั้งหมด มันจะได้หรือไม่ ถ้าได้ ได้อย่างไร แล้วทำไมต้องระบุ อะไรที่มีความแตกต่างบ้าง เพราะว่าช่วงต่อไปเป็นช่วงที่มีความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปประเทศ เราจะต้องดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ถ้าเรายังไม่มีวินัย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกติกาของสังคม ไม่ดูแลคนให้เกิดความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่วางแผนอนาคตประเทศให้ชัดเจน ไม่มียุทธศาสตร์ ผมคิดว่าการเป็นประชาธิปไตยของไทยก็จะกลับไปสู่ที่เดิม มีความขัดแย้งกัน อาจจะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลเรื่องรัฐธรรมนูญมากนัก มันอยู่ที่ใจของทุกคน รัฐธรรมนูญนี่ใจสำคัญที่สุด
ประเทศไทยนั้นเราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากจะถามประชาชนทั้งประเทศว่า มันจำเป็นต้องปฏิรูปไหม ทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทุกคนไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ก็ต้องมอบหมายให้ใครเข้ามาทำอะไรก็แล้วแต่ เรื่องของท่าน แต่คนที่เข้ามา ท่านต้องให้เขารับในหลักการว่าต้องมีการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องงบประมาณ ถ้าเราไม่ดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หลายอย่างก็จะไม่ต่อเนื่องเชื่อมโยง ไม่เกิด เหมือนกับร่างกายมนุษย์ มันต้องมีเส้นเลือดใหญ่ เส้นเลือดกลาง เส้นเล็ก ที่จะต้องไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย และประชาชนก็อาศัยอยู่ตามเส้นเลือดเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเกษตร อาชีพ ที่อยู่อาศัย ถ้าทุกอย่างมันไม่เตรียมการ ไม่มีล่วงหน้า อีก 20 ปีข้างหน้า คนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมา จบปริญญาออกมา อะไรทำนองนี้ จะอยู่กันอย่างไร เราต้องวางให้เขาตั้งแต่วันนี้ มันถึงต้องมียุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ล่วงหน้า ประเมินจากปัจจัยภายใน ภายนอก สถานการณ์โลก อะไรก็แล้วแต่ ในเรื่องของงบประมาณต่างๆ เหล่านั้น เราต้องมาดูซิว่า มันทั่วถึงไหม มันประหยัดงบประมาณหรือเปล่า ซ้ำซ้อนหรือไม่ ทั้งผู้ปฏิบัติ และ พ.ร.บ.งบประมาณ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไหม เพิ่มเติมไหม เพื่อให้ไม่เกิดการรั่วไหลซ้ำซ้อน มีการบูรณาการ นโยบายของรัฐบาลหรือพรรคการเมือง โอเคครับก็ว่าไป การกำหนดนโยบายของพรรค แต่นโยบายของรัฐบาลมันต้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ 20 ปี และในส่วนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของสภาพัฒน์
เพราะฉะนั้นในเรื่องของการใช้งบประมาณ ที่สำคัญที่มีปัญหากันอยู่ก็คือเรื่องการประชานิยม ถ้าไม่มีผลเสียหายเราก็ทำได้ ผมคิดว่านะ ถ้าไม่ทำทั้งหมด ไม่ทำจนเสียหายร่อยหรอจนกระทบกระเทือนอย่างอื่น มันก็ต้องเรียนให้มันถูกต้อง ผมว่าประชานิยมมันเคยอธิบายไปแล้วว่า ประชานิยมกับประชารัฐมันคนละแบบนะ ประชารัฐมันร่วมกัน ไอ้ประชานิยมมันใช้เงินรัฐอย่างเดียว ผมว่ามันไม่ถูกตรงนี้ และมีผลเสียหายไม่ได้ กระทบต่อระบบงบประมาณของประเทศ เพราะพวกนี้มันจ่ายแล้วหายไปเลย แต่ถ้าระบบประชานิยม เช่น ถ้าเราทำเยอะๆ มันจะเกิดปัญหา ถ้าเราทำประชารัฐมันความร่วมมือของภาครัฐมาด้วยกับเอกชน ภาคธุรกิจ วันนี้พยายามจะเดินหน้าสู่การลงทุนร่วมของพีดีพีอะไรก็แล้วแต่ ก็มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุนเหล่านี้ ถ้าทุกคนไม่ยอมรับในสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้มันก็เกิดขึ้นไม่ได้อีกนะครับ
