สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก เป็นวันที่ประชาชนคนไทยทุกคน ควรได้ระลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของวีรชนในแนวหน้า ที่พร้อมจะเสียสละไม่เพียงแค่ความสุขทางกายนะครับ แต่ยังพร้อมที่จะเสียสละได้แม้ชีวิตและเลือดเนื้อ
ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ที่อาศัยใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขจนถึงทุกวันนี้ แม้เมื่อไม่มีภัยสงครามแต่ยังคงมีข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องทำงานนอนกลางดินกินกลางทรายอยู่ท่ามกลางป่าเขา เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดน เฝ้าตรวจชายแดน ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องห่างจากครอบครัวที่รัก จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อจะป้องกันประเทศ การรุกล้ำอธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีภัยอันตรายมากมาย ทั้งภัยคุกคามรูปแบบเดิม และในรูปแบบใหม่ จากการผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ และการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขอให้ทุกคนร่วมกันให้กำลังใจ ส่งคำอวยพรให้พวกเขาปลอดภัย รวมทั้งผมขอเชิญชวนพวกเราและทุกคนร่วมกันแสดงออกถึงความมีน้ำใจตอบแทนความเสียสละด้วยการอุดหนุนดอกป๊อปปี้ ดอกไม้สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทหารผ่านศึก โดยการซื้อ หรือบริจาคทรัพย์ สำหรับการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัว พิการ หรือเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะช่วยกันดูแลครอบครัวของเขาให้มีความสุขต่อไป เขาขาดหัวหน้าครอบครัว ขอให้ดอกป๊อปปี้ได้มีการผลิบานอยู่ในใจของทุกคน สานใจแนวหลังสู่แนวหน้า ร่วมกันทำให้แผ่นดินที่พวกเรา หรือพวกเขารักษากันไว้ด้วยชีวิตเป็นแผ่นดินแห่งความสุข สันติ ของประชาชนทุกคนนะครับ
สำหรับการปฏิรูปรูปแบบการทำงานในการร่วมมือกันสร้างชาติ ตามแนวทางประชารัฐนั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นการคืนความสุขแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับคนในชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต วันนี้ผมขอหยิบยกตัวอย่างการดำเนินการแบบประชารัฐในพื้นที่ที่ผมได้เดินทางไปเยือนด้วยตัวเองนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่น ที่สามารถจะเป็นแบบอย่างในการยืนบนลำแข้งของตนเองได้ ในระยะที่ 1 ดังนี้นะครับ
ที่ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ อาทิเช่น การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในการทำการเพาะปลูกพืช ตามที่รัฐบาลได้ให้คำแนะนำไปนะครับ แล้วก็ได้เข้าถึงกองทุน ต่าง ๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไปนะครับ ก็ทำให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง แล้วก็ตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐ และภาคประชาชนนะครับเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน
สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านเริ่มด้วยตัวเองได้นะครับ ตามคำแนะนำ ก็จะสะดวกแก่การบริหารจัดการของรัฐบาล และของท่านเองด้วยนะครับในการรวมกลุ่ม เช่นการใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน หรือการร่วมกลุ่มเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกัน และร่วมกันแปรรูป สร้างนวัตกรรม ทำการตลาดร่วมกัน แบ่งปันกันก็มีอยู่ ส่วนแรกก็คือส่วนที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ของตัวเอง ในกลุ่มของตัวเองนะครับ
อันที่สองคือค้าขายในชุมชน หรือแปรรูปขั้นที่ 1 จากนั้นก็ไปส่งไประยะที่ 2 นะครับ ส่งไปโรงงาน ส่งไปอะไรก็แล้วแต่ จะเกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมดนะครับ เราก็ได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาชน นะครับ ในพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมมานั้นได้ช่วยกันขับเคลื่อน ตามนโยบายรัฐบาลเป็นอย่างดีนับตั้งแต่ กรอ.จังหวัดลงมาถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน
สำหรับมาตรการสำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมานั้น ได้มีการทำนาปรังสูงขึ้นถึง 268,000 ไร่ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือในปีนี้ จากพี่น้องเกษตรกร ให้ลดการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากอาจจะมีเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้ง ก็ได้รับความร่วมเป็นอย่างดีนะครับในพื้นที่ นอกจากในเรื่องของการรวมแปลงแล้ว อะไรแล้วนะครับ ก็มีเรื่องของการขอความร่วมมือของการทำนาปรัง ก็ทำให้ปีนี้ พื้นที่ทำนาปรัง ที่ผมไปเยี่ยมมา ลดลงเหลือเพียง 7,135 ไร่ ขอบคุณนะครับ ขอบคุณจริงๆ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นั้นปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แล้วก็ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้นนะครับ ก็สามารถทำให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลางจากตลาดไทมารับซื้อถึงที่นะครับ มีการขยายพื้นที่การปลูกผักมากขึ้นแทนการนาปรังมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของนโยบายประชารัฐของรัฐบาล อย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร คือถ้าทำตรงกับนโยบายทำตามสิ่งที่เราแนะนำ มันก็เร็วขึ้นนะครับ มันเกิดผลสัมฤทธิ์ หลายคนก็เล่าให้ผมฟังว่า รายได้เขาดีกว่าเดิมมาก ดีขึ้นมากกว่าทำนาอีกนะครับ แต่ข้อสำคัญก็คือ รัฐบาลต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูก และการตลาดให้ด้วย และสนับสนุนในเรื่องของการสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ ในเรื่องของการทำเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีที่เราจะต้องเพิ่มเติมลงไป และเพื่อจะแข่งขันลดราคากับภาคเอกชนที่ได้มีการให้เช่าเครื่องไม้เครื่องมือเครื่องจักร แต่ราคามันแพงนะครับ ในการไถในการเก็บเกี่ยวอะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลพยายายามส่งเสริมในแนวทางไว้ วันหน้าจะได้เดินหน้าไปได้ด้วยดี มั่นคง ทุกคนจะได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง หากพร้อมใจกันรับฟังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มันอาจจะยากนะครับระยะแรก เพราะว่าเคยทำมาแล้วกับปู่ย่าตายาย แต่ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลลงรายละเอียดทุกเรื่อง ไม่ได้คิดเพื่อจะทำให้ทุกอย่างมันผ่านๆ พ้นๆ ไปง่ายๆ นะครับ ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นภาครัฐก็สนับสนุนเงินลงทุนผ่านสินเชื่อจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์นะครับ เมล็ดพันธุ์พืช องค์ความรู้ในการปลูกพืชทดแทน การทำปุ๋ย การปฏิรูปสินค้าเพิ่มมูลค่า และมีภาคเอกชนมาร่วมลงทุนด้วยหลายบริษัทด้วยกัน ในการที่จะช่วยหาตลาด สร้างความเชื่อมโยง เพื่อรองรับสินค้าการเกษตร และไปแปรรูปด้วยอะไรด้วย ก็มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับในพื้นที่ที่ไปวันนั้นผมได้ย้ำให้แต่ละคนในชุมชน ได้ไปหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์นะครับ มาเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตออกมา
ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้ผู้บริโภคสนใจ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตอะไรก็ตามนะครับ อยากให้ทุกสินค้า ทุกรายการ มีเรื่องราวความเป็นมาไม่ซ้ำกัน มีคุณค่านะครับ และราคาจะสูงขึ้นเอง ผมเห็นตัวอย่างต่างประเทศเขาทำแบบนี้ด้วย
เรื่องที่ 2 เรื่องโครงการฟื้นฟูอ่างเก็บน้ำบ้านหนองดู่ 400 ไร่ เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่ จ.ชัยนาท ซึ่งเดิมผมให้ท่านรองนายกรัฐมนตรี ประวิตร ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่ที่จะต้องติดตามความคืบหน้า ในพื้นที่รับผิดชอบ ก็ได้รับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่บริเวณบ้านห้วยอุโมงค์ ก็มีห้วยอยู่เดิม ห้วยธรรมชาติตื้นเขิน ใช้ประโยชน์เก็บกักน้ำอะไรไม่ได้มากนัก เลยขอโครงการขึ้นมาผ่านท่านรองฯ ประวิตร นะครับ ท่านประวิตรได้ใช้งบประมาณในส่วนที่รองนายกรัฐมนตรีสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง และมีชาวบ้านมาร่วมมือ และภาคธุรกิจเอกชนมาซื้อพื้นที่ จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ ร่วมบริจาคมา และทำให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำเป็นผลสำเร็จ ภาครัฐก็เข้าไปสนับสนุนให้
วันนี้ ก็มีน้ำเข้าเป็นจำนวนมากพอสมควร และสามารถจัดเก็บกักน้ำในฤดูหลากซึ่งทราบข้อมูลว่ามีมากมายนะ ต้องระมัดระวัง เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วย เก็บน้ำไว้ใช้เป็นแก้มลิงช่วงฤดูแล้ง ถึงฝนจะไม่มา น้ำความลึกประมาณ 4 เมตร ถึง 6 เมตร หากเรายกระดับประตูน้ำไหลเข้าไหลออกให้สูงขึ้นอีก จะเก็บน้ำได้มากขึ้นอีก เป็นตัวอย่างของการเอาข้อมูล รับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้นมา รัฐบาลขึ้นมาพิจารณาว่า ช่วยเหลือได้อย่างไร อันไหนที่เป็นประโยชน์ ต้องทำความเข้าใจ อาจต้องพึ่งพาตรงอื่น เขาเรียกว่า การร่วมมือกัน เป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่ตัวเอง ต้องสร้างความเชื่อมโยงพื้นที่อื่นด้วย บางครั้ง ไม่เหมาะสมขุดอ่างน้ำตรงนั้นตรงนี้ ต้องไปขุดที่อื่น น้ำมาที่นี่ จะได้เกิดผลประโยชน์ด้วยกันในภาพรวม ภาพกว้าง เพราะฉะนั้น การบริหารจัดการในพื้นที่ หรือที่ดิน ต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน
ผมเกรงว่าปัญหาการขาดน้ำจะทำให้มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ถ้าเราน้ำทำการเกษตรมากเกินไป ขณะที่ต้นทุนน้ำมีจำกัด มันก็จะทำให้น้ำในการอุปโภค บริโภค การทำน้ำประปามันขาดแคลนเข้าไปอีกนะครับ แล้วก็ระบบน้ำที่จะต้องส่ง ลงมาให้ออกไปทะเล ผลักดันน้ำเค็ม มันก็น้อยลง ไปไม่ถึง เพราะว่าสูบหมดแล้ว เพราะฉะนั้น มันก็คือปัญหาของเราในขณะนี้ ขอให้ความร่วมมือไประยะเวลาหนึ่งไปจนถึงปีหน้า ถ้าปีหน้าน้ำมากขึ้น ฝนตกมากขึ้นก็คงจะไม่เป็นปัญหาเหล่านี้ เพราะเราได้เตรียมระบบน้ำ การกักเก็บน้ำ ไว้มากมายพอสมควรในระยะที่ 1 นะครับ ในเรื่องแผนบริหารจัดการน้ำ
สำหรับที่ห้วยมะโมงนี้ ก็ทำให้พี่น้องประชาชนกว่า 900 ครัวเรือน ได้รับผลประโยชน์ รัฐสามารถประหยัดงบประมาณในการบรรเทาความเดือดร้อน เพราะถ้าเราต้องดูทั้งระบบในพื้นที่กว้างๆ นี่ไปไม่ไหวนะครับ เพราะงั้นต้องช่วยกัน อะไรในเขตชลประทาน อะไรนอกเขต อะไรที่เป็นแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติ อะไรที่ไปขุดเสริมเพิ่มในพื้นที่แล้วจัดระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้โดยท้องถิ่นเอง โดยประชาชนเอง ก็ลดความขัดแย้ง เงินที่มีอยู่ก็จะได้เอาไปใช้พัฒนาด้านอื่นๆ ได้อีก พัฒนาพื้นที่ พัฒนาให้ประชาชนมีความสุขนั่นเอง
ทั้ง 2 ตัวอย่าง ทั้งบ้านปลาทูกับห้วยมะโมง ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำประชารัฐนะครับ เป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อันนี้จะเห็นถึงความร่วมมือระดับชาติลงไปถึงระดับชุมชน คือแกนตั้งที่ผมว่า จะเป็นกลจักรสำคัญนะครับ ข้างล่างก็ต้องไปทำแกนนอนให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ถ้าเราเข้มแข็งด้วยตัวเอง ยืนบนลำแข้งตัวเองได้แล้ว ก็ไม่ต้องพึ่งพาใครมากนักนะครับจนกระทั่งทำให้ระบบต่างๆ มันเสียหายไปทั้งหมด ก็มีคนมาใช้ประโยชน์ จากความยากลำบากของพ่อแม่พี่น้อง ไปทำอย่างอื่นด้วยนะครับ
รัฐบาลวันนี้จำเป็นต้องลงทุนขนาดใหญ่ไปด้วยนะครับ ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ปัญหาเดิมๆ อยู่ ซึ่งมันควรจะแก้ไปนานแล้ว แต่ก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ดูทั้งระบบนะครับ วันนี้ก็เอาทั้งระบบมาก็เป็นงานที่ยากพอสมควร งบประมาณสูง แต่เราก็จะจัดลำดับ ความเร่งด่วนในกาทำงานให้ได้ในระยะที่ 1 ของเราในการปฏิรูปประเทศสิ่งสำคัญที่เราต้องปฏิรูปไปพร้อมกันด้วยนอกจากท้องถิ่น นอกจากชุมชน นอกจากประชาชนแต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่ายแล้ว สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ ที่เป็นรายได้ประเทศในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ในห้วงการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของเศรษฐกิจโลกในวันนี้ เราจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น โดยทำอย่างไรเราจะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน หรือด้านอื่นๆ นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้การวิจัยและพัฒนานำสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ของประเทศ เหล่านี้นะครับจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของเราในอนาคต
ในส่วนของรัฐ ข้าราชการก็จำเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนให้ได้ อย่าให้เขาต่อว่าได้ว่าไม่ดูแลเขา ไม่ร่วมมือ ไม่เมตตา ไม่รักเขา ท่านต้องแก้ไขตั้งแต่วันนี้ ด้วยการบูรณาการ พบปะใกล้ชิดสม่ำเสมอ ขอขอบคุณ ข้าราชการที่ดีๆ เสียสละมากมาย ทุ่มเท เหน็ดเหนื่อย ผมทราบดีผม และรัฐบาลขอเป็นกำลังใจให้
ในเรื่องของการสร้างชาติด้วยการปฏิรูปประเทศให้เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำไมต้องใช้คำว่าก้าวกระโดด เพราะที่ผ่านมามันชะลอมานานแล้ว แทนที่จะทำไปด้วยความก้าวหน้าตามลำดับ ปรากฏว่ามันต้องก้าวกระโดด ไม่งั้นไม่ทันเขา เพราะมันหยุดมานานแล้ว ในภาพรวม ในภาพของเศรษฐกิจมหภาคด้วย
สถานการณ์โลกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่อง การพัฒนาคนและชุมชน ใช้หลักการตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า ทุกอย่างต้องระเบิดจากข้างใน หมายถึงต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มเเข็งให้คนในครอบครัวและชุมชนให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อนให้มีความอยาก ความต้องการ แล้วอยากร่วมมือด้วย ไม่ใช่เรียกร้อง หรือไม่ใช่รัฐยัดเยียดความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไป ต้องนึกถึงว่า ความสมดุลจะเกิดได้อย่างไร ถ้ารายได้เขาน้อย สิ่งที่มันจะเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีเขาก็ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้เพราะราคามันสูง วันนี้ต้องสร้างตั้งแต่ชุมชนหมู่บ้านขึ้นไป ไปกลุ่มจังหวัด ไปตลาดชายแดน ไป CLMV ไปประชาคมอื่นๆ วันนี้รัฐบาลใช้หลักการนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ได้นำหลักการประชารัฐเข้ามาเสริมนะครับ เพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้กำหนดความต้องการนะครับสำรวจความต้องการในพื้นที่
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูในภาพรวมว่า แต่ละเรื่องมันมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นอย่างไร เขาถึงเรียกว่าการทำงานอย่างเป็นระบบ แล้วก็ดูตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แล้วให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมของตนเองภาครัฐก็จะง่ายที่จะไปร่วมมือ ที่จะไปส่งเสริม ทั้งด้านความรู้ วิชาการ เทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาด้วย ต้องเข้ามาดูแลในทุกกิจกรรมเพราะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโต พื้นฐานของการพัฒนา ก็คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านต้องรู้กิจกรรมของทุกกลุ่มงานนะครับ ทุกกระทรวงด้วย เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของการสร้างสติปัญญา และผลิตคนอกมาให้ตรงความต้องการ สนับสนุนในทุกกิจการกิจกรรมทุกกระทรวง รวมความไปถึงภาคเอกชน ธุรกิจด้วย ท่านต้องมองในมุมนี้ เพราะท่านมีตั้งหลายแท่งงานในการทำงาน ซึ่งผลิตคนออกมาแต่ละอย่างเพื่อเหมาะสมกับกิจการหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้ความรู้ในการเป็นครู ในการเป็นเกี่ยวกับเรื่องของการท่องเที่ยว การบริการ เทคนิคเชียล นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนา นักคณิตศาสตร์อะไรเหล่านี้ มันมีความหลากหลายนะครับ ถ้าท่านทำให้ทุกอย่างสามารถเป็นกลุ่มๆ ได้ จัดระเบียบได้ เตรียมคนได้ วางแผนว่าในปีนี้ถึงปี 60 จะทำคนเหล่านี้ได้เท่าไร จะต่อยอดอย่างไร จะเอาใครมาเชื่อมโยง จะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร ธุรกิจอย่างไร เพื่อจะเติมคนเหล่านี้ให้ได้ให้เร็ว วันนี้เราขาด ตลาดแรงงานเราขาดมากนะครับ ในทุกระดับ งานเรามากมายตอนนี้ เพราะมีคนจะมาลงทุนในประเทศไทยภายใน 2 ปี เป็นจำนวนมากนะครับ ผมเกรงว่าจะไม่ทัน
เพราะฉะนั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาฯ และทุกกระทรวง ถึงความต้องการของแรงงาน และอีกประการหนึ่งคือว่า ในเมื่อเรามีรายได้ดีขึ้น ในส่วนของแรงงานต่างๆ มันควรจะมีรายได้สูงขึ้น แต่การที่จะปรับรายได้ทุกคนพร้อมกันทั้งหมดมันเป็นไปไม่ได้ คงจะต้องปรับตามฝีมือ ตามการรับรองฝีมือของกระทรวงแรงงานด้วย เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนทุกคน แรงงานทุกคนเข้าใจนะ ถ้าทุกคนรู้จักพัฒนาตนเอง เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เขามีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกพื้นที่นะครับ ตอนนี้ผมสั่งการย้ำไปแล้วให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่างๆ เข้าไปหารือกันให้ได้ว่า เราต้องการแรงงานในประเทศเท่าไร อย่างไร แรงงานต่างประเทศที่เข้ามาจากเพื่อนบ้านเราเท่าไร แรงงานมีฝีมือเท่าไร เราจะส่งแรงงานประเภทใดไปบ้าง อันนี้มันต้องเข้าไปอยู่ในแผนของการเตรียมการ ที่ผ่านมาในเรื่องของการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกัน เดี๋ยวตรงนั้นเดี๋ยวผมพูดอีกครั้งหนึ่ง
อันนี้เราจะสามารถเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และรูปแบบของการทำงานร่วมกันนะครับ ทั้งข้าราชการ รัฐ ประชาชน และเอกชน ซึ่งเคยกล่าวเอาไว้แล้วว่า เราจะต้องดำเนินการปฏิรูปการทำงานของประเทศ ทั้งนโยบายไทยแลนด์ รุกไปข้างหน้า เริ่มต้นให้ดี ไอ้ที่ยังไม่เข้มแข็งต้องสตาร์ท ไอ้ที่ยังไม่เกิดต้องสตาร์ทขึ้นมา ที่สตาร์ทไปแล้ว สตาร์ทต่อนะ ไม่งั้นติดๆ ดับๆ ตลอดไปไม่ได้
