สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (5 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านจะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือของชาติอาหรับในความพยายามที่จะหนุนราคาน้ำมันขึ้น นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 79 เซนต์ หรือ 2.2% ปิดที่ 35.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 80 เซนต์ หรือ 2.2% ปิดที่ 36.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
นอกจากนี้ ธนาคารเอเอ็นแซดออกรายงานระบุว่า ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านจะยิ่งเป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมัน เนื่องจากจะทำลายความร่วมมือของชาติอาหรับในความพยายามผลักดันราคาน้ำมันขึ้นด้วยการลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันจะยังคงมีแนวโน้มที่ซบเซาต่อไป
รายงานระบุว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะทำให้ภาวะน้ำมันล้นตลาดยิ่งมีความรุนแรงขึ้นในปีนี้ ขณะที่อิหร่านจะกลับมาเดินหน้าส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
ขณะนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ผลิตน้ำมันเกินโควต้าราว 1 ล้านบาร์เรลในแต่ละวัน แม้ว่าราคาน้ำมันได้ดิ่งลงกว่า 60% นับตั้งแต่กลางปี 2557
นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ เวลา 22.30 น.ตามเวลาไทย
ส่วนในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 487.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 1 ล้านบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 79 เซนต์ หรือ 2.2% ปิดที่ 35.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ. ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 80 เซนต์ หรือ 2.2% ปิดที่ 36.42 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
นอกจากนี้ ธนาคารเอเอ็นแซดออกรายงานระบุว่า ความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านจะยิ่งเป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมัน เนื่องจากจะทำลายความร่วมมือของชาติอาหรับในความพยายามผลักดันราคาน้ำมันขึ้นด้วยการลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาน้ำมันจะยังคงมีแนวโน้มที่ซบเซาต่อไป
รายงานระบุว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะทำให้ภาวะน้ำมันล้นตลาดยิ่งมีความรุนแรงขึ้นในปีนี้ ขณะที่อิหร่านจะกลับมาเดินหน้าส่งออกน้ำมัน หลังจากที่ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร
ขณะนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ผลิตน้ำมันเกินโควต้าราว 1 ล้านบาร์เรลในแต่ละวัน แม้ว่าราคาน้ำมันได้ดิ่งลงกว่า 60% นับตั้งแต่กลางปี 2557
นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันนี้ เวลา 22.30 น.ตามเวลาไทย
ส่วนในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 487.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 1 ล้านบาร์เรล