เพราะฉะนั้นอะไรที่มันเกิดได้ ก็ควรจะเกิดซะในช่วงนี้ ทุกอย่างมันแก้ไขได้หมดนะ คราวนี้เราจำเป็นต้องใช้อะไรบ้างล่ะในช่วงการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ จะดี จะถูก จะผิดก็ไปวิเคราะห์กันออกมานะครับ และดูจากรัฐธรรมนูญ ดูจากกฎหมายที่ทยอยออกไปในเวลานี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันจำเป็นต้องมีความแตกต่างหรือไม่จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด ทั้งปัญหา ทั้งการพัฒนาประเทศ ทั้งการขจัดความขัดแย้ง ทั้งการปฏิรูป หรือการวางพื้นฐานมันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ว่าแตกต่างหรือไม่ มันคงไม่ใช่ แหมคงไม่มีประชาธิปไตยเลย มันคงไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้นมันต้องมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านในการบังคับใช้เท่านั้นเองนะครับ เพื่อไม่ให้ประเทศหยุดชะงักอีก ไม่ต้องเกิดปัญหาอย่างก่อน 22 กุมภาฯ เข้าไปอีกนะครับ
ในเรื่องต่อไปก็คือ การที่เราจะกำหนดอนาคตประเทศไทย ทำได้อย่างไรในเวทีโลกนะครับ เราก็ต้องเอาย้อนกลับมาว่า เมื่อ 20 ปีต่อไป หรือทุก 5 ปีๆ ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในเวทีโลก เราก็กำหนดมาตรฐานของเราไว้ และเดินตามมาตรฐานเหล่านั้น เพื่อจะให้เกิดความยั่งยืนให้ได้ว่า เราจะเป็นอย่างไรใน 20 ปีข้างหน้า แล้วมองย้อนกลับ 5-5-5-5 และย้อนกลับมาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่เราวางไว้ตั้งแต่แผน 12-13- 14- 15 อีก 4 แผน วันนี้ก็ 11 : 12 แล้ว เรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับนะครับ ถ้าเรามองว่าคือยาวิเศษ และแก้ไขทุกอย่างไปทบทวนดูนะ มันจะแก้ไขได้ทั้งหมดไหมความขัดแย้ง ปัญหายิ่งแรงความขัดแย้งก็สูงขึ้น ถ้าไม่เข้มแข็งพอก็มีปัญหาอีก ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ประชาชนไม่เชื่อมั่น ไม่เชื่อถือ เพราะงั้นทุกอย่างต้องมีความสมดุลกันในตัวเองนะครับ ให้ความเป็นธรรม ดูสากลเข้าบ้าง อะไรเขาบ้าง ก็ผสม ผเสกันไป
ผมคิดว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เต็มที่แล้วนะ ผมเห็นเหน็ดเหนื่อย เครียดเหมือนกัน เพราะว่าเราจะต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นนี่ ทุกอย่างลำบากหมดนะครับ ในเรื่องของการแก้ไขความขัดแย้ง แก้ไขการทุจริต ความรุนแรง ความไม่เข้มแข็ง ความไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เหล่านี้จะทำยังไงนะครับ
แล้วถ้าเราสามารถผ่านประชามติไปได้ เราจะต้องเข้าไปสู่การเลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งได้ ก็ไปตั้งรัฐบาลได้ ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ วุ่นวายกันอีก มีการทำร้ายกัน หรือใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ใส่กันอีก เหมือนเดิม ก็ไปไม่ได้อีกเหมือนเดิมนะ เพราะงั้นเราต้องช่วยกันคิดนะครับ เราจะหยุดเรื่องเหล่านี้อย่างไร อย่าพูดว่าไม่เป็นไร ไม่เป็นไร วันนี้ก็เห็นสงบเงียบเรียบร้อยดี
ผมเคยกราบเรียนแล้วว่า สงบอย่างนี้ทุกที แต่ปัญหาก็คือมีการเอาชนะคะคานกันในหลายๆ อย่างนะครับ ทำให้ประชาชนสับสน แล้วแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน เจ้าหน้าที่ก็ลำบาก อย่าให้เกิดขึ้นอีกเลยนะครับ แล้วหลังเลือกตั้งมาแล้วนี่ ต่างฝ่ายต่างจะยอมรับในผลการเลือกตั้งหรือไม่นะ ก็จะกลับมาเดือดร้อนเจ้าหน้าที่อีกนั่นแหละ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้ทุกคนยอมรับกัน
