การประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. นอกสถานที่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เข้าสู่วันที่หก โดยวันนี้ (16 ม.ค.) ยังคงพิจารณาต่อที่หมวด 10 ว่าด้วยศาล
สำหรับความคืบหน้าการพิจารณาทบทวนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราขณะนี้ ที่ประชุมได้ทบทวนไปแล้ว 230 มาตรา จากจำนวนทั้งสิ้น 261 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการองค์กรอิสระที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมและกล้าหาญ โดยในส่วนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดให้มีจำนวน 9 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี โดยอำนาจหน้าที่ยังยืนยันหลักการเดิมตาม แต่ได้เพิ่มบทบัญญัติว่า หาก ป.ปช.รับคำร้องแล้วจะมีเวลาไต่สวน 1 ปี แต่สามารถขยายเวลาการทำงานได้ครั้งละ 4 เดือน รวมกันไม่เกิน 2 ปี
ในส่วนของ กกต. กำหนดให้มีกรรมการเพิ่มขึ้นเป็น 7 คน จากเดิม 5 คน โดยใช้วิธีการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจำนวน 5 คน และอีก 2 คน มาจากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ หรืออธิบดี หรืออัยการ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี และเพียงวาระเดียว ให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม
นอกจากนี้ กรธ. ยังกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 8 ปี ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ และไม่มีผลย้อนหลังกับผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ โดย กรธ.ให้เหตุผลว่า เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนานักการเมืองให้ขึ้นมารับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน การพิจารณาทบทวนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็เสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่วางไว้ ก่อนนำเผยแพร่ต่อประชาชน ในวันที่ 29 มกราคมนี้
สำหรับความคืบหน้าการพิจารณาทบทวนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราขณะนี้ ที่ประชุมได้ทบทวนไปแล้ว 230 มาตรา จากจำนวนทั้งสิ้น 261 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการองค์กรอิสระที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมและกล้าหาญ โดยในส่วนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดให้มีจำนวน 9 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี โดยอำนาจหน้าที่ยังยืนยันหลักการเดิมตาม แต่ได้เพิ่มบทบัญญัติว่า หาก ป.ปช.รับคำร้องแล้วจะมีเวลาไต่สวน 1 ปี แต่สามารถขยายเวลาการทำงานได้ครั้งละ 4 เดือน รวมกันไม่เกิน 2 ปี
ในส่วนของ กกต. กำหนดให้มีกรรมการเพิ่มขึ้นเป็น 7 คน จากเดิม 5 คน โดยใช้วิธีการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจำนวน 5 คน และอีก 2 คน มาจากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ หรืออธิบดี หรืออัยการ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี และเพียงวาระเดียว ให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม
นอกจากนี้ กรธ. ยังกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 8 ปี ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ และไม่มีผลย้อนหลังกับผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ โดย กรธ.ให้เหตุผลว่า เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนานักการเมืองให้ขึ้นมารับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน การพิจารณาทบทวนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็เสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่วางไว้ ก่อนนำเผยแพร่ต่อประชาชน ในวันที่ 29 มกราคมนี้