นายเดชรัฐ สิมสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า การแก้ไขปัญหายางพาราต้องแก้เป็นระบบ จังหวัดได้จัดเป็น 2 ชุดในการแก้ปัญหายางพารา คือ คณะกรรมการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเลขา คือ เกษตรจังหวัดและคณะกรรมบริหารโครงการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งปัญหาขณะนี้ราคายาง ต้นทุนการปลูกยาง สูงกว่าราคาขาย โดยอยู่ที่ประมาณ 4 กิโลกรัม100 บาท ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริง และจากการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าเกิดจากการผันผวนของหุ้น เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราของจีนเอง รวมทั้งปริมาณยางของระดับโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินหยวนอ่อนค่าลง แต่น้ำมันกลับถูกลง ทำให้ค่าของยางต่ำกว่าความเป็นจริง ในส่วนของจังหวัดตรัง ได้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร 1 คือ เงินช่วยเหลือของรัฐบาล ไร่ละ 1,500 บาท อยู่ที่ขั้นตอนการตรวจสอบและจ่ายแล้วกว่า 3 ล้านบาท
ส่วนที่ 2 ในข้อเสนอการแก้ไขปัญหายางทั้งหมด ทั้งเรื่องตั้งนิคมอุตสาหกรรมยาง การทำอุตสาหกรรมล้อรถยนต์แห่งชาติ หรือโรงงานเกี่ยวกับการแปรรูปยางทั้งหลาย เป็นนโยบายที่ตนเองเห็นด้วย ทางรัฐบาลก็เห็นด้วย แต่ขั้นตอนในการทำค่อนข้างล่าช้าเพราะมีหลายปัจจัย ทั้งเทคโนโลยี ต้องอาศัยต่างประเทศ และต้องดึงต่างประเทศมาลงทุน จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย นอกจากจะผ่านกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีกฎระเบียบที่เพิ่มเติมมาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงทำให้การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยากขึ้น รวมทั้งการประกาศผังเมืองรวมยิ่งทำให้บางพื้นที่ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางไม่ได้ แม้แต่อุตสาหกรรมในครัวเรือน โอทอปต่างๆ ซึ่งได้พยายามแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย
ส่วนสำคัญคือเร่งปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนได้ใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชาวสวนยางหันมาปลูกพืชอื่นๆ ผสมผสาน เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ในสวนยางด้วย เพื่อให้ครอบครัวมีกินมีใช้ก่อน โดยมีโครงการ 2 โครงด้วยกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ถึง 100 โรงเรียน และมีครอบครัวชาวสวนยางตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ถึง 2,000 ครอบครัว ได้เป็นตัวอย่างปลุกจิตสำนึกให้กับชาวสวนยาง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่อยากกินในสวนยาง กินทุกอย่างที่ปลูก รวมทั้งเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงมาแล้วให้มีกินมีใช้ ในครัวเรือน เหลือจากนั้นขาย
ส่วนที่ 2 ในข้อเสนอการแก้ไขปัญหายางทั้งหมด ทั้งเรื่องตั้งนิคมอุตสาหกรรมยาง การทำอุตสาหกรรมล้อรถยนต์แห่งชาติ หรือโรงงานเกี่ยวกับการแปรรูปยางทั้งหลาย เป็นนโยบายที่ตนเองเห็นด้วย ทางรัฐบาลก็เห็นด้วย แต่ขั้นตอนในการทำค่อนข้างล่าช้าเพราะมีหลายปัจจัย ทั้งเทคโนโลยี ต้องอาศัยต่างประเทศ และต้องดึงต่างประเทศมาลงทุน จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย นอกจากจะผ่านกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีกฎระเบียบที่เพิ่มเติมมาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงทำให้การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยากขึ้น รวมทั้งการประกาศผังเมืองรวมยิ่งทำให้บางพื้นที่ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางไม่ได้ แม้แต่อุตสาหกรรมในครัวเรือน โอทอปต่างๆ ซึ่งได้พยายามแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย
ส่วนสำคัญคือเร่งปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนได้ใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชาวสวนยางหันมาปลูกพืชอื่นๆ ผสมผสาน เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ในสวนยางด้วย เพื่อให้ครอบครัวมีกินมีใช้ก่อน โดยมีโครงการ 2 โครงด้วยกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ถึง 100 โรงเรียน และมีครอบครัวชาวสวนยางตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ถึง 2,000 ครอบครัว ได้เป็นตัวอย่างปลุกจิตสำนึกให้กับชาวสวนยาง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่อยากกินในสวนยาง กินทุกอย่างที่ปลูก รวมทั้งเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงมาแล้วให้มีกินมีใช้ ในครัวเรือน เหลือจากนั้นขาย