ผมว่าต้องยอมรับกันนะด้วยกติกาของสังคม ของสังคมโลก เลือกตั้งคือเลือกตั้ง เลือกตั้งแล้วผลยังไงอีกฝ่ายก็ต้องรับแล้ว แล้วไม่ให้เกิดปัญหาอีกเช่นที่ผ่านมา ไม่รู้กี่ครั้งแล้วนะครับ แล้วถ้าแก้ไม่ได้จริง ๆ แล้วใครจะเป็นคนหยุดสถานการณ์ได้ วันนี้เขาก็มีวิธีการแก้ไขให้อยู่แล้ว ก็ไม่เห็นด้วยอีก เพิ่มอำนาจคนโน้นคนนี้มาก แล้วใครจะทำ ถ้าไม่ต้องทำเหรอ ก็คือทุกคนต้องอยู่ที่ใจของทุกคนทั้งประเทศ จะทำยังไง หยุดด้วยตัวเองได้ไหม
เรื่องต่อไปคือกฎหมายการปกครอง การบริหาร กฎหมายลูกต่าง ๆ บทเฉพาะกาล ต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกันทั้งสิ้น ประโยชน์คนละอย่างกัน บางอย่างก็ไม่ได้เขียนในรัฐธรรมนูญ บางอย่างอยู่ในกฎหมายลูก บางอย่างอาจจะต้องอยู่ในบทเฉพาะกาล ไม่งั้นตีกันไปหมด คนละความมั่งหมาย ศึกษาให้ดีนะครับ ไม่งั้นจะสับสน แล้วก็ไม่เห็นชอบไปทุกเรื่องไป ต้องดูความสัมพันธ์กันให้ต่อเนื่องด้วยนะครับ
เรื่องต่อไปคือเรื่องการเมืองไทยที่ผ่านมานั้น เรามักจะเน้นในเรื่องพลังอำนาจของประชาชน แต่พลังอำนาจอย่างไรล่ะครับ อำนาจของประชาชนคืออย่างเดียว คือการเลือกผู้แทน การลงประชามติ เลือกผู้แทน หรือ สส. ขึ้นมาเพื่อจะทำงานให้บ้านเมือง แล้วก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว แล้วเราได้รัฐบาลมา ดีบ้างไม่ดีบ้าง อะไรก็แล้วแต่นะ เพราะงั้นขอให้เรามองปัญหาของเรา ย้อนมองกลับไปกลับมา เราจะรู้เองว่า เราต้องปรับปรุง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ปฏิรูป อะไร อย่างไรนะครับ เพราะงั้นช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
ผมเองค่อนข้างเครียดเหมือนกันนะ ในช่วงนี้ก็ทั้งปัญหา ทั้งเตรียมการปฏิรูป ทั้งเตรียมการประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ อะไรก็แล้วแต่ มันหลายเรื่องด้วยกัน แม่น้ำ 5 สาย แล้วก็ปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็เยอะแยะ มากมายนะครับ
วันนี้เราควรจะต้องพิจารณากันแล้วว่าเราจะต้องมีกลไกอะไรหรือไม่ ที่จะทำให้ประเทศเราผ่านช่วงนี้ไปได้ นั่นแหละคือเหตุผลที่มีความแตกต่างนะครับ อยากให้ทุกคนตั้งใจพิจารณา อย่าตั้งใจเพื่อจะขัดแย้ง หาจุดขัดแย้งไม่ได้ หาจุดที่มีความแตกต่างและไปหาเหตุผล ถ้าดีก็ยอมรับนะครับ ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ประชาชนเป็นศูนย์รวมนะครับ มองปัญหาอย่างเป็นกลาง ผมไม่ใช่ศัตรูใครทั้งสิ้น ในเรื่องของกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินนะครับ ศึกษาบทเรียน และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี กลับมาเป็นสังคมสันติสุขของไทยๆ แบบเดิมอย่างที่เราเคยเป็น
สำหรับปัญหาของพี่น้องชาวนานั้น อยากจะเรียนให้ทราบว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ วันนี้หลายๆ ที่ก็เริ่มมีความยากลำบากแล้ว เรื่องน้ำ เรื่องข้าว เรื่องยางอะไรก็แล้วแต่ ผมจะแก้ไปเรื่อยๆ นะครับ สร้างความเข้มแข็งไปด้วย ถ้าบรรเทาความเดือดร้อนมันก็จบเป็นเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลย ปีหน้าก็เกิดใหม่ วันนี้อาจจะลำบากมาก เพราะมันมาพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นวันนี้ผมได้ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งนะครับ เพื่อจัดทำแผนข้าวครบวงจรตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนร่วมด้วย เช่น สมาคมชาวนา สมาคมโรงสี สมาคมผู้ค้าข้าวถุง และสมาคมผู้ส่งออก เป็นต้นนะครับ
