พล.ต.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับพื้นที่ จชต. เนื่องในโอกาสที่เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนครบรอบ 12 ปี โดยมีบางประเด็นที่มีเนื้อหาไม่ครบถ้วนในสาระสำคัญ จนอาจทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ได้แก่ แนวโน้มสถานการณ์ อาวุธปืน และงบประมาณ กอ.รมน. จึงขอชี้แจงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่สื่อมวลชนได้รายงานให้ทราบไปแล้วดังนี้
กรณีแนวโน้มสถานการณ์ด้านความมั่นคงในพื้นที่ จชต. มักจะเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเสมอในห้วงระยะเวลาแต่ละปี เช่นเดียวกับการคาดการณ์แนวโน้มด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อันถือเป็นการทำนายอนาคต ซึ่งอาจใกล้เคียงเป็นไปตามการคาดการณ์หรือเบี่ยงเบนไป ขึ้นกับปัจจัยเกื้อหนุน และปัจจัยฉุดรั้งหลายองค์ประกอบ สำหรับการคาดการณ์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงจะวิเคราะห์จากข้อมูลสถิติการเกิดเหตุการณ์ที่ผ่านมา กิจกรรมตามแผนงานที่จะส่งผลต่อสถานการณ์ รวมถึงความคาดหวัง และความพึงพอใจของประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ จชต. มาพิจารณาด้วย สำหรับในปี 2558 ต่อเนื่องถึงปี 2559 นี้ มีปัจจัยเชิงบวกมาให้การสนับสนุนที่มีค่าน้ำหนักสำคัญคือ กลุ่มภารกิจงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ที่ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความเห็นชอบจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ดังนั้นสถานการณ์ด้านความมั่นคงในพื้นที่ จชต. ปีต่อไป จึงอาจคาดการณ์แนวโน้มได้ว่า น่าจะเกิดพัฒนาการของการแก้ไขปัญหาที่มีความก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไม่ได้สะท้อนไปถึงขีดความสามารถของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง แต่ความพยายามของทุกฝ่ายที่ร่วมกันปฏิเสธความรุนแรงอย่างพร้อมเพรียงกัน จะเป็นสัญญาณเชิงสร้างสรรค์ที่มีพลังต่อการลดทอนความตั้งใจในการก่อเหตุของบรรดาแกนนำระดับสั่งการ เพื่อให้หันกลับมาเลือกใช้แนวทางสันติวิธีอันเป็นพัฒนาการของการแก้ไขปัญหานั่นเอง
กรณีอาวุธปืนที่ถูกแย่งยึดไป ทางราชการได้ให้ความสำคัญเสมอมา โดยพยายามติดตามนำกลับคืนมาทุกครั้ง ขณะนี้สามารถนำกลับคืนมาได้บางส่วนแล้ว อาวุธปืนส่วนใหญ่เหล่านั้นอยู่ในสภาพชำรุด เก่าจากการซุกซ่อนและขาดชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน จึงไม่น่าจะถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อาวุธที่ถูกแย่งยึดไปในระยะหลังส่วนใหญ่จะมีประวัติในสารบบ ซึ่งหากถูกนำมาใช้งานก็จะเป็นเบาะแสให้เจ้าหน้าที่สืบสวนติดตามได้ ในส่วนที่มีการประเมินศักยภาพของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงโดยอาศัยจำนวนอาวุธปืนเป็นสำคัญนั้น น่าจะไม่สอดคล้องกับการรับรู้ในปัจจุบันที่พิจารณาขีดความสามารถการก่อเหตุด้วยระเบิดอันส่งผลกระทบในวงกว้างเป็นหลักมากกว่าจำนวนอาวุธปืน
กรณีงบประมาณประจำปี สำหรับการแก้ไขปัญหา จชต. ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนั้น ขอเรียนที่มาด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการคือ ประการแรกได้แก่ พื้นที่แบ่งสรรงบประมาณประจำปีของ ศอ.บต. แต่เดิมใช้สำหรับพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ต่อมาได้รวมพื้นที่จังหวัดสงขลาทั้งจังหวัด และจังหวัดสตูล รวมเป็นพื้นที่ 5 จังหวัด ทำให้ยอดงบประมาณมีจำนวนเพิ่มขึ้น ประการที่สองได้แก่ การบูรณาการงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ได้เริ่มการบูรณาการงบประมาณที่กระจัดกระจายแฝงอยู่ตามกระทรวง และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แนวทางด้านงบประมาณเป็นไปตามกรอบทิศทางเดียวกันที่มุ่งตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา และทำให้ทราบภาพรวมที่มีอยู่จริงของงบประมาณในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้นำโครงการตามความต้องการของประชาชนที่ผ่านการสำรวจความต้องการที่แท้จริงของประชาชนแต่ละท้องที่โดยไม่ได้คำนึงถึงประเภท/ระดับความรุนแรงของพื้นที่ มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอีกด้วย ด้วยเหตุผลหลักทั้ง 2 ประการนี้ ทำให้ยอดงบประมาณประจำปีมีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับรายละเอียดงบประมาณตามกลุ่มภารกิจงานนั้น จะขอแยกชี้แจงเฉพาะกับสื่อมวลชนที่สนใจต่อไป
