ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงไปต่ำกว่าระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า วิกฤตราคาน้ำมันอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงาน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและจีน รวมถึงรายงานยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนของจีนที่ชะลอตัวลง และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ลงของสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,988.08 จุด ร่วงลง 390.97 จุด หรือ -2.39% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,488.42 จุด ลดลง 126.59 จุด หรือ -2.74% และดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 1,880.33 จุด ลดลง 41.51 จุด หรือ -2.16%
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงทั้งสิ้น 2.2% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับลง 2.2% เช่นกัน ส่วนดัชนี NASDAQ ร่วงลง 3.3%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงหลุดจากระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ อันเป็นผลมาจากความกังวลที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจพุ่งสูงเกินไป หากอิหร่านเริ่มกลับมาส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติมหาอำนาจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
นักลงทุนกังวลว่า การร่วงลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโลแห่งเวเนซุเอลาประกาศภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ หลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนัก โดยเวเนซุเอลาเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่กำลังทรุดตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและสหรัฐ โดยเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนในเดือนธ.ค.อยู่ที่ระดับ 5.978 แสนล้านหยวน (9.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งลดลงจาก 7.089 แสนล้านหยวนในเดือนพ.ย.
ส่วนข้อมูลในฝั่งสหรัฐนั้น การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลง 0.4% ในเดือนธ.ค. โดยร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ดิ่งลง และสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติ ขณะที่ยอดค้าปลีกลดลง 0.1% ในเดือนธ.ค.2015 สู่ระดับ 4.481 แสนล้านดอลลาร์ และดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ยังคงอยู่ในภาวะหดตัวเป็นเดือนที่ 6 เพราะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์, การลดการใช้จ่ายทุน และอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบ โดยหุ้นเชฟรอน คอร์ป ดิ่งลง 2.11% หุ้นเอ็กซอน โมบิล ปรับลงราว 1% ขณะที่วิลเลียมส์ คอส ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ร่วงลงเกือบ 18%
หุ้นที่ต้องพึ่งพาอุปสงค์ผู้บริโภคอ่อนแรงลงเช่นกัน โดยหุ้นโฮม ดีโปท์ ร่วงลง 4.8% หุ้นเน็ทฟลิกซ์ ดิ่งลง 8.6% หุ้นอินเทลร่วงลง 8.9% ขณะที่หุ้นกลุ่มรถยนต์ปรับตัวลงด้วย โดยหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ และหุ้นเดลฟี ออโตโมทีฟ ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 5%
หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลง แม้ว่าธนาคารรายใหญ่หลายแห่งรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดก็ตาม โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วงลง 6.4% แม้ว่าธนาคารเปิดเผยกำไรพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.34 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.02 ดอลลาร์/หุ้น ในไตรมาส 4 เทียบกับระดับเพียง 344 ล้านดอลลาร์ หรือ 6 เซนต์/หุ้นในช่วงเดียวกันของปี 2014 ขณะที่หุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ร่วงลง 2% แม้ว่าทางธนาคารเปิดเผยกำไรพุ่งขึ้น 9% ในไตรมาส 4 ของปี 2015 เมื่อเทียบรายปี
หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอ่อนแรงลงเช่นกัน โดยหุ้นโบอิ้ง ร่วงลง 2.9% หุ้นนอร์ฟอล์ค เซาเทิร์น คอร์ป ปรับตัวลง 3% และหุ้นยูเนียน แปซิฟิก ดิ่งลงกว่า 3.1%
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,988.08 จุด ร่วงลง 390.97 จุด หรือ -2.39% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,488.42 จุด ลดลง 126.59 จุด หรือ -2.74% และดัชนีเอสแอนด์พี500 ปิดที่ 1,880.33 จุด ลดลง 41.51 จุด หรือ -2.16%
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงทั้งสิ้น 2.2% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับลง 2.2% เช่นกัน ส่วนดัชนี NASDAQ ร่วงลง 3.3%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงหลุดจากระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ อันเป็นผลมาจากความกังวลที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจพุ่งสูงเกินไป หากอิหร่านเริ่มกลับมาส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติมหาอำนาจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
นักลงทุนกังวลว่า การร่วงลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโลแห่งเวเนซุเอลาประกาศภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ หลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนัก โดยเวเนซุเอลาเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่กำลังทรุดตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและสหรัฐ โดยเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนในเดือนธ.ค.อยู่ที่ระดับ 5.978 แสนล้านหยวน (9.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งลดลงจาก 7.089 แสนล้านหยวนในเดือนพ.ย.
ส่วนข้อมูลในฝั่งสหรัฐนั้น การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลง 0.4% ในเดือนธ.ค. โดยร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ดิ่งลง และสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติ ขณะที่ยอดค้าปลีกลดลง 0.1% ในเดือนธ.ค.2015 สู่ระดับ 4.481 แสนล้านดอลลาร์ และดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ยังคงอยู่ในภาวะหดตัวเป็นเดือนที่ 6 เพราะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์, การลดการใช้จ่ายทุน และอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบ โดยหุ้นเชฟรอน คอร์ป ดิ่งลง 2.11% หุ้นเอ็กซอน โมบิล ปรับลงราว 1% ขณะที่วิลเลียมส์ คอส ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ร่วงลงเกือบ 18%
หุ้นที่ต้องพึ่งพาอุปสงค์ผู้บริโภคอ่อนแรงลงเช่นกัน โดยหุ้นโฮม ดีโปท์ ร่วงลง 4.8% หุ้นเน็ทฟลิกซ์ ดิ่งลง 8.6% หุ้นอินเทลร่วงลง 8.9% ขณะที่หุ้นกลุ่มรถยนต์ปรับตัวลงด้วย โดยหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ และหุ้นเดลฟี ออโตโมทีฟ ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 5%
หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลง แม้ว่าธนาคารรายใหญ่หลายแห่งรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดก็ตาม โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วงลง 6.4% แม้ว่าธนาคารเปิดเผยกำไรพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.34 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.02 ดอลลาร์/หุ้น ในไตรมาส 4 เทียบกับระดับเพียง 344 ล้านดอลลาร์ หรือ 6 เซนต์/หุ้นในช่วงเดียวกันของปี 2014 ขณะที่หุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ร่วงลง 2% แม้ว่าทางธนาคารเปิดเผยกำไรพุ่งขึ้น 9% ในไตรมาส 4 ของปี 2015 เมื่อเทียบรายปี
หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอ่อนแรงลงเช่นกัน โดยหุ้นโบอิ้ง ร่วงลง 2.9% หุ้นนอร์ฟอล์ค เซาเทิร์น คอร์ป ปรับตัวลง 3% และหุ้นยูเนียน แปซิฟิก ดิ่งลงกว่า 3.1%