เภสัชกร ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และในฐานะโฆษก (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวการเสียชีวิตของหญิงสาวรายหนึ่งจากการฉีดยาสลายไขมันหน้าท้องจากบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ แต่มีการให้บริการทางความงามตามสถานที่ต่างๆ โดยหิ้วกระเป๋าอุปกรณ์ไปฉีดให้ถึงที่ หรือที่เรียกว่าหมอกระเป๋านั้น อย.ขอชี้แจงว่า อย.ยังไม่เคยรับขึ้นทะเบียนตำรับยาผลิตภัณฑ์ฉีดสลายไขมันหน้าท้องแต่อย่างใด การที่ผลิตภัณฑ์ใดจะได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจะต้องผ่านการพิจารณาในด้านการควบคุณคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของยา ต้องผ่านการตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักวิชาและข้อกำหนดตามกฎหมาย
ทั้งนี้ มีผู้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นเวชสำอาง ซึ่งไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เนื่องจากการจัดแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพในกรณีนี้ หากไม่ใช่ยา ต้องอยู่ในประเภท เครื่องสำอาง ไม่มีกลุ่มของเวชสำอาง และโดยความหมายของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ที่ระบุว่า เครื่องสำอาง เป็นวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ หรือป้องกันดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สลายไขมันซึ่งใช้วิธีฉีดเข้าสู่ร่างกายจึงไม่สามารถเป็นเครื่องสำอางได้
สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนใหญ่จะพบเป็นการลักลอบนำเข้ามาใช้และนำมาโฆษณาขายและฉีดในราคาถูก ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เนื่องจากเป็นการฉีดสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีการต้านสารแปลกปลอมนั้น อาจทำให้เกิดการแพ้ขั้นรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงขอเตือนผู้บริโภค โดยเฉพาะหญิงสาวที่รักสวยรักงาม อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริง ในสื่อออนไลน์ และระวังอย่าตกเป็นเหยื่อหมอเถื่อนหมอกระเป๋า
หากผู้บริโภครายใดมีความประสงค์จะฉีดสารใดๆ เพื่อเสริมความงาม ควรเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการสถานพยาบาล หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริงผ่านสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ทั้งนี้ มีผู้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นเวชสำอาง ซึ่งไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เนื่องจากการจัดแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพในกรณีนี้ หากไม่ใช่ยา ต้องอยู่ในประเภท เครื่องสำอาง ไม่มีกลุ่มของเวชสำอาง และโดยความหมายของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ที่ระบุว่า เครื่องสำอาง เป็นวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ หรือป้องกันดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สลายไขมันซึ่งใช้วิธีฉีดเข้าสู่ร่างกายจึงไม่สามารถเป็นเครื่องสำอางได้
สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนใหญ่จะพบเป็นการลักลอบนำเข้ามาใช้และนำมาโฆษณาขายและฉีดในราคาถูก ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เนื่องจากเป็นการฉีดสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีการต้านสารแปลกปลอมนั้น อาจทำให้เกิดการแพ้ขั้นรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงขอเตือนผู้บริโภค โดยเฉพาะหญิงสาวที่รักสวยรักงาม อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริง ในสื่อออนไลน์ และระวังอย่าตกเป็นเหยื่อหมอเถื่อนหมอกระเป๋า
หากผู้บริโภครายใดมีความประสงค์จะฉีดสารใดๆ เพื่อเสริมความงาม ควรเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการสถานพยาบาล หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริงผ่านสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป