นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทำให้หลายพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นร่วมกับมีฝนตก ส่งผลให้เด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยงเจ็บป่วยที่พบบ่อยคือ โรคไข้หวัดใหญ่และปอดบวม แต่ละปีพบผู้ป่วยประมาณ 200,000 คน เสียชีวิตปีละ 1,000 กว่าราย ในปี 2559 ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่?ต้นปีจนถึง 18 มกราคม 2559 พบผู้ป่วยทั้ง 2 โรครวมกันกว่า 8,000 คน โดยโรคไข้หวัดใหญ่พบผู้ป่วย 1,936 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต โรคปอดบวม พบผู้ป่วย 6,407 ราย เสียชีวิต 5 ราย ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันการเจ็บป่วย และขอให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษา รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาหลังการป่วย
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือเชื้อติดมากับมือ อาการของโรคมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ปวดศีรษะ อ่อยเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ ไข้มักเป็นอยู่ 2 – 4 วัน และค่อยๆ ลดลง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น การป้องกันการเจ็บป่วย ในช่วงฤดูหนาว ขอให้ประชาชน ยึดหลักสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ไม่อยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดี มีมลพิษ หรืออากาศเย็นจัดเป็นเวลานาน สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ อยู่ในบริเวณที่อบอุ่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย เช่น การดื่มเหล้าคลายหนาว การผิงไฟในที่อับอากาศถ่ายเทไม่สะดวก รวมทั้งการนำเสื้อกันหนาวมือสองที่ไม่ได้ทำความสะอาดมาใช้ เป็นต้น หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคและการเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยทั่วไป ขอให้ดื่มน้ำและพักผ่อนมากๆ ควรหยุดงาน หยุดเรียน อยู่บ้าน ถ้าต้องไปสถานที่สาธารณะหรือขึ้นรถโดยสาร ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หากป่วยเกิน 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงเหนื่อยมาก ให้รีบพบแพทย์ทันที กรณีของโรงเรียน หากมีเด็กป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้เด็กป่วยหยุดเรียน ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ติดเด็กคนอื่น และให้ดูแลรักษาความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำผงซักฟอกทั่วไป เชื้อโรคชนิดนี้จะอยู่ในอุณหภูมิทั่วไปได้เพียง 8 ชั่วโมง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอหรือจาม หรือเชื้อติดมากับมือ อาการของโรคมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก ปวดศีรษะ อ่อยเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ ไข้มักเป็นอยู่ 2 – 4 วัน และค่อยๆ ลดลง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น การป้องกันการเจ็บป่วย ในช่วงฤดูหนาว ขอให้ประชาชน ยึดหลักสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ไม่อยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดี มีมลพิษ หรืออากาศเย็นจัดเป็นเวลานาน สวมเสื้อผ้าหนาๆ ให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ อยู่ในบริเวณที่อบอุ่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย เช่น การดื่มเหล้าคลายหนาว การผิงไฟในที่อับอากาศถ่ายเทไม่สะดวก รวมทั้งการนำเสื้อกันหนาวมือสองที่ไม่ได้ทำความสะอาดมาใช้ เป็นต้น หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคและการเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยทั่วไป ขอให้ดื่มน้ำและพักผ่อนมากๆ ควรหยุดงาน หยุดเรียน อยู่บ้าน ถ้าต้องไปสถานที่สาธารณะหรือขึ้นรถโดยสาร ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หากป่วยเกิน 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงเหนื่อยมาก ให้รีบพบแพทย์ทันที กรณีของโรงเรียน หากมีเด็กป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้เด็กป่วยหยุดเรียน ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ติดเด็กคนอื่น และให้ดูแลรักษาความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำผงซักฟอกทั่วไป เชื้อโรคชนิดนี้จะอยู่ในอุณหภูมิทั่วไปได้เพียง 8 ชั่วโมง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422