พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ได้เสนอญัตติการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุข ต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) ที่จะพิจารณาในวันพรุ่งนี้ (12 ม.ค.) โดยรายชื่อของคณะกรรมาธิการ 24 คนจะชัดเจนในวันพรุ่งนี้ ประกอบด้วยสมาชิก สนช. 14 คน และคนนอก 10 คน ที่มาจากฝ่ายที่มีความเห็นต่าง เพื่อร่วมกันหาแนวทางสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมในภาพรวม ไม่เพียงแค่เรื่องการเมืองเท่านั้น เบื้องต้นในส่วนของ สนช.ได้กำหนดตัวบุคคลไว้ครบแล้ว ขณะที่คนนอกอีก 10 คนก็ได้ส่งรายชื่อมาครบแล้วเช่นกัน แต่ไม่ขอเปิดเผย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเป็นระดับแกนนำที่เป็นที่รู้จัก
ทั้งนี้ การทำงานของกรรมาธิการฯ จะก้าวข้ามความปรองดอง เพราะการเสริมสร้างสันติสุขเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า เป็นการเปิดเวทีเพื่อนำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยกันแบบไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งต่างจากการพูดคุยเมื่อปี 2553 ที่นำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยผ่านสื่อ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ มองว่าเป็นความเห็นต่างที่เป็นสีสัน และพร้อมนำทุกความเห็นมาพิจารณา อีกทั้งการทำงานของกรรมาธิการฯ ไม่ใช่การยื้อเวลาความสามัคคี ส่วนที่เริ่มมีผลการศึกษาเรื่องการสร้างความปรองดองของคณะทำงานหลายชุดที่ผ่านมา เห็นว่าก็ยังไม่เคยถูกนำมาสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งเรื่องนี้จะรอช้าไม่ได้
นอกจากนี้ นายอกนิษฐ์ กล่าวด้วยว่า การทำงานของกรรมาธิการฯ ยังไม่ได้ตั้งธง แต่จะหารือร่วมกันก่อนว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไร ส่วนแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา และมองว่าการนิรโทษกรรมไม่ใช่หลักประกันว่าจะทำให้เกิดความสามัคคีได้หรือไม่ หากที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบญัตติในสัปดาห์นี้ จะเชิญผู้มีรายชื่อในกรรมาธิการฯ มาประชุมนัดแรกทันทีในวันที่ 15 มกราคมนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และเลือกประธาน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ สำหรับกรอบเวลาการทำงานกำหนดไว้ 180 วัน หากไม่เพียงพอ สามารถขยายกรอบเวลาได้
ทั้งนี้ การทำงานของกรรมาธิการฯ จะก้าวข้ามความปรองดอง เพราะการเสริมสร้างสันติสุขเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า เป็นการเปิดเวทีเพื่อนำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยกันแบบไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งต่างจากการพูดคุยเมื่อปี 2553 ที่นำคู่ขัดแย้งมาพูดคุยผ่านสื่อ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ มองว่าเป็นความเห็นต่างที่เป็นสีสัน และพร้อมนำทุกความเห็นมาพิจารณา อีกทั้งการทำงานของกรรมาธิการฯ ไม่ใช่การยื้อเวลาความสามัคคี ส่วนที่เริ่มมีผลการศึกษาเรื่องการสร้างความปรองดองของคณะทำงานหลายชุดที่ผ่านมา เห็นว่าก็ยังไม่เคยถูกนำมาสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งเรื่องนี้จะรอช้าไม่ได้
นอกจากนี้ นายอกนิษฐ์ กล่าวด้วยว่า การทำงานของกรรมาธิการฯ ยังไม่ได้ตั้งธง แต่จะหารือร่วมกันก่อนว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไร ส่วนแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา และมองว่าการนิรโทษกรรมไม่ใช่หลักประกันว่าจะทำให้เกิดความสามัคคีได้หรือไม่ หากที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบญัตติในสัปดาห์นี้ จะเชิญผู้มีรายชื่อในกรรมาธิการฯ มาประชุมนัดแรกทันทีในวันที่ 15 มกราคมนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และเลือกประธาน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ สำหรับกรอบเวลาการทำงานกำหนดไว้ 180 วัน หากไม่เพียงพอ สามารถขยายกรอบเวลาได้