เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการ สำนักการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วย พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.สมบรูณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ และ พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผบ.สำนักการเงิน การธนาคาร ดีเอสไอ ได้ร่วมประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและคณะพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาคำสั่งของ นายนภดล บุญศร อัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 4 ในคดีพิเศษที่ 146/2556 เกี่ยวกับกรณีทุจริตยักยอกทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจำกัด ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาฐานความผิดของกลุ่มผู้รับเช็คจาก นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ประกอบด้วย กลุ่มวัดพระธรรมกาย, กลุ่มบริษัท เอส ดับบลิวโฮลดิ้ง จำกัด, กลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี, กลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรัฐประชา, นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ และกลุ่มญาติธรรม
พ.ต.ท.ปกรณ์ แถลงภายหลังการประชุมซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมงว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินคดีฟอกเงินกับ นายศุภชัย กับผู้ที่มีชื่อรับเช็คจำนวน 878 ฉบับ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ดีเอสไอแยกการสอบสวนออกเป็น 7 กลุ่ม ตามความสัมพันธ์ของธุรกรรมการเงินประกอบด้วย 1.นิติบุคคลที่มีมูลหนี้ต่อกัน 2.วัดพระธรรมกาย 3.สหกรณ์อื่นๆ 4.ผู้ต้องหาและผู้ที่เข้าข่าย 5.บุคคลธรรมดา 6.นายหน้าค้าที่ดิน และ 7.นิติบุคคลที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
สำหรับกลุ่มที่จะถูกดำเนินคดีข้อหารับของโจรและฟอกเงินนั้น อยู่ในกลุ่มบุคคลและกลุ่มนิติบุคคลใน 7 กลุ่ม ที่รับเช็คจากสหกรณ์รวมเป็นเงินราว 7,000-8,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มที่รับเช็คโดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งรวมถึงกลุ่มวัดพระธรรมกายและเครือข่ายที่มีการรับบริจาคโดยไม่มีมูลหนี้รวมกว่า 2,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินบริจาคให้วัดผ่านบัญชี พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย จำนวนประมาณ 800 ล้านบาท และพระรูปอื่นในเครือข่ายวัดธรรมกายประมาณ 20 รูป ที่ได้รับเช็คจาก นายศุภชัย อีกรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะพิจารณาสอบสวนหาความจริงต่อไปเพื่อดำเนินการตามที่ทางอัยการได้สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และหากพบว่ามีทรัพย์สินที่ได้จากการยักยอกสหกรณ์หลงเหลืออยู่กับบุคคลใด พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสั่งยึดอายัดทันที
พ.ต.ท.ปกรณ์ กล่าวอีกว่า การสอบสวนคดียักยอกสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ไม่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกรณีรถเบนซ์จดประกอบของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เนื่องจากเป็นคนละส่วนกัน พนักงานสอบสวนแยกกันทำงาน โดยคดีฟอกเงินคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เพราะมีการตั้งเรื่องสอบสวนมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งหากผู้ต้องหาในกลุ่มนี้มีจำนวนมาก ก็อาจตั้งเป็นคดีใหม่เพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้ที่เคยรับไว้สอบสวน 3 คดี
ด้าน พ.ต.ท.สมบูรณ์ กล่าวว่า พนักงานอัยการยังได้ทำหนังสือแจ้งให้ดีเอสไอ ดำเนินการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร น.ส.ศรันยา มานหมัด นายลภัส โสมคำ และนายกฤษดา มีบุญมาก ฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง และร่วมกันปลอมแปลงเอกสารสิทธิ์ และให้สอบสวนเพิ่มเติมกรณี นางทองพิน กันล้อม และบุคคลอื่น ร่วมกันลงลายมือชื่อกับ นายศุภชัย เพื่อจ่ายเช็คของสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นายจิรเดช วรเพียรกุล และ นายวัฒชานนท์ นวอิศรารักษ์ ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์สหกรณ์ตามที่พนักงานสอบสวนชุดเดิมมีความเห็นไปก่อนหน้านี้ แต่ให้พิจารณาความผิดในฐานรับของโจรหรือฟอกเงินแทน
