นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงความคืบหน้าการพิจารณาทบทวนร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ขณะนี้ที่ประชุม กรธ.ทบทวนถ้อยคำไปแล้ว 146 มาตรา ส่วนใหญ่มีการปรับลดมากกว่าเพิ่มจำนวนมาตรา รวมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะมีไม่เกิน 261 มาตราแน่นอน
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26-28 มกราคมนี้ กรธ.จะทำการประชุม ทั้งเช้าและบ่ายเพื่อพิจารณาทบทวนถ้อยคำรายมาตรา และบทเฉพาะกาลให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า ก่อนเปิดเผยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 29 มกราคมต่อไป โดยวันนี้ กรธ.ได้ทำการทบทวนในหมวดรัฐสภา ในส่วน ส.ส. ส.ว. และบทที่ใช้แก่สองสภา โดย กรธ.ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้ง และเลื่อนวันเลือกตั้งได้ โดยให้การประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้มีการเลือกตั้งไม่ต้องระบุวันที่ เพื่อให้ กกต.มีความคล่องตัวหากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนเลือกตั้ง จะได้ไม่ต้องตรา พ.ร.ฎ.ใหม่
ส่วนคุณสมบัติต้องห้ามของ ส.ว.ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่า ห้ามตุลาการศาล และกรรมการองค์กรอิสระ เข้ารับการสรรหา ส.ว. สำหรับอำนาจสอบสวนข้อเท็จจริง ก็กำหนดให้คณะกรรมาธิการเท่านั้นที่มีอำนาจเรียกตัวบุคคลเข้าชี้แจง ส่วนกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ได้ลดระดับจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็น พ.ร.บ.ทั่วไปให้รัฐบาลเลือกตั้งเป็นคนกำหนดเนื้อหาเอง
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26-28 มกราคมนี้ กรธ.จะทำการประชุม ทั้งเช้าและบ่ายเพื่อพิจารณาทบทวนถ้อยคำรายมาตรา และบทเฉพาะกาลให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า ก่อนเปิดเผยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 29 มกราคมต่อไป โดยวันนี้ กรธ.ได้ทำการทบทวนในหมวดรัฐสภา ในส่วน ส.ส. ส.ว. และบทที่ใช้แก่สองสภา โดย กรธ.ได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้ง และเลื่อนวันเลือกตั้งได้ โดยให้การประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้มีการเลือกตั้งไม่ต้องระบุวันที่ เพื่อให้ กกต.มีความคล่องตัวหากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนเลือกตั้ง จะได้ไม่ต้องตรา พ.ร.ฎ.ใหม่
ส่วนคุณสมบัติต้องห้ามของ ส.ว.ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่า ห้ามตุลาการศาล และกรรมการองค์กรอิสระ เข้ารับการสรรหา ส.ว. สำหรับอำนาจสอบสวนข้อเท็จจริง ก็กำหนดให้คณะกรรมาธิการเท่านั้นที่มีอำนาจเรียกตัวบุคคลเข้าชี้แจง ส่วนกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ได้ลดระดับจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็น พ.ร.บ.ทั่วไปให้รัฐบาลเลือกตั้งเป็นคนกำหนดเนื้อหาเอง