สำหรับแนวทางการดำเนินการมีดังนี้ เรื่องการจัดตั้ง start up center นะครับ เพื่อจะเชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรมที่มีแต่ละกระทรวง และจดทะเบียนเป็น start up center ทั้งหมด จะทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ทั้งจากธนาคารรัฐและเอกชน มีลงทุนร่วม ลงทุน ความเข้มแข็ง สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางธุรกิจ นวัตกรรมรายใหม่ด้วยกันเอง หรือสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนความรู้ต้องไปด้วยกัน เราเคยสัญญากันไว้ว่า จะ Strong together จะต้องมีรายได้สูงขึ้นด้วยกัน มากน้อยก็ตามขีดความสามารถ ตามสภาพ รัฐบาลดูแลเพิ่มเติมให้นะครับ ถ้าใครยังไม่ความสามารถเพียงพอ ต้องการเงิน เป็นไปไม่ได้ ท่านต้องพัฒนาเรียนรู้ก่อนนะครับ พี่ๆ จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน ขนาดใหญ่จูงขนาดกลาง ขนาดกลางจูงขนาดเล็ก อันนี้ เป็นความเชื่อมโยงนะครับ
เรื่องที่ 2 การทำภาคเกษตรเข้าสู่ระบบ ภาคการเกษตรวันนี้ รายได้น้อย ผลผลิตทางการเกษตร มีราคาต่ำ เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลกนี้นะครับ เพราะฉะนั้น เรามีโครงการในเรื่องการจัด 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี ขึ้น เป็นระยะแรก เราต้องการปฏิรูปการเกษตรประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เข้าถึงแหล่งวิชาการ แก้ปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ให้ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมเกษตรอุตสากรรมรายย่อยในแต่ละท้องถิ่น ว่า ผมต้องการให้เป็นก้าวแรกของพี่น้องเกษตรกรนะครับ แต่ถ้าก้าวแรกไปเยอะๆ ได้ก็ดี ไม่เป็นไรหรอก ถ้ามันแข็งแรงอยู่แล้วมาร่วมกันทำต่อไป รัฐบาลจะต้องพิจารณาหาทางสนับสนุนให้ตามขีดความสามารถที่มีอยู่ และขอความร่วมมือจากบรรดานักธุรกิจต่างๆ ร่วมด้วย วันนี้ต้องช่วยกันทั้งหมดนะ ก้าวแรกของผม ต้องก้าวพร้อมกันหลายพวก หลายหน่วย หลายกลุ่ม ปัญหาคือความเข้าใจมันเกิดขึ้น หรือยัง การเจริญเติบโตจากภายในพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อม และบิดเบือน พูดจาให้ให้ร้ายกันต่อไป มันก็ไม่เกิดขึ้น พี่น้องเกษตรกร ประชาชนยังลำบากอยู่แบบนี้
ผมสามารถพูดได้เลย ถ้ายังทำแบบเดิมอยู่ก็จะจนอยู่แบบนี้ ถึงชั่วลูกชั่วหลาน วันข้างหน้าก็เป็นแบบนี้อีก ถ้าไม่ร่วมมือกับเราในวันนี้นะครับ ตามที่เราได้เตรียมการเรื่องของแผนการปฏิรูป วันนี้ระยะที่ 1 ท่านต้องเริ่มกับผมก่อน เราต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ การผลิตคนก็ต้องมีคุณภาพ มากกว่าปริมาณเหมือนกัน การศึกษา เป็นข้อมูลที่ผมทราบอยู่แล้ว ผมได้แจ้งรัฐมนตรีศึกษาไปแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้าผมทั้งนั้นนะ ผมพยายามแก้มันยากพอสมควรนะ มันเป็นระบบ เพราะฉะนั้นเห็นใจด้วยนะครับ รัฐบาล ข้าราชการพยายามจะดำเนินการอยู่นะ ขณะนี้เราจะทำยังไงให้นวัตกรรมไทย เกื้อกูลต่อการใช้วัตถุดิบในประเทศนะ แล้วก็ไปสร้างแบรนด์ของ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของอาเซียน แบรนด์ของสินค้าไทยที่เราเรียกว่า Made in Thailand ต่อไปก็มี Made in ASEAN ด้วยนะครับ เพราะเราเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว
เมื่อวานผมได้สั่งงานไปแล้วในวันก่อนที่มีการประชุมเรื่องการเตรียมการและความก้าวหน้าในการเดินหน้าเข้าสู่ AEC นะครับ การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย AEC คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจนะครับ สำหรับเรื่องประชาคมอาเซียนมีหลายเสาด้วยกัน เดี๋ยวพูดอีกครั้ง
เรื่องที่ 3 การส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ Tech Startup ได้มีการจับมือทุกฝ่าย ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร ดิจิทัล เทคโนโลยี และธุรกิจบริการ มาร่วมกันคิดและสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจนะครับที่ใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาดนะครับ ทั้งตลาดใน ตลาดนอก อะไรก็แล้วแต่ เป็นโอกาสในการที่จะขยายธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ออกไปในวันข้างหน้าด้วย มันจะทำให้รายได้ประเทศสูงขึ้น เป็นการยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้มีการแข่งขันได้มากขึ้น อย่างที่เรากำหนดไว้เป็นวาระของเราเหมือนกันนะครับ ในการเข้ามาในครั้งนี้
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้น คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ นะครับ จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ เป็นแผนที่นำทาง ในการที่จะนำพาประเทศชาติให้มีรายได้สูงขึ้น เข้าสู่ประเทศที่มีการผลิต มีการจำหน่ายออกไปภายนอก ในด้านอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการเกษตรเหล่านี้ ประสิทธิภาพเราสูงอยู่แล้ว ที่สำคัญการดำเนินงานการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ความร่วมมือ ให้ทุกอย่างมันเริ่มต้น ต่างคนต่างเริ่มต้น มันก็เริ่มกันไม่เท่ากัน เพราะบางอาชีพสำเร็จแล้ว มีอาชีพไหนที่จะทำต่อ ขยายก็กลับไปทำต่อกัน ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่พัฒนา กี่ปี ๆ มันก็อยู่ที่เก่า ก็รอให้คนใหม่ทำขึ้นมา คนเก่า ไปไม่ออก ไปไม่เป็น
เพราะฉะนั้นผมว่ามันต้องทำแบบนี้ บางอย่างก็เอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมา เรียนรู้กันดู แบบที่เรียนได้ ก็ดูแบบให้รู้เรื่อง อย่ากลัว แต่อย่าไปมั่วกฎหมายเขาแล้วกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องตรงนี้เรื่องของกฎหมายนั้น มันสำคัญ ในเรื่องสำคัญก็คือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเทศ เขาพยายามที่จะใช้กฎหมายนี้คุ้มครองผลประโยชน์ของเขาทั้งหมด เราก็ต้องเรียมความพร้อมของเราด้วยในอนาคตนะครับ เพราะนอกจากผลงานวิจัยและพัฒนาแล้วนี่ เราได้นำออกมามากมายวันนี้ จะต้องไปเข้าสู่กระบวนการทำลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ ไม่งั้นวันหน้าผลิตออกไปแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง คนที่เอาไปก็ได้ประโยชน์ไป เราก็เสียหายนะครับ เพราะงั้นวันนี้เราจะต้องสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมานะครับ แล้วก็นำสู่กระบวนการ กฎหมายซึ่งมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประชาคมโลก พันธะสัญญาอีก หลายสิบฉบับนะ เพราะงั้นเอามาเป็นปัจจัยในการพิจารณาด้วยนะครับ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ในส่วนของการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อันนี้มันน่าจะต้องไปด้วยกันได้นะ เพราะประเทศไทยนั้นเป็นประเทศผลิตสินค้า ผลิตผลที่มาจากเกษตรกรรมมีเป็นจำนวนมาก ที่มันเหลือ เช่นข้าว ยาง อะไรเหล่านี้นะ เราสามารถเอาอุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยได้ ก็จะเพิ่มรายได้นะ แล้วก็ยึดโยงไปถึงชาวไร่ ชาวนา ด้วย ชาวสวน เพราะงั้นถ้าเราไม่ใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันก็ไปไม่ได้ เพราะทั่วโลกเขาใช้แล้ว ผมได้ยินว่าในระยะเวลาอันใกล้ ปี สองปี หรือไม่กี่ปีนี่ มันจะเป็นการปฏิวัติเศรษฐกิจโลกใหม่ ไปสู่ระยะที่สี่นะครับ ก็คือการที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ ใช้อะไรต่างๆ มันก็ต้องเตรียมเหมือนกันนะ เราก็ต้องเตรียม วันนี้ก็เป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 5 ที่เรากำลังส่งเสริม เพื่อจะเตรียมการสู่อนาคต
ขณะเดียวกันต้องเตรียมการไว้ด้วยนะครับว่าทำยังไง ในเมื่อใช้เครื่องมือใช้เครื่องจักร ใช้หุ่นยนต์มากขึ้น คนก็จะไม่มีงานทำมากขึ้น เราคงต้องมีทั้งสองอย่างนะครับ เพราะเรายังคงต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อย แล้วก็คนเราเยอะขึ้นๆ ทุกวัน วันนี้เกือบ 70 ล้านแล้ว เพราะงั้นเราจะทำ เน้นในเรื่องของความทันสมัยอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อยด้วย นี่ปัญหาถึงได้ไปสู่ว่าเราจะดูแลเขาอย่างไร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาอย่างไร ให้เขามีการเรียนรู้อย่างไร มีการพัฒนาตัวเองอย่างไร นั้นแหละครับถึงจะไม่มีปัญหาในอนาคต เดี๋ยวเราก็ติดกับตัวเองเข้าไปอีกแล้ว วันหน้าถ้าเราไม่ทำวันนี้นะครับ
ในส่วนของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เราก็อย่าไปละเมิดเขานะครับ เขาก็ไม่ควรละเมิดเรา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แต่อะไรที่ร่วมมือกันได้ก็ร่วมมือไปนะครับ ถ้าแย่งกันทำ เลียนแบบกัน ขโมยเขามา แล้วทำเองไม่ได้ มันเสียความเป็นสุภาพบุรุษด้วยนะคนไทย เราต้องรักษา การทำของเทียมเลียนแบบอะไรนี่เสียหายหมด ผมได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ไปจับกุมดำเนินคดีหมดแล้วนะ ในส่วนของของปลอม ทุกเรื่องเลย ปลอมได้หมด ไม่เข้าใจ ว่าทำไมถึงได้รับความนิยมสูงขนาดนั้น อย่าหลอกตัวเอง ใช้ของปลอม ก็ปลอมนะ แสดงว่าปลอมทั้งตัวมั้ง
การดาวน์โหลดหนังนี่ก็ยังมีขึ้นอยู่นะครับ ยังมีอยู่ ทุกอย่าง แอบทำกันหมดเจ้าหน้าที่ก็ต้องไม่ละเลย ไม่เลือกปฏิบัตินะครับ ไม่ทุจริต มันมีผลเสียหายนะครับ ของปลอมบางทีก็ทำให้สุขภาพเสียหาย ดูหนังก็อาจจะถูกนะ ราคาถูก ไม่ต้องเดินทางไม่ต้อง แต่หนังมันมองไม่เห็นนะ ตายิบๆ ตาเสียหมดนะ เด็กๆ ก็ตาเสียหาย วันนี้เด็กตาเสียเยอะเหมือนกัน เพราะว่าดูจอคอมพิวเตอร์ยังไง ตัวเล็ก ต้องให้พักผ่อนบ้าง เล่นเกมส์ทั้งวัน ไม่ได้ตาบอดวันหน้า นะเพราะเราต้องดูแลเหยื่อนะครับ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ของเขาของเราด้วย เป็นเรื่องของความถูกต้องศีลธรรมอันดี แล้วยังสร้างในเรื่องของวินัยทางการค้าและการลงทุน
วันนี้สถิติทุกอย่างถูกประเมินหมดนะครับ ทุกประเทศในโลกที่อยู่ในระดับต้นๆ นี่จะถูกประเมินเพราะจะต้องมาแข่งขันกันไง ใครดี ใครไม่ดี ใครปลอม ใครไม่ปลอม ใครละเมิดกฎหมาย นี่เป็นตัวที่จะสร้างความเชื่อมั่นในโลกใบนี้ในวันข้างหน้า วันนี้ด้วยนะครับ วันหน้าจะมากกว่านี้อีก กฎหมายจะเขียนเยอะขึ้นนะ เพราะงั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศนั้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงนะครับ จะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่นี่แหละ การขับเคลื่อน การพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง ผมพูดหลายครั้งเหลือเกิน ท่านคงจำได้บ้างไม่ได้บ้าง คนไทยต้องจำนานๆ นะ อย่าจำสั้นๆ ไม่ชอบฟังอะไรยาวๆ และจำน้อยๆ แล้วก็ลืม พยายามสร้างความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องหน่อย ผมก็ไม่ใช่เก่งอะไรมาหรอกนะครับ เพียงแต่ว่าผมทำเองก็เลยจำได้ ถ้าคนไม่สนใจเลย จะรอรับประโยชน์อย่างเดียว มันจะจำอะไรไม่ได้เลย รอว่าเมื่อไรจะได้สตางค์เท่านั้น ผิดถูกไม่ว่ากันอันนี้ไม่ได้ เราต้องระมัดระวังนะครับ การที่เราจะกำหนดอะไรมาเอง คิดอะไรมาเอง และทำโน้นได้ นี่ได้ ดูสัญญาของเขาด้วย ดูกฎหมายของประเทศด้วย WTO FTO ข้อตกลงเจรจาเยอะแยะไปหมด ถ้าเราทำไม่ดี เราอาจจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรนะครับ ไอ้เรื่องที่เราเสียสิทธิ GSP บ้าง หรือภาษี 0% บ้าง มันเป็นเรื่องของประเทศเราเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางนะครับ ซึ่งถูกตัดภาษีตัวนี้ออกไป การให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป ไม่ใช่เพราะผมเข้ามาหรอก เพราะเรามีรายได้ต่อหัว รายได้ GDP มันสูง อยู่ระดับกลาง แต่เราต้องมาดูว่า มันกลางจริงไม่จริง คนอยู่ตรงกลางจริงมันเท่าไร ไอ้ข้างล่างเท่าไร วันนี้เกือบ 40 ล้านรายได้น้อย มีทั้งเกษตรกร และเกษตรกรสัก 30 อีก 10 ผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ อาชีพรับจ้าง อิสระอะไรเหล่านี้นะ ทั้งหมดก็เกือบ 40 ล้าน วันนี้เรามี 67 ล้านมั้ง คิดเอาแล้วกันว่า คนจนเรามีเยอะไหมล่ะ มากกว่า 50 หรือเปล่า 50% หรือเปล่านะครับ ต้องช่วยกันนะครับ
เรื่องทางการแพทย์ วิวัฒนาการของเรา ซึ่งน่าชื่นชมนะครับ แพทย์เรา สาธารณสุขเราถือว่าดีที่สุดในอาเซียนเหมือนกันนะ ประเทศหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ดีที่สุด ไปเก่งกว่าเขามากก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องภูมิใจในพวกเราเองแล้วกัน ไม่ต้องไปคุยโอ้อวดกับใครหรอกครับ วันนี้โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้านะครับ โรงพยาบาลทหารนี่แหละของกรมแพทย์ทหารบกนะครับ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นี่ไงความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน นี่ส่วนสถานศึกษานะครับของจุฬาลงกรณ์ ก็ประสบความสำเร็จนะครับ การผ่าตัดใส่กระดูกเทียม ซึ่งผลิตจากโลหะไทเทเนียม ด้วยการพิมพ์ 3 มิติด้วยเครื่องซีทีสแกน เพื่อใส่ทดแทนกระดูกนิ้วหัวแม่มือ ที่ถูกทำลายจากมะเร็งเนื้องอกกระดูก เป็นรายแรกของโลกนะครับ น่าภูมิใจไหมล่ะ เป็นรายแรกของโลก
เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ นะครับ และข้อสำคัญก็คือ บรรดาพ่อแม่พี่น้องที่เป็นแรงงาน ที่ทำงานในโรงพยาบาลถูกเครื่องจักรกลตัดมือ ตัดนิ้ว ตัดแขนมา เหล่านี้มันต้องพัฒนากันตรงนี้ด้วยนะครับว่า วันหน้าจะทำยังไงให้แบบนี้ให้เขามีความสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเดิมได้ จะได้ไปทำงานได้เหมือนเดิมนะครับ ปัญหาคือราคาค่ารักษามันคงแพงหน่อยนะ จะทำยังไง ก็คงต้องมีการเริ่มต้นนะครับ ฝากสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขไปดูด้วยนะครับ อาจจะเป็นนำร่องสักเท่าไรไม่รู้นะ เป็นการกุศล สาธารณกุศลไปก่อน
อันนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทยนะครับ จะต้องจดสิทธิบัตรให้ได้โดยเร็ว เราจะช้าทุกทีไป ต้องรีบส่งนะครับ เขาจะให้เมื่อไหร่ ก็ถือว่าเราส่งไปแล้วนะ วันหน้า เขาจะได้ไม่บอกว่าเพิ่งส่ง ๆ เราต้องตามทุกเรื่องนะครับ ไม่ใช่สั่งไปแล้ว ไม่ตาม ไม่กำกับดูแล จัดตั้งไปแล้วไม่ควบคุม และไม่ใช่งาน มันก็พังทุกวัน ระบบมันก็เสียหมดทุกวัน ทำอะไรก็แล้วแต่มันต้องมีการเริ่ม ถ้าเริ่มก็เริ่มซะ เริ่มคือการจัดตั้ง จัดตั้งเสร็จต้อควบคุม ควบคุมในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทำงานยังไง ภารกิจอย่างไร แล้วใช้งานให้มันตรงกับวัตถุประสงค์ ทั้งงบประมาณ แผนงาน เพราะมันมีหลายหน่วยงานด้วยกัน ทำซ้ำซ้อนมันไม่เกิดประโยชน์ มันซ้ำซ้อนกันทางงบประมาณด้วยนะครับ แล้วข้อสำคัญคือต้องมีการประเมินผล งบประมาณ ความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลัก ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วนั้น ตรงความต้องการเขาหรือไม่ ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอธิบายเขานะครับ ไม่ใช่ต่างคนต่างปล่อยกันไป ทะเลาะกันอยู่ทุกวัน อันไหนต้องการก็ทำให้เขา อันไหนรัฐต้องไป รัฐต้องทำในส่วนที่ต้องเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ไม่ใช่พื้นที่ที่แต่ละท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว เขาได้อยู่แล้ว เขาทำอยู่แล้ว ถ้ารัฐไม่ไปเสริม ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น อำเภอนี้ อำเภอนู้น เรื่องน้ำ เรื่องต้นทาง ปลายทาง การปลูกพืช การพัฒนาอะไรแล้วแต่ คิดแบบนี้มันไปไม่ได้ มันซ้ำซ้อนกันหมด กลายเป็นรัฐลงไปทำในสิ่งที่รัฐต้องการ ที่เขาว่ากันไง ประชาชนต้องการอะไร ไม่สนใจ ไม่ได้ ก็แบ่งกันซิครับ ในส่วนนั้น ท้องถิ่นรู้อยู่แล้ว ให้เขาคิดมา
วันนี้ เราก็มีโครงการอะไรหล่ะ โครงการ 5 ล้านแรก ที่ให้ไปครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้กองทุนหมู่บ้านอีก อีกเท่าไหร่ ไม่เกิน 5 แสนบาท ใช่ไหม 79,000 กว่าหมู่บ้าน อันนี้ ก็ไม่เกิน 5 แสน ก็ไปทำในสิ่งของที่มันเกิดประโยชน์ในระยะยาว ไม่ใช่เอาไปแจกจ่าย ไม่ใช่ ทำอาชีพหนึ่งเพิ่มมูลค่า โรงสีขนาดเล็ก ลานตัดมัน ที่เก็บน้ำ ถนนหนทาง ทางผ่านสัญจร ทางอาหาร ธนาคารอะไรต่างๆ แล้วแต่ ธนาคารน้ำมันพืช ธนาคารผลิตผลต่างๆ ทางการเกษตร นั่นละไปทำ ต้องเสริมกัน 5 ล้าน กับ 5 แสน ต้องไปด้วยกัน และ 5 แสนหลังจะเร็ว เพราะอะไร ประชาชนคิดได้เลย ต้องการอะไรมีอยู่แล้ว มีอยู่ในความต้องการอยู่แล้วของกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยนะ ข้าราชการเขาทำให้เร็วนะครับ ไม่งั้นประกาศแล้วใช้ยาก ต้องเข้าใจระบบราชการด้วยนะ มันยาก เพราะขั้นตอนต้องเป็นอย่างนั้น มันแก้ไขไม่ได้ เพราะถ้าแก้ไขมันอาจนำไปสู่การไม่โปร่งใส เหมือนเดิม อาจทำได้ง่าย เขาไม่ค่อยตรวจมั้ง
และวันนี้ ขอแสดงความยินดีนะครับ ในเรื่องการไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่ขายของปลอมเหล่านี้ ถือว่าขอความร่วมมือนะครับ ใครที่ทำอยู่แล้ว คือไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ ไม่อุดหนุน ผมว่า เป็นวิธีการที่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกคนประหยัด ทรงรับสั่งความหมายคือว่า มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย บางคนมีน้อย ต้องระวังตัว มีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณ มีมาก จะใช้ให้มากกว่าเดิมต้องดูว่าเราจะใช้มากถึงเมื่อไหร่ เขาเรียกเตรียมภูมิคุ้มกัน ทั้งหมด และเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ถ้าไม่ใช้เงินกันเลย รอรัฐบาลอย่างเดียว รอลดภาษี ราคา มันก็ไปไม่ได้ทั้งหมดประเทศ ภาคการผลิตก็ผลิตไม่ได้ และจะขายใคร เงินจะมาที่ไหน ภาษีจะมาจากไหน คิดให้เป็นวงจรแบบนี้ ประชาชนต้องเรียนรู้นะครับ อย่าให้เขามาบิดเบือนให้ท่านไม่เข้าใจอีก วันนี้ ต้องเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นตัวแทนประชาชนชาวไทยนะครับ แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 ท่าน 1 คือสาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ.นพ.มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ จากประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย และคิดค้นหลักการเครื่องรักษาหัวใจ ด้วยวิธีให้จังหวะ และ 2 สาขาการสาธารณสุข เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต จากสหราชอาณาจักร ด้วยผลงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา ที่เน้นสร้างความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และฐานะทางสังคม จนนำไปสู่การกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะของโลก ซึ่งนับว่าทั้งสองท่าน ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าแก่มวลมนุษยชนโดยรวม ของโลกนี้นะครับ ขอยกย่องคุณงามความดี และความวิริยะอุตสาหะของทั้งสองท่าน ใช้เวลายาวนานนะครับ กว่าจะประสบความสำเร็จในวันนี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ทั้งของโลก และของไทย ของอาเซียน ในการที่จะ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ให้พร้อมที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มวลมนุษยชาติ ให้กับโลกใบนี้นะครับในอนาคตครับ แล้วก็ขณะเดียวกันต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ที่อาศัยใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขจนถึงทุกวันนี้ แม้เมื่อไม่มีภัยสงครามแต่ยังคงมีข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องทำงานนอนกลางดินกินกลางทรายอยู่ท่ามกลางป่าเขา เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดน เฝ้าตรวจชายแดน ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องห่างจากครอบครัวที่รัก จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อจะป้องกันประเทศ การรุกล้ำอธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีภัยอันตรายมากมาย ทั้งภัยคุกคามรูปแบบเดิม และในรูปแบบใหม่ จากการผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ และการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขอให้ทุกคนร่วมกันให้กำลังใจ ส่งคำอวยพรให้พวกเขาปลอดภัย รวมทั้งผมขอเชิญชวนพวกเราและทุกคนร่วมกันแสดงออกถึงความมีน้ำใจตอบแทนความเสียสละด้วยการอุดหนุนดอกป๊อปปี้ ดอกไม้สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทหารผ่านศึก โดยการซื้อ หรือบริจาคทรัพย์ สำหรับการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัว พิการ หรือเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะช่วยกันดูแลครอบครัวของเขาให้มีความสุขต่อไป เขาขาดหัวหน้าครอบครัว ขอให้ดอกป๊อปปี้ได้มีการผลิบานอยู่ในใจของทุกคน สานใจแนวหลังสู่แนวหน้า ร่วมกันทำให้แผ่นดินที่พวกเรา หรือพวกเขารักษากันไว้ด้วยชีวิตเป็นแผ่นดินแห่งความสุข สันติ ของประชาชนทุกคนนะครับ
สำหรับการปฏิรูปรูปแบบการทำงานในการร่วมมือกันสร้างชาติ ตามแนวทางประชารัฐนั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นการคืนความสุขแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับคนในชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต วันนี้ผมขอหยิบยกตัวอย่างการดำเนินการแบบประชารัฐในพื้นที่ที่ผมได้เดินทางไปเยือนด้วยตัวเองนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่น ที่สามารถจะเป็นแบบอย่างในการยืนบนลำแข้งของตนเองได้ ในระยะที่ 1 ดังนี้นะครับ
ที่ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ อาทิเช่น การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในการทำการเพาะปลูกพืช ตามที่รัฐบาลได้ให้คำแนะนำไปนะครับ แล้วก็ได้เข้าถึงกองทุน ต่าง ๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไปนะครับ ก็ทำให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง แล้วก็ตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐ และภาคประชาชนนะครับเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน
สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านเริ่มด้วยตัวเองได้นะครับ ตามคำแนะนำ ก็จะสะดวกแก่การบริหารจัดการของรัฐบาล และของท่านเองด้วยนะครับในการรวมกลุ่ม เช่นการใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน หรือการร่วมกลุ่มเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกัน และร่วมกันแปรรูป สร้างนวัตกรรม ทำการตลาดร่วมกัน แบ่งปันกันก็มีอยู่ ส่วนแรกก็คือส่วนที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ของตัวเอง ในกลุ่มของตัวเองนะครับ
อันที่สองคือค้าขายในชุมชน หรือแปรรูปขั้นที่ 1 จากนั้นก็ไปส่งไประยะที่ 2 นะครับ ส่งไปโรงงาน ส่งไปอะไรก็แล้วแต่ จะเกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมดนะครับ เราก็ได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาชน นะครับ ในพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมมานั้นได้ช่วยกันขับเคลื่อน ตามนโยบายรัฐบาลเป็นอย่างดีนับตั้งแต่ กรอ.จังหวัดลงมาถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน
สำหรับมาตรการสำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมานั้น ได้มีการทำนาปรังสูงขึ้นถึง 268,000 ไร่ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือในปีนี้ จากพี่น้องเกษตรกร ให้ลดการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากอาจจะมีเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้ง ก็ได้รับความร่วมเป็นอย่างดีนะครับในพื้นที่ นอกจากในเรื่องของการรวมแปลงแล้ว อะไรแล้วนะครับ ก็มีเรื่องของการขอความร่วมมือของการทำนาปรัง ก็ทำให้ปีนี้ พื้นที่ทำนาปรัง ที่ผมไปเยี่ยมมา ลดลงเหลือเพียง 7,135 ไร่ ขอบคุณนะครับ ขอบคุณจริงๆ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นั้นปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แล้วก็ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้นนะครับ ก็สามารถทำให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลางจากตลาดไทมารับซื้อถึงที่นะครับ มีการขยายพื้นที่การปลูกผักมากขึ้นแทนการนาปรังมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของนโยบายประชารัฐของรัฐบาล อย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร คือถ้าทำตรงกับนโยบายทำตามสิ่งที่เราแนะนำ มันก็เร็วขึ้นนะครับ มันเกิดผลสัมฤทธิ์ หลายคนก็เล่าให้ผมฟังว่า รายได้เขาดีกว่าเดิมมาก ดีขึ้นมากกว่าทำนาอีกนะครับ แต่ข้อสำคัญก็คือ รัฐบาลต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูก และการตลาดให้ด้วย และสนับสนุนในเรื่องของการสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ ในเรื่องของการทำเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีที่เราจะต้องเพิ่มเติมลงไป และเพื่อจะแข่งขันลดราคากับภาคเอกชนที่ได้มีการให้เช่าเครื่องไม้เครื่องมือเครื่องจักร แต่ราคามันแพงนะครับ ในการไถในการเก็บเกี่ยวอะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลพยายายามส่งเสริมในแนวทางไว้ วันหน้าจะได้เดินหน้าไปได้ด้วยดี มั่นคง ทุกคนจะได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง หากพร้อมใจกันรับฟังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มันอาจจะยากนะครับระยะแรก เพราะว่าเคยทำมาแล้วกับปู่ย่าตายาย แต่ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลลงรายละเอียดทุกเรื่อง ไม่ได้คิดเพื่อจะทำให้ทุกอย่างมันผ่านๆ พ้นๆ ไปง่ายๆ นะครับ ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นภาครัฐก็สนับสนุนเงินลงทุนผ่านสินเชื่อจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์นะครับ เมล็ดพันธุ์พืช องค์ความรู้ในการปลูกพืชทดแทน การทำปุ๋ย การปฏิรูปสินค้าเพิ่มมูลค่า และมีภาคเอกชนมาร่วมลงทุนด้วยหลายบริษัทด้วยกัน ในการที่จะช่วยหาตลาด สร้างความเชื่อมโยง เพื่อรองรับสินค้าการเกษตร และไปแปรรูปด้วยอะไรด้วย ก็มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับในพื้นที่ที่ไปวันนั้นผมได้ย้ำให้แต่ละคนในชุมชน ได้ไปหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์นะครับ มาเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตออกมา
ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้ผู้บริโภคสนใจ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตอะไรก็ตามนะครับ อยากให้ทุกสินค้า ทุกรายการ มีเรื่องราวความเป็นมาไม่ซ้ำกัน มีคุณค่านะครับ และราคาจะสูงขึ้นเอง ผมเห็นตัวอย่างต่างประเทศเขาทำแบบนี้ด้วย
เรื่องที่ 2 เรื่องโครงการฟื้นฟูอ่างเก็บน้ำบ้านหนองดู่ 400 ไร่ เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่ จ.ชัยนาท ซึ่งเดิมผมให้ท่านรองนายกรัฐมนตรี ประวิตร ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่ที่จะต้องติดตามความคืบหน้า ในพื้นที่รับผิดชอบ ก็ได้รับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่บริเวณบ้านห้วยอุโมงค์ ก็มีห้วยอยู่เดิม ห้วยธรรมชาติตื้นเขิน ใช้ประโยชน์เก็บกักน้ำอะไรไม่ได้มากนัก เลยขอโครงการขึ้นมาผ่านท่านรองฯ ประวิตร นะครับ ท่านประวิตรได้ใช้งบประมาณในส่วนที่รองนายกรัฐมนตรีสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง และมีชาวบ้านมาร่วมมือ และภาคธุรกิจเอกชนมาซื้อพื้นที่ จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ ร่วมบริจาคมา และทำให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำเป็นผลสำเร็จ ภาครัฐก็เข้าไปสนับสนุนให้
วันนี้ ก็มีน้ำเข้าเป็นจำนวนมากพอสมควร และสามารถจัดเก็บกักน้ำในฤดูหลากซึ่งทราบข้อมูลว่ามีมากมายนะ ต้องระมัดระวัง เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วย เก็บน้ำไว้ใช้เป็นแก้มลิงช่วงฤดูแล้ง ถึงฝนจะไม่มา น้ำความลึกประมาณ 4 เมตร ถึง 6 เมตร หากเรายกระดับประตูน้ำไหลเข้าไหลออกให้สูงขึ้นอีก จะเก็บน้ำได้มากขึ้นอีก เป็นตัวอย่างของการเอาข้อมูล รับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้นมา รัฐบาลขึ้นมาพิจารณาว่า ช่วยเหลือได้อย่างไร อันไหนที่เป็นประโยชน์ ต้องทำความเข้าใจ อาจต้องพึ่งพาตรงอื่น เขาเรียกว่า การร่วมมือกัน เป็นเอกลักษณ์ ไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่ตัวเอง ต้องสร้างความเชื่อมโยงพื้นที่อื่นด้วย บางครั้ง ไม่เหมาะสมขุดอ่างน้ำตรงนั้นตรงนี้ ต้องไปขุดที่อื่น น้ำมาที่นี่ จะได้เกิดผลประโยชน์ด้วยกันในภาพรวม ภาพกว้าง เพราะฉะนั้น การบริหารจัดการในพื้นที่ หรือที่ดิน ต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน
ผมเกรงว่าปัญหาการขาดน้ำจะทำให้มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ถ้าเราน้ำทำการเกษตรมากเกินไป ขณะที่ต้นทุนน้ำมีจำกัด มันก็จะทำให้น้ำในการอุปโภค บริโภค การทำน้ำประปามันขาดแคลนเข้าไปอีกนะครับ แล้วก็ระบบน้ำที่จะต้องส่ง ลงมาให้ออกไปทะเล ผลักดันน้ำเค็ม มันก็น้อยลง ไปไม่ถึง เพราะว่าสูบหมดแล้ว เพราะฉะนั้น มันก็คือปัญหาของเราในขณะนี้ ขอให้ความร่วมมือไประยะเวลาหนึ่งไปจนถึงปีหน้า ถ้าปีหน้าน้ำมากขึ้น ฝนตกมากขึ้นก็คงจะไม่เป็นปัญหาเหล่านี้ เพราะเราได้เตรียมระบบน้ำ การกักเก็บน้ำ ไว้มากมายพอสมควรในระยะที่ 1 นะครับ ในเรื่องแผนบริหารจัดการน้ำ
สำหรับที่ห้วยมะโมงนี้ ก็ทำให้พี่น้องประชาชนกว่า 900 ครัวเรือน ได้รับผลประโยชน์ รัฐสามารถประหยัดงบประมาณในการบรรเทาความเดือดร้อน เพราะถ้าเราต้องดูทั้งระบบในพื้นที่กว้างๆ นี่ไปไม่ไหวนะครับ เพราะงั้นต้องช่วยกัน อะไรในเขตชลประทาน อะไรนอกเขต อะไรที่เป็นแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติ อะไรที่ไปขุดเสริมเพิ่มในพื้นที่แล้วจัดระบบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้โดยท้องถิ่นเอง โดยประชาชนเอง ก็ลดความขัดแย้ง เงินที่มีอยู่ก็จะได้เอาไปใช้พัฒนาด้านอื่นๆ ได้อีก พัฒนาพื้นที่ พัฒนาให้ประชาชนมีความสุขนั่นเอง
ทั้ง 2 ตัวอย่าง ทั้งบ้านปลาทูกับห้วยมะโมง ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำประชารัฐนะครับ เป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อันนี้จะเห็นถึงความร่วมมือระดับชาติลงไปถึงระดับชุมชน คือแกนตั้งที่ผมว่า จะเป็นกลจักรสำคัญนะครับ ข้างล่างก็ต้องไปทำแกนนอนให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ถ้าเราเข้มแข็งด้วยตัวเอง ยืนบนลำแข้งตัวเองได้แล้ว ก็ไม่ต้องพึ่งพาใครมากนักนะครับจนกระทั่งทำให้ระบบต่างๆ มันเสียหายไปทั้งหมด ก็มีคนมาใช้ประโยชน์ จากความยากลำบากของพ่อแม่พี่น้อง ไปทำอย่างอื่นด้วยนะครับ
รัฐบาลวันนี้จำเป็นต้องลงทุนขนาดใหญ่ไปด้วยนะครับ ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ปัญหาเดิมๆ อยู่ ซึ่งมันควรจะแก้ไปนานแล้ว แต่ก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ดูทั้งระบบนะครับ วันนี้ก็เอาทั้งระบบมาก็เป็นงานที่ยากพอสมควร งบประมาณสูง แต่เราก็จะจัดลำดับ ความเร่งด่วนในกาทำงานให้ได้ในระยะที่ 1 ของเราในการปฏิรูปประเทศสิ่งสำคัญที่เราต้องปฏิรูปไปพร้อมกันด้วยนอกจากท้องถิ่น นอกจากชุมชน นอกจากประชาชนแต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่ายแล้ว สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ ที่เป็นรายได้ประเทศในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ในห้วงการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของเศรษฐกิจโลกในวันนี้ เราจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น โดยทำอย่างไรเราจะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน หรือด้านอื่นๆ นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้การวิจัยและพัฒนานำสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ของประเทศ เหล่านี้นะครับจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของเราในอนาคต
ในส่วนของรัฐ ข้าราชการก็จำเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนให้ได้ อย่าให้เขาต่อว่าได้ว่าไม่ดูแลเขา ไม่ร่วมมือ ไม่เมตตา ไม่รักเขา ท่านต้องแก้ไขตั้งแต่วันนี้ ด้วยการบูรณาการ พบปะใกล้ชิดสม่ำเสมอ ขอขอบคุณ ข้าราชการที่ดีๆ เสียสละมากมาย ทุ่มเท เหน็ดเหนื่อย ผมทราบดีผม และรัฐบาลขอเป็นกำลังใจให้
ในเรื่องของการสร้างชาติด้วยการปฏิรูปประเทศให้เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำไมต้องใช้คำว่าก้าวกระโดด เพราะที่ผ่านมามันชะลอมานานแล้ว แทนที่จะทำไปด้วยความก้าวหน้าตามลำดับ ปรากฏว่ามันต้องก้าวกระโดด ไม่งั้นไม่ทันเขา เพราะมันหยุดมานานแล้ว ในภาพรวม ในภาพของเศรษฐกิจมหภาคด้วย
สถานการณ์โลกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่อง การพัฒนาคนและชุมชน ใช้หลักการตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า ทุกอย่างต้องระเบิดจากข้างใน หมายถึงต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มเเข็งให้คนในครอบครัวและชุมชนให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อนให้มีความอยาก ความต้องการ แล้วอยากร่วมมือด้วย ไม่ใช่เรียกร้อง หรือไม่ใช่รัฐยัดเยียดความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไป ต้องนึกถึงว่า ความสมดุลจะเกิดได้อย่างไร ถ้ารายได้เขาน้อย สิ่งที่มันจะเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีเขาก็ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้เพราะราคามันสูง วันนี้ต้องสร้างตั้งแต่ชุมชนหมู่บ้านขึ้นไป ไปกลุ่มจังหวัด ไปตลาดชายแดน ไป CLMV ไปประชาคมอื่นๆ วันนี้รัฐบาลใช้หลักการนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ได้นำหลักการประชารัฐเข้ามาเสริมนะครับ เพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้กำหนดความต้องการนะครับสำรวจความต้องการในพื้นที่
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูในภาพรวมว่า แต่ละเรื่องมันมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นอย่างไร เขาถึงเรียกว่าการทำงานอย่างเป็นระบบ แล้วก็ดูตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แล้วให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมของตนเองภาครัฐก็จะง่ายที่จะไปร่วมมือ ที่จะไปส่งเสริม ทั้งด้านความรู้ วิชาการ เทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาด้วย ต้องเข้ามาดูแลในทุกกิจกรรมเพราะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโต พื้นฐานของการพัฒนา ก็คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านต้องรู้กิจกรรมของทุกกลุ่มงานนะครับ ทุกกระทรวงด้วย เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของการสร้างสติปัญญา และผลิตคนอกมาให้ตรงความต้องการ สนับสนุนในทุกกิจการกิจกรรมทุกกระทรวง รวมความไปถึงภาคเอกชน ธุรกิจด้วย ท่านต้องมองในมุมนี้ เพราะท่านมีตั้งหลายแท่งงานในการทำงาน ซึ่งผลิตคนออกมาแต่ละอย่างเพื่อเหมาะสมกับกิจการหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้ความรู้ในการเป็นครู ในการเป็นเกี่ยวกับเรื่องของการท่องเที่ยว การบริการ เทคนิคเชียล นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนา นักคณิตศาสตร์อะไรเหล่านี้ มันมีความหลากหลายนะครับ ถ้าท่านทำให้ทุกอย่างสามารถเป็นกลุ่มๆ ได้ จัดระเบียบได้ เตรียมคนได้ วางแผนว่าในปีนี้ถึงปี 60 จะทำคนเหล่านี้ได้เท่าไร จะต่อยอดอย่างไร จะเอาใครมาเชื่อมโยง จะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร ธุรกิจอย่างไร เพื่อจะเติมคนเหล่านี้ให้ได้ให้เร็ว วันนี้เราขาด ตลาดแรงงานเราขาดมากนะครับ ในทุกระดับ งานเรามากมายตอนนี้ เพราะมีคนจะมาลงทุนในประเทศไทยภายใน 2 ปี เป็นจำนวนมากนะครับ ผมเกรงว่าจะไม่ทัน
เพราะฉะนั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาฯ และทุกกระทรวง ถึงความต้องการของแรงงาน และอีกประการหนึ่งคือว่า ในเมื่อเรามีรายได้ดีขึ้น ในส่วนของแรงงานต่างๆ มันควรจะมีรายได้สูงขึ้น แต่การที่จะปรับรายได้ทุกคนพร้อมกันทั้งหมดมันเป็นไปไม่ได้ คงจะต้องปรับตามฝีมือ ตามการรับรองฝีมือของกระทรวงแรงงานด้วย เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนทุกคน แรงงานทุกคนเข้าใจนะ ถ้าทุกคนรู้จักพัฒนาตนเอง เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เขามีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกพื้นที่นะครับ ตอนนี้ผมสั่งการย้ำไปแล้วให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่างๆ เข้าไปหารือกันให้ได้ว่า เราต้องการแรงงานในประเทศเท่าไร อย่างไร แรงงานต่างประเทศที่เข้ามาจากเพื่อนบ้านเราเท่าไร แรงงานมีฝีมือเท่าไร เราจะส่งแรงงานประเภทใดไปบ้าง อันนี้มันต้องเข้าไปอยู่ในแผนของการเตรียมการ ที่ผ่านมาในเรื่องของการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกัน เดี๋ยวตรงนั้นเดี๋ยวผมพูดอีกครั้งหนึ่ง
อันนี้เราจะสามารถเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และรูปแบบของการทำงานร่วมกันนะครับ ทั้งข้าราชการ รัฐ ประชาชน และเอกชน ซึ่งเคยกล่าวเอาไว้แล้วว่า เราจะต้องดำเนินการปฏิรูปการทำงานของประเทศ ทั้งนโยบายไทยแลนด์ รุกไปข้างหน้า เริ่มต้นให้ดี ไอ้ที่ยังไม่เข้มแข็งต้องสตาร์ท ไอ้ที่ยังไม่เกิดต้องสตาร์ทขึ้นมา ที่สตาร์ทไปแล้ว สตาร์ทต่อนะ ไม่งั้นติดๆ ดับๆ ตลอดไปไม่ได้
