สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลให้ความต้องการพลังงานในประเทศจีนซบเซาลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นอีกหากอิหร่านเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันในเร็วๆนี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 1.75 ดอลลาร์ หรือ 5.3% ปิดที่ 31.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2003
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ที่ตลาดลอนดอน ดิ่งลง 2 ดอลลาร์ หรือ 6% ปิดที่ 31.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2004
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงซบเซา เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลให้อุปสงค์พลังงานในประเทศจีนอ่อนแรงลงด้วย
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลต่อรายงานที่ว่า อิหร่านจะกลับมาเดินหน้าส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
บริษัทซาอุดิ อาระเบียน ออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ประกาศปรับลดราคาน้ำมันดิบสำหรับลูกค้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปลงบาร์เรลละ 0.60 ดอลลาร์ และลดราคา 0.20 ดอลลาร์สำหรับลูกค้าในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับงวดส่งมอบเดือนก.พ.
ผู้เชี่ยวชาญของอิหร่านมองว่า การกระทำของซาอุดิอาระเบียเป็นการแข่งขันกับอิหร่าน ซึ่งกำลังกลับเข้าขายน้ำมันในตลาดโลก หลังชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
โกลด์แมน แซคส์คาดว่า ราคาน้ำมันมีโอกาสดิ่งลงแตะระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรล และหากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลงในไตรมาส 1 ก็จะส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันปรับลดงบลงทุนเพื่อสะท้อนถึงคาดการณ์ราคาน้ำมันที่ระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลในปีนี้
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมัน แม้มีปริมาณน้ำมันจำนวนมากในตลาดก็ตาม
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 1.75 ดอลลาร์ หรือ 5.3% ปิดที่ 31.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2003
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ที่ตลาดลอนดอน ดิ่งลง 2 ดอลลาร์ หรือ 6% ปิดที่ 31.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2004
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงซบเซา เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลให้อุปสงค์พลังงานในประเทศจีนอ่อนแรงลงด้วย
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลต่อรายงานที่ว่า อิหร่านจะกลับมาเดินหน้าส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
บริษัทซาอุดิ อาระเบียน ออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ประกาศปรับลดราคาน้ำมันดิบสำหรับลูกค้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปลงบาร์เรลละ 0.60 ดอลลาร์ และลดราคา 0.20 ดอลลาร์สำหรับลูกค้าในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับงวดส่งมอบเดือนก.พ.
ผู้เชี่ยวชาญของอิหร่านมองว่า การกระทำของซาอุดิอาระเบียเป็นการแข่งขันกับอิหร่าน ซึ่งกำลังกลับเข้าขายน้ำมันในตลาดโลก หลังชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
โกลด์แมน แซคส์คาดว่า ราคาน้ำมันมีโอกาสดิ่งลงแตะระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรล และหากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลงในไตรมาส 1 ก็จะส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันปรับลดงบลงทุนเพื่อสะท้อนถึงคาดการณ์ราคาน้ำมันที่ระดับ 40 ดอลลาร์/บาร์เรลในปีนี้
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมัน แม้มีปริมาณน้ำมันจำนวนมากในตลาดก็ตาม