สำหรับแผนข้าวครบวงจรนี้ เป็นความพยายามของรัฐที่ต้องการให้มีการปลูกข้าวให้สมดุลกับความต้องการใช้ หรือที่เรียกว่า ซัพพลายเท่ากับดีมานด์นะครับ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการลดผลผลิตของข้าว ซึ่งมากเกินความต้องการ วันนี้ได้รับรายงานจากคณะทำงานว่า ได้ประมาณการความต้องการข้าวแล้วของประเทศนี้อยู่ที่ประมาณ 25 ล้านตันข้าวเปลือก และได้วางแผนการจัดทำพื้นที่เพาะปลูกให้สมดุลกัน ซึ่งแน่นอนว่ามีบางพื้นที่อาจจะปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าว หรือลดการปลูกข้าวลง เพื่อไปปลูกพืชอันอื่นเสริม ผมไม่อยากให้มีการบังคับกัน เดี๋ยวก็เดือดร้อนอีก แต่ถ้าปลูกแล้วมันตาย ปลูกแล้วมันไม่มีน้ำ มันจะปลูกมันก็เสียเปล่า เป็นหนี้เป็นสินอีก กราบเรียนขอให้พี่น้องชาวนาได้เข้าใจนะครับ ให้ความร่วมมือภาครัฐด้วยตามความสมัครใจ และตามหลักการวิชาการด้วย รับคำแนะนำอย่างเปิดใจด้วยกันนะครับ ผมรู้ว่ามันยาก เราเคยทำกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย วันนี้ต้องกลับมาดูด้วยว่าเราเป็นหนี้เยอะหรือเปล่า และวันหน้าจะเป็นหนี้อีกหรือเปล่า จะหมดหนี้เมื่อไร วันนี้มันต้องปรับเปลี่ยนแล้วแหละผมว่า
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในอนาคตอันใกล้ ถ้าทุกคนร่วมมือแบบวันนี้ ทุกพืชเศรษฐกิจผมว่ามันไปได้ เราทำสำเร็จแน่ คราวนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมหาตลาดรองรับไว้แล้ว ในส่วนของการพืชทดแทนที่ผลิตขึ้นมา หรือปลูกขึ้นมาแทนการปลูกข้าวนะครับ จำนวนหนึ่งที่จะต้องลดลง และไปเพิ่มเป็นผลผลิตอย่างอื่นต้องหาตลาดให้ด้วย เพราะฉะนั้นเข้าไปหาเขา หาราชการจังหวัด ไปหานายอำเภอ หาผู้ว่าฯ หาอะไรต่างๆ เกษตรจังหวัดมีอยู่หมดแล้ว ถ้าไม่ไปหาเขามันก็ไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นคนที่จะไปหาเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. ก็ไปพบข้าราชการเขา และก็เอาความเดือดร้อนของประชาชนไปคุยกับเขา รัฐบาลไม่สามารถจะลงไปได้ทุกพื้นที่ ก็ต้อใช้กลไกเหล่านี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และในส่วนของประชารัฐไง ฉะนั้นเราต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ในการแก้ปัญหาเดิม เช่น ลดการปลูกข้าว และไปปลูกอย่างอื่น มีปัญหาเรื่องตลาดอีก
ในส่วนของข้อเสนอของสมาคมชาวนา เรื่องการช่วยเหลือชาวนาแบบยั่งยืน ที่ได้ยื่นให้คณะกรรมการได้พิจารณานั้น ผมได้ทราบแล้ว และรัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์กำลังนำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเร่งให้โดยเร็ว อย่าใจร้อนมากนัก ถ้าแก้ไขอะไรที่มันเร่งด่วนเกินไป ปัญหาก็จะกลับมาที่เดิม ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก ขอชื่นชมชาวนายุคใหม่ หลายๆพื้นที่ หลายๆท่าน หลายๆกลุ่ม ชื่นชมจริงๆ เพราะแนวคิดที่ท่านเสนอมาจะมุ่งเน้นความยั่งยืน และมุ่งให้ความช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับนโยบายนาแปลงใหญ่ของรัฐบาลที่กำหนดไป ผมก็หวังว่าแผนข้าวครบวงจรนี้ จะเป็นประโยชน์ คณะกรรมการจะดำเนินการจัดทำ และจวนจะเสร็จแล้ว ก็จะเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน มันจะทำให้เราสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม ให้กับพี่น้องชาวนาได้อย่างยั่งยืน คือการเจริญเติบโตจากภายในด้วย ในการช่วยเหลือโดยข้าราชการ มาช่วยทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง การปลูก การผลิต ให้มีคุณภาพ และมีภาคเอกชนมารองรับผลผลิต คือการตลาดปลายทาง