สำหรับแนวทางการดำเนินการมีดังนี้ เรื่องการจัดตั้ง start up center นะครับ เพื่อจะเชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรมที่มีแต่ละกระทรวง และจดทะเบียนเป็น start up center ทั้งหมด จะทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ทั้งจากธนาคารรัฐและเอกชน มีลงทุนร่วม ลงทุน ความเข้มแข็ง สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางธุรกิจ นวัตกรรมรายใหม่ด้วยกันเอง หรือสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนความรู้ต้องไปด้วยกัน เราเคยสัญญากันไว้ว่า จะ Strong together จะต้องมีรายได้สูงขึ้นด้วยกัน มากน้อยก็ตามขีดความสามารถ ตามสภาพ รัฐบาลดูแลเพิ่มเติมให้นะครับ ถ้าใครยังไม่ความสามารถเพียงพอ ต้องการเงิน เป็นไปไม่ได้ ท่านต้องพัฒนาเรียนรู้ก่อนนะครับ พี่ๆ จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน ขนาดใหญ่จูงขนาดกลาง ขนาดกลางจูงขนาดเล็ก อันนี้ เป็นความเชื่อมโยงนะครับ
เรื่องที่ 2 การทำภาคเกษตรเข้าสู่ระบบ ภาคการเกษตรวันนี้ รายได้น้อย ผลผลิตทางการเกษตร มีราคาต่ำ เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลกนี้นะครับ เพราะฉะนั้น เรามีโครงการในเรื่องการจัด 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี ขึ้น เป็นระยะแรก เราต้องการปฏิรูปการเกษตรประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เข้าถึงแหล่งวิชาการ แก้ปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ให้ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมเกษตรอุตสากรรมรายย่อยในแต่ละท้องถิ่น ว่า ผมต้องการให้เป็นก้าวแรกของพี่น้องเกษตรกรนะครับ แต่ถ้าก้าวแรกไปเยอะๆ ได้ก็ดี ไม่เป็นไรหรอก ถ้ามันแข็งแรงอยู่แล้วมาร่วมกันทำต่อไป รัฐบาลจะต้องพิจารณาหาทางสนับสนุนให้ตามขีดความสามารถที่มีอยู่ และขอความร่วมมือจากบรรดานักธุรกิจต่างๆ ร่วมด้วย วันนี้ต้องช่วยกันทั้งหมดนะ ก้าวแรกของผม ต้องก้าวพร้อมกันหลายพวก หลายหน่วย หลายกลุ่ม ปัญหาคือความเข้าใจมันเกิดขึ้น หรือยัง การเจริญเติบโตจากภายในพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อม และบิดเบือน พูดจาให้ให้ร้ายกันต่อไป มันก็ไม่เกิดขึ้น พี่น้องเกษตรกร ประชาชนยังลำบากอยู่แบบนี้
ผมสามารถพูดได้เลย ถ้ายังทำแบบเดิมอยู่ก็จะจนอยู่แบบนี้ ถึงชั่วลูกชั่วหลาน วันข้างหน้าก็เป็นแบบนี้อีก ถ้าไม่ร่วมมือกับเราในวันนี้นะครับ ตามที่เราได้เตรียมการเรื่องของแผนการปฏิรูป วันนี้ระยะที่ 1 ท่านต้องเริ่มกับผมก่อน เราต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ การผลิตคนก็ต้องมีคุณภาพ มากกว่าปริมาณเหมือนกัน การศึกษา เป็นข้อมูลที่ผมทราบอยู่แล้ว ผมได้แจ้งรัฐมนตรีศึกษาไปแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้าผมทั้งนั้นนะ ผมพยายามแก้มันยากพอสมควรนะ มันเป็นระบบ เพราะฉะนั้นเห็นใจด้วยนะครับ รัฐบาล ข้าราชการพยายามจะดำเนินการอยู่นะ ขณะนี้เราจะทำยังไงให้นวัตกรรมไทย เกื้อกูลต่อการใช้วัตถุดิบในประเทศนะ แล้วก็ไปสร้างแบรนด์ของ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของอาเซียน แบรนด์ของสินค้าไทยที่เราเรียกว่า Made in Thailand ต่อไปก็มี Made in ASEAN ด้วยนะครับ เพราะเราเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว
เมื่อวานผมได้สั่งงานไปแล้วในวันก่อนที่มีการประชุมเรื่องการเตรียมการและความก้าวหน้าในการเดินหน้าเข้าสู่ AEC นะครับ การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย AEC คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจนะครับ สำหรับเรื่องประชาคมอาเซียนมีหลายเสาด้วยกัน เดี๋ยวพูดอีกครั้ง
เรื่องที่ 3 การส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ Tech Startup ได้มีการจับมือทุกฝ่าย ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร ดิจิทัล เทคโนโลยี และธุรกิจบริการ มาร่วมกันคิดและสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจนะครับที่ใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาดนะครับ ทั้งตลาดใน ตลาดนอก อะไรก็แล้วแต่ เป็นโอกาสในการที่จะขยายธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ออกไปในวันข้างหน้าด้วย มันจะทำให้รายได้ประเทศสูงขึ้น เป็นการยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้มีการแข่งขันได้มากขึ้น อย่างที่เรากำหนดไว้เป็นวาระของเราเหมือนกันนะครับ ในการเข้ามาในครั้งนี้
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้น คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ นะครับ จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ เป็นแผนที่นำทาง ในการที่จะนำพาประเทศชาติให้มีรายได้สูงขึ้น เข้าสู่ประเทศที่มีการผลิต มีการจำหน่ายออกไปภายนอก ในด้านอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการเกษตรเหล่านี้ ประสิทธิภาพเราสูงอยู่แล้ว ที่สำคัญการดำเนินงานการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ความร่วมมือ ให้ทุกอย่างมันเริ่มต้น ต่างคนต่างเริ่มต้น มันก็เริ่มกันไม่เท่ากัน เพราะบางอาชีพสำเร็จแล้ว มีอาชีพไหนที่จะทำต่อ ขยายก็กลับไปทำต่อกัน ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่พัฒนา กี่ปี ๆ มันก็อยู่ที่เก่า ก็รอให้คนใหม่ทำขึ้นมา คนเก่า ไปไม่ออก ไปไม่เป็น
เพราะฉะนั้นผมว่ามันต้องทำแบบนี้ บางอย่างก็เอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมา เรียนรู้กันดู แบบที่เรียนได้ ก็ดูแบบให้รู้เรื่อง อย่ากลัว แต่อย่าไปมั่วกฎหมายเขาแล้วกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องตรงนี้เรื่องของกฎหมายนั้น มันสำคัญ ในเรื่องสำคัญก็คือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเทศ เขาพยายามที่จะใช้กฎหมายนี้คุ้มครองผลประโยชน์ของเขาทั้งหมด เราก็ต้องเรียมความพร้อมของเราด้วยในอนาคตนะครับ เพราะนอกจากผลงานวิจัยและพัฒนาแล้วนี่ เราได้นำออกมามากมายวันนี้ จะต้องไปเข้าสู่กระบวนการทำลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ ไม่งั้นวันหน้าผลิตออกไปแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง คนที่เอาไปก็ได้ประโยชน์ไป เราก็เสียหายนะครับ เพราะงั้นวันนี้เราจะต้องสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมานะครับ แล้วก็นำสู่กระบวนการ กฎหมายซึ่งมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประชาคมโลก พันธะสัญญาอีก หลายสิบฉบับนะ เพราะงั้นเอามาเป็นปัจจัยในการพิจารณาด้วยนะครับ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ในส่วนของการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อันนี้มันน่าจะต้องไปด้วยกันได้นะ เพราะประเทศไทยนั้นเป็นประเทศผลิตสินค้า ผลิตผลที่มาจากเกษตรกรรมมีเป็นจำนวนมาก ที่มันเหลือ เช่นข้าว ยาง อะไรเหล่านี้นะ เราสามารถเอาอุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยได้ ก็จะเพิ่มรายได้นะ แล้วก็ยึดโยงไปถึงชาวไร่ ชาวนา ด้วย ชาวสวน เพราะงั้นถ้าเราไม่ใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันก็ไปไม่ได้ เพราะทั่วโลกเขาใช้แล้ว ผมได้ยินว่าในระยะเวลาอันใกล้ ปี สองปี หรือไม่กี่ปีนี่ มันจะเป็นการปฏิวัติเศรษฐกิจโลกใหม่ ไปสู่ระยะที่สี่นะครับ ก็คือการที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ ใช้อะไรต่างๆ มันก็ต้องเตรียมเหมือนกันนะ เราก็ต้องเตรียม วันนี้ก็เป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 5 ที่เรากำลังส่งเสริม เพื่อจะเตรียมการสู่อนาคต
ขณะเดียวกันต้องเตรียมการไว้ด้วยนะครับว่าทำยังไง ในเมื่อใช้เครื่องมือใช้เครื่องจักร ใช้หุ่นยนต์มากขึ้น คนก็จะไม่มีงานทำมากขึ้น เราคงต้องมีทั้งสองอย่างนะครับ เพราะเรายังคงต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อย แล้วก็คนเราเยอะขึ้นๆ ทุกวัน วันนี้เกือบ 70 ล้านแล้ว เพราะงั้นเราจะทำ เน้นในเรื่องของความทันสมัยอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อยด้วย นี่ปัญหาถึงได้ไปสู่ว่าเราจะดูแลเขาอย่างไร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาอย่างไร ให้เขามีการเรียนรู้อย่างไร มีการพัฒนาตัวเองอย่างไร นั้นแหละครับถึงจะไม่มีปัญหาในอนาคต เดี๋ยวเราก็ติดกับตัวเองเข้าไปอีกแล้ว วันหน้าถ้าเราไม่ทำวันนี้นะครับ
ในส่วนของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เราก็อย่าไปละเมิดเขานะครับ เขาก็ไม่ควรละเมิดเรา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แต่อะไรที่ร่วมมือกันได้ก็ร่วมมือไปนะครับ ถ้าแย่งกันทำ เลียนแบบกัน ขโมยเขามา แล้วทำเองไม่ได้ มันเสียความเป็นสุภาพบุรุษด้วยนะคนไทย เราต้องรักษา การทำของเทียมเลียนแบบอะไรนี่เสียหายหมด ผมได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ไปจับกุมดำเนินคดีหมดแล้วนะ ในส่วนของของปลอม ทุกเรื่องเลย ปลอมได้หมด ไม่เข้าใจ ว่าทำไมถึงได้รับความนิยมสูงขนาดนั้น อย่าหลอกตัวเอง ใช้ของปลอม ก็ปลอมนะ แสดงว่าปลอมทั้งตัวมั้ง
การดาวน์โหลดหนังนี่ก็ยังมีขึ้นอยู่นะครับ ยังมีอยู่ ทุกอย่าง แอบทำกันหมดเจ้าหน้าที่ก็ต้องไม่ละเลย ไม่เลือกปฏิบัตินะครับ ไม่ทุจริต มันมีผลเสียหายนะครับ ของปลอมบางทีก็ทำให้สุขภาพเสียหาย ดูหนังก็อาจจะถูกนะ ราคาถูก ไม่ต้องเดินทางไม่ต้อง แต่หนังมันมองไม่เห็นนะ ตายิบๆ ตาเสียหมดนะ เด็กๆ ก็ตาเสียหาย วันนี้เด็กตาเสียเยอะเหมือนกัน เพราะว่าดูจอคอมพิวเตอร์ยังไง ตัวเล็ก ต้องให้พักผ่อนบ้าง เล่นเกมส์ทั้งวัน ไม่ได้ตาบอดวันหน้า นะเพราะเราต้องดูแลเหยื่อนะครับ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ของเขาของเราด้วย เป็นเรื่องของความถูกต้องศีลธรรมอันดี แล้วยังสร้างในเรื่องของวินัยทางการค้าและการลงทุน