กรณีแนวโน้มสถานการณ์ด้านความมั่นคงในพื้นที่ จชต. มักจะเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเสมอในห้วงระยะเวลาแต่ละปี เช่นเดียวกับการคาดการณ์แนวโน้มด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อันถือเป็นการทำนายอนาคต ซึ่งอาจใกล้เคียงเป็นไปตามการคาดการณ์หรือเบี่ยงเบนไป ขึ้นกับปัจจัยเกื้อหนุน และปัจจัยฉุดรั้งหลายองค์ประกอบ สำหรับการคาดการณ์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงจะวิเคราะห์จากข้อมูลสถิติการเกิดเหตุการณ์ที่ผ่านมา กิจกรรมตามแผนงานที่จะส่งผลต่อสถานการณ์ รวมถึงความคาดหวัง และความพึงพอใจของประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ จชต. มาพิจารณาด้วย สำหรับในปี 2558 ต่อเนื่องถึงปี 2559 นี้ มีปัจจัยเชิงบวกมาให้การสนับสนุนที่มีค่าน้ำหนักสำคัญคือ กลุ่มภารกิจงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ที่ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความเห็นชอบจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ดังนั้นสถานการณ์ด้านความมั่นคงในพื้นที่ จชต. ปีต่อไป จึงอาจคาดการณ์แนวโน้มได้ว่า น่าจะเกิดพัฒนาการของการแก้ไขปัญหาที่มีความก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไม่ได้สะท้อนไปถึงขีดความสามารถของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง แต่ความพยายามของทุกฝ่ายที่ร่วมกันปฏิเสธความรุนแรงอย่างพร้อมเพรียงกัน จะเป็นสัญญาณเชิงสร้างสรรค์ที่มีพลังต่อการลดทอนความตั้งใจในการก่อเหตุของบรรดาแกนนำระดับสั่งการ เพื่อให้หันกลับมาเลือกใช้แนวทางสันติวิธีอันเป็นพัฒนาการของการแก้ไขปัญหานั่นเอง
กรณีอาวุธปืนที่ถูกแย่งยึดไป ทางราชการได้ให้ความสำคัญเสมอมา โดยพยายามติดตามนำกลับคืนมาทุกครั้ง ขณะนี้สามารถนำกลับคืนมาได้บางส่วนแล้ว อาวุธปืนส่วนใหญ่เหล่านั้นอยู่ในสภาพชำรุด เก่าจากการซุกซ่อนและขาดชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน จึงไม่น่าจะถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อาวุธที่ถูกแย่งยึดไปในระยะหลังส่วนใหญ่จะมีประวัติในสารบบ ซึ่งหากถูกนำมาใช้งานก็จะเป็นเบาะแสให้เจ้าหน้าที่สืบสวนติดตามได้ ในส่วนที่มีการประเมินศักยภาพของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงโดยอาศัยจำนวนอาวุธปืนเป็นสำคัญนั้น น่าจะไม่สอดคล้องกับการรับรู้ในปัจจุบันที่พิจารณาขีดความสามารถการก่อเหตุด้วยระเบิดอันส่งผลกระทบในวงกว้างเป็นหลักมากกว่าจำนวนอาวุธปืน
กรณีงบประมาณประจำปี สำหรับการแก้ไขปัญหา จชต. ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนั้น ขอเรียนที่มาด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการคือ ประการแรกได้แก่ พื้นที่แบ่งสรรงบประมาณประจำปีของ ศอ.บต. แต่เดิมใช้สำหรับพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ต่อมาได้รวมพื้นที่จังหวัดสงขลาทั้งจังหวัด และจังหวัดสตูล รวมเป็นพื้นที่ 5 จังหวัด ทำให้ยอดงบประมาณมีจำนวนเพิ่มขึ้น ประการที่สองได้แก่ การบูรณาการงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ได้เริ่มการบูรณาการงบประมาณที่กระจัดกระจายแฝงอยู่ตามกระทรวง และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แนวทางด้านงบประมาณเป็นไปตามกรอบทิศทางเดียวกันที่มุ่งตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา และทำให้ทราบภาพรวมที่มีอยู่จริงของงบประมาณในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้นำโครงการตามความต้องการของประชาชนที่ผ่านการสำรวจความต้องการที่แท้จริงของประชาชนแต่ละท้องที่โดยไม่ได้คำนึงถึงประเภท/ระดับความรุนแรงของพื้นที่ มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอีกด้วย ด้วยเหตุผลหลักทั้ง 2 ประการนี้ ทำให้ยอดงบประมาณประจำปีมีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับรายละเอียดงบประมาณตามกลุ่มภารกิจงานนั้น จะขอแยกชี้แจงเฉพาะกับสื่อมวลชนที่สนใจต่อไป