นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในงานแถลงข่าว รัฐ-ราษฎร์ร่วมใจรับมือภัยแล้งว่า ปีนี้ประสบภาวะแล้งรุนแรงใกล้เคียงกับปี 2537 ขณะที่สถานการณ์น้ำช่วงปี 2554 ประเทศไทยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ พร้อมกับมีปริมาณการปลูกข้าวค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาข้าวในตลาดดี ทำให้ใช้น้ำมาก โดยจากปริมาณน้ำใช้การได้ 18,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำออกใช้กว่า 14,000 จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่น้ำต้นทุนลดน้อยไปมาก
ด้านนายเชาวลิต ศิลปทอง รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า GISTDA ได้นำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้วิเคราะห์วางแผนจัดสรรน้ำสำหรับหน่วยงานราชการ และติดตามการปลูกข้าวนาปรัง พบว่าปี 2556-57 มีพื้นที่ปลูกข้าวสูงถึง 15 ล้านไร่ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรลดปลูกข้าวนาปรังมาพืชใช้น้ำน้อยแทน รวมถึงอาชีพเสริมอื่น ซึ่งสามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวได้จำนวนมาก โดยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลดพื้นที่ปลูกข้าว เหลือเพียงประมาณ 3 ล้านไร่
ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำ (ภาคการผลิต-เกษตร-อุตสาหกรรม) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การจัดการคุณภาพน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ (เทคนิค) นอกจากนี้ ยังได้วางแผนการใช้น้ำในลักษณะรายอำเภอ 928 อำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้ทราบปริมาณและความต้องการใช้น้ำแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ของประเทศต่อไป
ด้านนายเชาวลิต ศิลปทอง รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า GISTDA ได้นำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้วิเคราะห์วางแผนจัดสรรน้ำสำหรับหน่วยงานราชการ และติดตามการปลูกข้าวนาปรัง พบว่าปี 2556-57 มีพื้นที่ปลูกข้าวสูงถึง 15 ล้านไร่ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรลดปลูกข้าวนาปรังมาพืชใช้น้ำน้อยแทน รวมถึงอาชีพเสริมอื่น ซึ่งสามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวได้จำนวนมาก โดยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลดพื้นที่ปลูกข้าว เหลือเพียงประมาณ 3 ล้านไร่
ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำ (ภาคการผลิต-เกษตร-อุตสาหกรรม) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การจัดการคุณภาพน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ (เทคนิค) นอกจากนี้ ยังได้วางแผนการใช้น้ำในลักษณะรายอำเภอ 928 อำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้ทราบปริมาณและความต้องการใช้น้ำแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ของประเทศต่อไป