วันนี้สถิติทุกอย่างถูกประเมินหมดนะครับ ทุกประเทศในโลกที่อยู่ในระดับต้นๆ นี่จะถูกประเมินเพราะจะต้องมาแข่งขันกันไง ใครดี ใครไม่ดี ใครปลอม ใครไม่ปลอม ใครละเมิดกฎหมาย นี่เป็นตัวที่จะสร้างความเชื่อมั่นในโลกใบนี้ในวันข้างหน้า วันนี้ด้วยนะครับ วันหน้าจะมากกว่านี้อีก กฎหมายจะเขียนเยอะขึ้นนะ เพราะงั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศนั้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงนะครับ จะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่นี่แหละ การขับเคลื่อน การพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง ผมพูดหลายครั้งเหลือเกิน ท่านคงจำได้บ้างไม่ได้บ้าง คนไทยต้องจำนานๆ นะ อย่าจำสั้นๆ ไม่ชอบฟังอะไรยาวๆ และจำน้อยๆ แล้วก็ลืม พยายามสร้างความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องหน่อย ผมก็ไม่ใช่เก่งอะไรมาหรอกนะครับ เพียงแต่ว่าผมทำเองก็เลยจำได้ ถ้าคนไม่สนใจเลย จะรอรับประโยชน์อย่างเดียว มันจะจำอะไรไม่ได้เลย รอว่าเมื่อไรจะได้สตางค์เท่านั้น ผิดถูกไม่ว่ากันอันนี้ไม่ได้ เราต้องระมัดระวังนะครับ การที่เราจะกำหนดอะไรมาเอง คิดอะไรมาเอง และทำโน้นได้ นี่ได้ ดูสัญญาของเขาด้วย ดูกฎหมายของประเทศด้วย WTO FTO ข้อตกลงเจรจาเยอะแยะไปหมด ถ้าเราทำไม่ดี เราอาจจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรนะครับ ไอ้เรื่องที่เราเสียสิทธิ GSP บ้าง หรือภาษี 0% บ้าง มันเป็นเรื่องของประเทศเราเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางนะครับ ซึ่งถูกตัดภาษีตัวนี้ออกไป การให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป ไม่ใช่เพราะผมเข้ามาหรอก เพราะเรามีรายได้ต่อหัว รายได้ GDP มันสูง อยู่ระดับกลาง แต่เราต้องมาดูว่า มันกลางจริงไม่จริง คนอยู่ตรงกลางจริงมันเท่าไร ไอ้ข้างล่างเท่าไร วันนี้เกือบ 40 ล้านรายได้น้อย มีทั้งเกษตรกร และเกษตรกรสัก 30 อีก 10 ผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ อาชีพรับจ้าง อิสระอะไรเหล่านี้นะ ทั้งหมดก็เกือบ 40 ล้าน วันนี้เรามี 67 ล้านมั้ง คิดเอาแล้วกันว่า คนจนเรามีเยอะไหมล่ะ มากกว่า 50 หรือเปล่า 50% หรือเปล่านะครับ ต้องช่วยกันนะครับ
เรื่องทางการแพทย์ วิวัฒนาการของเรา ซึ่งน่าชื่นชมนะครับ แพทย์เรา สาธารณสุขเราถือว่าดีที่สุดในอาเซียนเหมือนกันนะ ประเทศหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ดีที่สุด ไปเก่งกว่าเขามากก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องภูมิใจในพวกเราเองแล้วกัน ไม่ต้องไปคุยโอ้อวดกับใครหรอกครับ วันนี้โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้านะครับ โรงพยาบาลทหารนี่แหละของกรมแพทย์ทหารบกนะครับ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นี่ไงความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน นี่ส่วนสถานศึกษานะครับของจุฬาลงกรณ์ ก็ประสบความสำเร็จนะครับ การผ่าตัดใส่กระดูกเทียม ซึ่งผลิตจากโลหะไทเทเนียม ด้วยการพิมพ์ 3 มิติด้วยเครื่องซีทีสแกน เพื่อใส่ทดแทนกระดูกนิ้วหัวแม่มือ ที่ถูกทำลายจากมะเร็งเนื้องอกกระดูก เป็นรายแรกของโลกนะครับ น่าภูมิใจไหมล่ะ เป็นรายแรกของโลก
เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ นะครับ และข้อสำคัญก็คือ บรรดาพ่อแม่พี่น้องที่เป็นแรงงาน ที่ทำงานในโรงพยาบาลถูกเครื่องจักรกลตัดมือ ตัดนิ้ว ตัดแขนมา เหล่านี้มันต้องพัฒนากันตรงนี้ด้วยนะครับว่า วันหน้าจะทำยังไงให้แบบนี้ให้เขามีความสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเดิมได้ จะได้ไปทำงานได้เหมือนเดิมนะครับ ปัญหาคือราคาค่ารักษามันคงแพงหน่อยนะ จะทำยังไง ก็คงต้องมีการเริ่มต้นนะครับ ฝากสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขไปดูด้วยนะครับ อาจจะเป็นนำร่องสักเท่าไรไม่รู้นะ เป็นการกุศล สาธารณกุศลไปก่อน
อันนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทยนะครับ จะต้องจดสิทธิบัตรให้ได้โดยเร็ว เราจะช้าทุกทีไป ต้องรีบส่งนะครับ เขาจะให้เมื่อไหร่ ก็ถือว่าเราส่งไปแล้วนะ วันหน้า เขาจะได้ไม่บอกว่าเพิ่งส่ง ๆ เราต้องตามทุกเรื่องนะครับ ไม่ใช่สั่งไปแล้ว ไม่ตาม ไม่กำกับดูแล จัดตั้งไปแล้วไม่ควบคุม และไม่ใช่งาน มันก็พังทุกวัน ระบบมันก็เสียหมดทุกวัน ทำอะไรก็แล้วแต่มันต้องมีการเริ่ม ถ้าเริ่มก็เริ่มซะ เริ่มคือการจัดตั้ง จัดตั้งเสร็จต้อควบคุม ควบคุมในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทำงานยังไง ภารกิจอย่างไร แล้วใช้งานให้มันตรงกับวัตถุประสงค์ ทั้งงบประมาณ แผนงาน เพราะมันมีหลายหน่วยงานด้วยกัน ทำซ้ำซ้อนมันไม่เกิดประโยชน์ มันซ้ำซ้อนกันทางงบประมาณด้วยนะครับ แล้วข้อสำคัญคือต้องมีการประเมินผล งบประมาณ ความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลัก ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วนั้น ตรงความต้องการเขาหรือไม่ ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอธิบายเขานะครับ ไม่ใช่ต่างคนต่างปล่อยกันไป ทะเลาะกันอยู่ทุกวัน อันไหนต้องการก็ทำให้เขา อันไหนรัฐต้องไป รัฐต้องทำในส่วนที่ต้องเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ไม่ใช่พื้นที่ที่แต่ละท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว เขาได้อยู่แล้ว เขาทำอยู่แล้ว ถ้ารัฐไม่ไปเสริม ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น อำเภอนี้ อำเภอนู้น เรื่องน้ำ เรื่องต้นทาง ปลายทาง การปลูกพืช การพัฒนาอะไรแล้วแต่ คิดแบบนี้มันไปไม่ได้ มันซ้ำซ้อนกันหมด กลายเป็นรัฐลงไปทำในสิ่งที่รัฐต้องการ ที่เขาว่ากันไง ประชาชนต้องการอะไร ไม่สนใจ ไม่ได้ ก็แบ่งกันซิครับ ในส่วนนั้น ท้องถิ่นรู้อยู่แล้ว ให้เขาคิดมา
วันนี้ เราก็มีโครงการอะไรหล่ะ โครงการ 5 ล้านแรก ที่ให้ไปครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้กองทุนหมู่บ้านอีก อีกเท่าไหร่ ไม่เกิน 5 แสนบาท ใช่ไหม 79,000 กว่าหมู่บ้าน อันนี้ ก็ไม่เกิน 5 แสน ก็ไปทำในสิ่งของที่มันเกิดประโยชน์ในระยะยาว ไม่ใช่เอาไปแจกจ่าย ไม่ใช่ ทำอาชีพหนึ่งเพิ่มมูลค่า โรงสีขนาดเล็ก ลานตัดมัน ที่เก็บน้ำ ถนนหนทาง ทางผ่านสัญจร ทางอาหาร ธนาคารอะไรต่างๆ แล้วแต่ ธนาคารน้ำมันพืช ธนาคารผลิตผลต่างๆ ทางการเกษตร นั่นละไปทำ ต้องเสริมกัน 5 ล้าน กับ 5 แสน ต้องไปด้วยกัน และ 5 แสนหลังจะเร็ว เพราะอะไร ประชาชนคิดได้เลย ต้องการอะไรมีอยู่แล้ว มีอยู่ในความต้องการอยู่แล้วของกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยนะ ข้าราชการเขาทำให้เร็วนะครับ ไม่งั้นประกาศแล้วใช้ยาก ต้องเข้าใจระบบราชการด้วยนะ มันยาก เพราะขั้นตอนต้องเป็นอย่างนั้น มันแก้ไขไม่ได้ เพราะถ้าแก้ไขมันอาจนำไปสู่การไม่โปร่งใส เหมือนเดิม อาจทำได้ง่าย เขาไม่ค่อยตรวจมั้ง
และวันนี้ ขอแสดงความยินดีนะครับ ในเรื่องการไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่ขายของปลอมเหล่านี้ ถือว่าขอความร่วมมือนะครับ ใครที่ทำอยู่แล้ว คือไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ ไม่อุดหนุน ผมว่า เป็นวิธีการที่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกคนประหยัด ทรงรับสั่งความหมายคือว่า มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย บางคนมีน้อย ต้องระวังตัว มีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณ มีมาก จะใช้ให้มากกว่าเดิมต้องดูว่าเราจะใช้มากถึงเมื่อไหร่ เขาเรียกเตรียมภูมิคุ้มกัน ทั้งหมด และเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ถ้าไม่ใช้เงินกันเลย รอรัฐบาลอย่างเดียว รอลดภาษี ราคา มันก็ไปไม่ได้ทั้งหมดประเทศ ภาคการผลิตก็ผลิตไม่ได้ และจะขายใคร เงินจะมาที่ไหน ภาษีจะมาจากไหน คิดให้เป็นวงจรแบบนี้ ประชาชนต้องเรียนรู้นะครับ อย่าให้เขามาบิดเบือนให้ท่านไม่เข้าใจอีก วันนี้ ต้องเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นตัวแทนประชาชนชาวไทยนะครับ แสดงความยินดีกับผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 ท่าน 1 คือสาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ.นพ.มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ จากประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย และคิดค้นหลักการเครื่องรักษาหัวใจ ด้วยวิธีให้จังหวะ และ 2 สาขาการสาธารณสุข เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต จากสหราชอาณาจักร ด้วยผลงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา ที่เน้นสร้างความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และฐานะทางสังคม จนนำไปสู่การกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะของโลก ซึ่งนับว่าทั้งสองท่าน ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าแก่มวลมนุษยชนโดยรวม ของโลกนี้นะครับ ขอยกย่องคุณงามความดี และความวิริยะอุตสาหะของทั้งสองท่าน ใช้เวลายาวนานนะครับ กว่าจะประสบความสำเร็จในวันนี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ทั้งของโลก และของไทย ของอาเซียน ในการที่จะ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ให้พร้อมที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มวลมนุษยชาติ ให้กับโลกใบนี้นะครับในอนาคตครับ แล้วก็ขณะเดียวกันต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