ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปีเป็นช่วงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza) แต่ละปีพบผู้ป่วยประมาณ 40,000-120,000 คน เสียชีวิตประมาณ 200 กว่าคน โดยมีการระบาดปีละ 2 ระลอก คือต้นปีและกลางปี ข้อมูลองค์การอนามัยโลก(WHO) เดือนพฤศจิกายน 2558 รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่แนวโน้มลดลง มีบางประเทศที่มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ได้แก่ การ์ตาร์ บาห์เรน อินเดีย ลาวและไทย โดยข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2558 ประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1N1) หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 67,361 คน เสียชีวิต 27 ราย ยังไม่พบการระบาดรุนแรง พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน 2 เหตุการณ์ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และกาญจนบุรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือดําเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนถึงฤดูกาลระบาด ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ยุติธรรม ศึกษาธิการ วัฒนธรรม และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดทุกแห่ง ให้ดำเนินการดังนี้ 1.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ และประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หากพบการระบาดต้องรีบแจ้งเตือนโรงพยาบาลในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมการดูแลผู้ป่วยทันที 2.ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เฝ้าระวังโรคในชุมชนรวมทั้งให้คําแนะนําประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 3.ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง เน้นสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจํานวนมาก เช่น โรงเรียน ค่ายทหาร สถานประกอบการ การจัดกิจกรรมต่าง และ 4.เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดกรองและการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้นการให้ยาโอเซลทาร์มิเวียร์(Oseltamivir)ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงและกลุ่มเสี่ยง ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดทราบอย่างทั่วถึง และให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้แม้ไม่ได้รับวัคซีน โดยยึดหลักสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ไม่อยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง ไอ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.หญิงมีครรภ์ 2.เด็กเล็ก 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4.ผู้สูงอายุ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาทันทีป้องกันการเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยทั่วไป ควรหยุดงาน หยุดเรียน อยู่บ้าน ถ้าต้องไปสถานที่สาธารณะหรือขึ้นรถโดยสาร ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หากอาการรุนแรง เช่น หอบเหนื่อย ควรพบแพทย์ทันที ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือดําเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนถึงฤดูกาลระบาด ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ยุติธรรม ศึกษาธิการ วัฒนธรรม และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดทุกแห่ง ให้ดำเนินการดังนี้ 1.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ และประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หากพบการระบาดต้องรีบแจ้งเตือนโรงพยาบาลในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมการดูแลผู้ป่วยทันที 2.ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เฝ้าระวังโรคในชุมชนรวมทั้งให้คําแนะนําประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 3.ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง เน้นสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจํานวนมาก เช่น โรงเรียน ค่ายทหาร สถานประกอบการ การจัดกิจกรรมต่าง และ 4.เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดกรองและการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้นการให้ยาโอเซลทาร์มิเวียร์(Oseltamivir)ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงและกลุ่มเสี่ยง ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดทราบอย่างทั่วถึง และให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้แม้ไม่ได้รับวัคซีน โดยยึดหลักสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ไม่อยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน หากสงสัยป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง ไอ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.หญิงมีครรภ์ 2.เด็กเล็ก 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4.ผู้สูงอายุ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาทันทีป้องกันการเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยทั่วไป ควรหยุดงาน หยุดเรียน อยู่บ้าน ถ้าต้องไปสถานที่สาธารณะหรือขึ้นรถโดยสาร ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หากอาการรุนแรง เช่น หอบเหนื่อย ควรพบแพทย์ทันที ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422