สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (21 ธ.ค.) ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ขยับขึ้น 1 เซนต์ ปิดที่ 34.73 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 53 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 36.35 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันยังคงซบเซา เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากเบเกอร์ ฮิวจ์ บริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน รายงานว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐที่มีการใช้งาน ได้เพิ่มขึ้น 17 แท่น สู่ระดับ 541 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรก หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมา 4 สัปดาห์
ด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่ม 12,000 บาร์เรล แตะระดับ 9.176 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาด 4.8 ล้านบาร์เรลในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ธ.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ข้อมูลดังกล่าวเป็นปัจจัยฉุดตลาด เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าบริษัทน้ำมันของสหรัฐไม่ได้ลดการผลิต แม้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงก็ตาม
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ลงนามในกฎหมายเพื่อยกเลิกข้อห้ามส่งออกน้ำมันสหรัฐ ที่มีการบังคับใช้มานาน 40 ปี
โกลด์แมน แซค คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะต้องทรุดตัวลงแตะระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรลเพื่อทำให้กลุ่มผู้ผลิตปรับลดกำลังการผลิต
ทั้งนี้ กล่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังคงไม่มีแนวโน้มปรับลดกำลังการผลิต แต่ชาติสมาชิกกลับเร่งส่งออกมากขึ้นเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ผลผลิตน้ำมันของโอเปกพุ่งขึ้นมากกว่า 31.5 ล้านบาร์เรล/วัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ขยับขึ้น 1 เซนต์ ปิดที่ 34.73 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 53 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 36.35 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันยังคงซบเซา เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากเบเกอร์ ฮิวจ์ บริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน รายงานว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐที่มีการใช้งาน ได้เพิ่มขึ้น 17 แท่น สู่ระดับ 541 แท่นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรก หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมา 4 สัปดาห์
ด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่ม 12,000 บาร์เรล แตะระดับ 9.176 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาด 4.8 ล้านบาร์เรลในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ธ.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ข้อมูลดังกล่าวเป็นปัจจัยฉุดตลาด เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าบริษัทน้ำมันของสหรัฐไม่ได้ลดการผลิต แม้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงก็ตาม
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ลงนามในกฎหมายเพื่อยกเลิกข้อห้ามส่งออกน้ำมันสหรัฐ ที่มีการบังคับใช้มานาน 40 ปี
โกลด์แมน แซค คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะต้องทรุดตัวลงแตะระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรลเพื่อทำให้กลุ่มผู้ผลิตปรับลดกำลังการผลิต
ทั้งนี้ กล่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังคงไม่มีแนวโน้มปรับลดกำลังการผลิต แต่ชาติสมาชิกกลับเร่งส่งออกมากขึ้นเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ผลผลิตน้ำมันของโอเปกพุ่งขึ้นมากกว่า 31.5 ล้านบาร์เรล/วัน