สำหรับเรื่องยางนั้น ก็กำลังแก้ไขไปเป็นระยะ และช่วงนี้ก็เห็นว่าราคายางก็ยังอยู่ในราคาที่ค่อนข้างจะไม่สูงมากนัก แต่เป็นฤดูใกล้การปิดกรีดยางพอดี ก็เดี๋ยวจะต้องเตรียมการกันต่อ เรื่องการนำสู่การผลิตหรือการทำมาใช้ ต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อน วันนี้ไมได้มุ่งหวังว่า จะต้องไปซื้อมาทั้งหมด ซื้อไม่ได้อยู่แล้ว วันนี้ก็ไปซื้อนำราคาเฉยๆ ราคาก็สูงขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังดีกว่ามันไม่ขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่มันจะเกิดตามมาคือ เรากำลังแปรรูป มันต้องใช้เวลาในการแปรรูป ตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่ 2 ก็คือส่วนหนึ่งจะต้องเอามาสู่โรงงาน ผลการวิจัยพัฒนาเรื่องยางต้องทำควบคู่กันไป จะได้เข้มเเข็งและยั่งยืน
ผมเป็นห่วง รัฐบาลเป็นห่วงรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร พ่อแม่พี่น้อง ลูกหลาน รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ พอเศรษฐกิจมันแย่ รายได้ที่จากธุรกิจเชื่อมโยงมันก็ลดลงหมด การสัญจรไปมาลดลง การคมนาคมลดลง รายได้จากการขับแท็กซี่ ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คือมันลดหมด แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสู้ ช่วยกันทำ ช่วยกันหาเงิน ช่วยกันใช้ มากบ้างน้อยบ้าง แล้วก็สัญจรไปมาหาสู่กัน เดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง มันจะช่วยยกทางนั้นทางนี้ขึ้นมาหลายทาง ถ้ารอการช่วยเหลืออย่างเดียวมันก็ไม่ไหวเหมือนกันนะ รัฐบาล ก็เต็มกลืน ปัญหามันเยอะ
สุดท้ายนี้ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นช่วงของตลาดวัฒนธรรมสยามเมืองยิ้ม จัดวันที่ 1- 26 กุมภาพันธ์ โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพ จะเป็นการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ นำสินค้าเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อจะเพิ่มรายได้ท้องถิ่นและพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วยตามอัตลักษณ์ และเราจไะด้เชื่อมโยงการตลาดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง จะมีการปรับเปลี่ยนทีมงานในแต่ละสัปดาห์ให้ประชาชนได้มาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย ช่วยกันมา จะมีบรรยากาศแตกต่างกันออกไป ช่วงแรก 1-7 กุมภาพันธ์ เรียกว่าตลาดมั่งมีศรีสุข ซึ่งอยู่ในช่วงตรุษจีน เชิญพ่อแม่พี่น้องร่วมกันจับจ่ายใช้สอย ช่วงที่ 2 วันที่ 8 - 14 กุมภาพันธ์ ตลาดสร้างรัก ก็อยู่ในช่วงวันแห่งความรัก วันวาเลนไทน์ ช่วงที่ 3 วันที่ 15-21 กุมภาฯ ตลาดสร้างสุข และช่วงสุดท้าย 22 -16 กุมภาฯ เรียกว่าตลาดสร้างบุญ เป็นสัปดาห์ของวันมาฆบูชา ขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตลาดได้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงๆ ขอบคุณ ขอบคุณจริงๆ ขอเชิญชวนมาเที่ยวชมเยอะๆ ช่วยกันใช้จ่ายบ้าง ไม่มากก็น้อย
เรื่องอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งดีๆของคนไทย ประเทศไทย ทุกคนต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ต่างประเทศ ได้รับทราบข้อเท็จจริง อย่าไปเปิดประเด็นใหม่ การบิดเบือนหรือเปิดความขัดแย้งให้รุนแรงอีก มันไม่มีวันจบสิ้น ขอบคุณสื่อที่ดีๆที่เข้าใจและทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ เพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทุกคน ขอบคุณครับ สวัสดีครับ