นอกจากนี้ ดีเอสไอยังได้ดำเนินการอายัดทรัพย์สินของ นายศุภชัย ได้เพิ่มเติมอีก 3 รายการ ประกอบด้วย เงินที่ นายศุภชัย โอนให้กับ นายสุวิทย์ ฤทธิศร จำนวน 168 ล้านบาท โดย นายสุวิทย์ นำเงินไปซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างรีสอร์ทมูลค่า 20 ล้านบาท, ที่ดิน 1,984 ไร่ ที่ ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มูลค่า 367 ล้านบาท และที่ดินใน จ.มหาสารคาม เนื้อที่ 3 ไร่เศษ มูลค่า 23 ล้านบาท
พ.ต.ท.ปกรณ์ แถลงภายหลังการประชุมซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมงว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินคดีฟอกเงินกับ นายศุภชัย กับผู้ที่มีชื่อรับเช็คจำนวน 878 ฉบับ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ดีเอสไอแยกการสอบสวนออกเป็น 7 กลุ่ม ตามความสัมพันธ์ของธุรกรรมการเงินประกอบด้วย 1.นิติบุคคลที่มีมูลหนี้ต่อกัน 2.วัดพระธรรมกาย 3.สหกรณ์อื่นๆ 4.ผู้ต้องหาและผู้ที่เข้าข่าย 5.บุคคลธรรมดา 6.นายหน้าค้าที่ดิน และ 7.นิติบุคคลที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
สำหรับกลุ่มที่จะถูกดำเนินคดีข้อหารับของโจรและฟอกเงินนั้น อยู่ในกลุ่มบุคคลและกลุ่มนิติบุคคลใน 7 กลุ่ม ที่รับเช็คจากสหกรณ์รวมเป็นเงินราว 7,000-8,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มที่รับเช็คโดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ซึ่งรวมถึงกลุ่มวัดพระธรรมกายและเครือข่ายที่มีการรับบริจาคโดยไม่มีมูลหนี้รวมกว่า 2,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินบริจาคให้วัดผ่านบัญชี พระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย จำนวนประมาณ 800 ล้านบาท และพระรูปอื่นในเครือข่ายวัดธรรมกายประมาณ 20 รูป ที่ได้รับเช็คจาก นายศุภชัย อีกรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งดีเอสไอจะพิจารณาสอบสวนหาความจริงต่อไปเพื่อดำเนินการตามที่ทางอัยการได้สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และหากพบว่ามีทรัพย์สินที่ได้จากการยักยอกสหกรณ์หลงเหลืออยู่กับบุคคลใด พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสั่งยึดอายัดทันที
พ.ต.ท.ปกรณ์ กล่าวอีกว่า การสอบสวนคดียักยอกสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ไม่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกรณีรถเบนซ์จดประกอบของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เนื่องจากเป็นคนละส่วนกัน พนักงานสอบสวนแยกกันทำงาน โดยคดีฟอกเงินคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เพราะมีการตั้งเรื่องสอบสวนมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งหากผู้ต้องหาในกลุ่มนี้มีจำนวนมาก ก็อาจตั้งเป็นคดีใหม่เพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้ที่เคยรับไว้สอบสวน 3 คดี
ด้าน พ.ต.ท.สมบูรณ์ กล่าวว่า พนักงานอัยการยังได้ทำหนังสือแจ้งให้ดีเอสไอ ดำเนินการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร น.ส.ศรันยา มานหมัด นายลภัส โสมคำ และนายกฤษดา มีบุญมาก ฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง และร่วมกันปลอมแปลงเอกสารสิทธิ์ และให้สอบสวนเพิ่มเติมกรณี นางทองพิน กันล้อม และบุคคลอื่น ร่วมกันลงลายมือชื่อกับ นายศุภชัย เพื่อจ่ายเช็คของสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นายจิรเดช วรเพียรกุล และ นายวัฒชานนท์ นวอิศรารักษ์ ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์สหกรณ์ตามที่พนักงานสอบสวนชุดเดิมมีความเห็นไปก่อนหน้านี้ แต่ให้พิจารณาความผิดในฐานรับของโจรหรือฟอกเงินแทน
นอกจากนี้ ดีเอสไอยังได้ดำเนินการอายัดทรัพย์สินของ นายศุภชัย ได้เพิ่มเติมอีก 3 รายการ ประกอบด้วย เงินที่ นายศุภชัย โอนให้กับ นายสุวิทย์ ฤทธิศร จำนวน 168 ล้านบาท โดย นายสุวิทย์ นำเงินไปซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างรีสอร์ทมูลค่า 20 ล้านบาท, ที่ดิน 1,984 ไร่ ที่ ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มูลค่า 367 ล้านบาท และที่ดินใน จ.มหาสารคาม เนื้อที่ 3 ไร่เศษ มูลค่า 23 ล้านบาท