วันนี้ (5 ม.ค.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่าตามที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินหน้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จำนวน 3,831 โรง ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.2558 นั้นจากการดำเนินโครงการนี้ได้ 2 เดือน สพฐ.ได้สรุปข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานเชิงประจักษ์ พบว่า สถานศึกษามีความพร้อมในการบริหารจัดการอย่างเต็มศักยภาพ ร้อยละ 95.31 โรงเรียนจัดตารางเรียนกับกิจกรรมสอดคล้องกันร้อยละ 93.63 และมีการจัดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ร้อยละ 86.75
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า นักเรียนมีความสุข ตื่นตัวต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 96 ครูร่วมกิจกรรมกับนักเรียนได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 93 ชุมชนและหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 41ผู้ปกครองและชุมชนตื่นตัวให้ความสนใจกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ ร้อยละ 61 สำหรับปัญหาที่พบในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนนั้น ครูขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีเวลาจัดทำแผน ซึ่งเป็นปัญหาที่โรงเรียนสามารถแก้ไขได้เอง ส่วนปัญหานักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจนไม่มีสมาธิในการเรียนชั่วโมงปกตินั้น สถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรม และจัดให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อีกทั้งยังมีปัญหานักเรียนสับสนเวลาในการทำกิจกรรม ความแตกต่างระหว่างวัยในการทำกิจกรรมที่คละชั้น หรือ ครูไม่เพียงพอต่อกิจกรรม กิจกรรมที่จัดไม่ตรงกับความถนัดของครู รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า นักเรียนมีความสุข ตื่นตัวต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 96 ครูร่วมกิจกรรมกับนักเรียนได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 93 ชุมชนและหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 41ผู้ปกครองและชุมชนตื่นตัวให้ความสนใจกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ ร้อยละ 61 สำหรับปัญหาที่พบในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนนั้น ครูขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีเวลาจัดทำแผน ซึ่งเป็นปัญหาที่โรงเรียนสามารถแก้ไขได้เอง ส่วนปัญหานักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจนไม่มีสมาธิในการเรียนชั่วโมงปกตินั้น สถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรม และจัดให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อีกทั้งยังมีปัญหานักเรียนสับสนเวลาในการทำกิจกรรม ความแตกต่างระหว่างวัยในการทำกิจกรรมที่คละชั้น หรือ ครูไม่เพียงพอต่อกิจกรรม กิจกรรมที่จัดไม่ตรงกับความถนัดของครู รวมไปถึงปัญหาขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป