เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฝั่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถ.พิษณุโลก นายอรรณพ พึ่งเชื้อ ผู้ช่วยรองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) พร้อมด้วยนักศึกษาอีกประมาณ 30 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่าน นายสาธิต สุทธิเสริม นิติกรชำนาญการ ศูนย์บริการประชาชน เพื่อร้องเรียนขอให้ช่วยเข้ามาจัดการปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มผู้บริหารในสถาบัน
โดย นายอรรณพ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม นายสุทธิพล ปทุมเทวาภิบาล ซึ่งอ้างว่าได้รับการแต่งตั้งจากเสียงข้างมากในสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญให้เป็นอธิการบดี ได้นำพวก 20 คน พยายามบุกรุก ข่มขู่เจ้าหน้าที่ และทำลายประตูมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก และยังนำกำลังชายฉกรรจ์กว่า 100 คน บุกรุกและคำลายเครื่องกั้นทางเข้าสถาบันที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ รวมแสดงท่าทีข่มขู่และจะมีการใช้กำลังกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย ทำให้อาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่และบุคลากรภายในสถาบันเกิดความหวาดกลัว จนมหาวิทยาลัยต้องตัดสินใจปิดทำการทั้ง 2 วิทยาเขต ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2558 – 4 มกราคม 2559 เพื่อป้องกันเหตุและรักษาความปลอดภัยให้กับทุกคน
นายอรรณพ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหาร พร้อมกับตั้งคณะกรรมการที่มีความเป็นกลางขึ้นมา 1 ชุด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาทางยุติปัญหา ซึ่งทุกฝ่ายควรจะยอมรับและเคารพต่อแนวทางการพิจารณาดังกล่าวที่ถือว่ามีความเป็นกลางที่สุด
“มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยินดีที่จะรอผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะทางออกจากคณะกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่ นายสุทธิพร และพวก กลับละเมิดข้อตกลง โดยสร้างความโกลาหลและความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นต่อมหาวิทยาลัยและบุคลากรขึ้นมาอีก ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อการคุกคามดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม อยากขอความเมตตาจาก พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับทราบและช่วยหาทางออกจากปัญหาการคุกคามที่เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวโดยเร็ว” นายอรรณพ กล่าว
ก่อนหน้านี้สภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เคยมีคำสั่งที่ 9/2558 ลงวันที่ 30 มิถุนายน มีคำสั่งแจ้งว่า นายสุทธิพร ไม่ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีอีกต่อไป
วันเดียวกัน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ปะทุขึ้นมาอีกรอบว่า ได้สั่งการปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้ไปติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุดแล้ว ทั้งนี้ยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการจะไม่ยอมให้มีการกระทำการใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างเด็ดขาด หากมีการกระทำดังกล่าวเมื่อไร จะเข้าไปดำเนินการทันที ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หากผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหากันได้ ก็ให้ดำเนินการต่อไป ผู้สื่อข่าวจึงถามย้ำว่า หากผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหาไม่ได้จะทำอย่างไร พล.อ.ดาว์พงษ์ ตอบว่า ก็ต้องดูว่าเรื่องนี้มันหน้าที่ใคร
“เอแบคเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน เรามีอำนาจเข้าไปดูแลให้เรียบร้อย ไม่ให้มีผลกับเด็ก ถ้ามีผลกระทบกับนักศึกษาเมื่อไหร่ ผมโดดเข้าไปแน่ ตอนนี้ก็ติดตามอยู่ตลอด ซึ่งเขาก็มีปัญหานี้มานานแล้ว”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ ได้สั่งการมาแล้ว โดยให้ตนไปดูแลและติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามจนเกิดการกระทบกระทั่งกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการยังไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ได้ เพราะยังไม่ส่งผลกระต่อการจัดการศึกษา หรือส่งผลกระทบต่อนักศึกษา ซึ่งก็คงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่อไป หากใครกระทำการใดๆ โดยพลการและก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน ต่อมหาวิทยาลัย หรือเกิดความเสียหายต่อระบบการบริหารภายใน ผู้ก่อการทั้งหลายก็จะต้องรับผิดชอบตัวเองต่อการกระทำนั้นๆ ส่วนจะมีการเสนอให้พิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องพิจารณาในหลายๆ แนวทาง
ส่วนกรณีที่มีอาจารย์และนักศึกษาเดินทางไปร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ช่วยเข้าไปดูแลปัญหานั้น ก็ต้องไปดูถึงผลกระทบ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมอยู่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พล.อ.ดาว์พงษ์ พยายามใช้อำนาจในฐานะผู้กำกับดูแล เข้าไปไกล่เกลี่ยและแก้ปัญหา ซึ่งก็อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ โดยได้มีการนัดหมายทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันในต้นปี 2559 นี้อยู่แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โดย นายอรรณพ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม นายสุทธิพล ปทุมเทวาภิบาล ซึ่งอ้างว่าได้รับการแต่งตั้งจากเสียงข้างมากในสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญให้เป็นอธิการบดี ได้นำพวก 20 คน พยายามบุกรุก ข่มขู่เจ้าหน้าที่ และทำลายประตูมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก และยังนำกำลังชายฉกรรจ์กว่า 100 คน บุกรุกและคำลายเครื่องกั้นทางเข้าสถาบันที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ รวมแสดงท่าทีข่มขู่และจะมีการใช้กำลังกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย ทำให้อาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่และบุคลากรภายในสถาบันเกิดความหวาดกลัว จนมหาวิทยาลัยต้องตัดสินใจปิดทำการทั้ง 2 วิทยาเขต ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2558 – 4 มกราคม 2559 เพื่อป้องกันเหตุและรักษาความปลอดภัยให้กับทุกคน
นายอรรณพ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหาร พร้อมกับตั้งคณะกรรมการที่มีความเป็นกลางขึ้นมา 1 ชุด เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาทางยุติปัญหา ซึ่งทุกฝ่ายควรจะยอมรับและเคารพต่อแนวทางการพิจารณาดังกล่าวที่ถือว่ามีความเป็นกลางที่สุด
“มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยินดีที่จะรอผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะทางออกจากคณะกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่ นายสุทธิพร และพวก กลับละเมิดข้อตกลง โดยสร้างความโกลาหลและความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นต่อมหาวิทยาลัยและบุคลากรขึ้นมาอีก ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อการคุกคามดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม อยากขอความเมตตาจาก พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับทราบและช่วยหาทางออกจากปัญหาการคุกคามที่เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวโดยเร็ว” นายอรรณพ กล่าว
ก่อนหน้านี้สภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เคยมีคำสั่งที่ 9/2558 ลงวันที่ 30 มิถุนายน มีคำสั่งแจ้งว่า นายสุทธิพร ไม่ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีอีกต่อไป
วันเดียวกัน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ปะทุขึ้นมาอีกรอบว่า ได้สั่งการปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้ไปติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุดแล้ว ทั้งนี้ยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการจะไม่ยอมให้มีการกระทำการใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างเด็ดขาด หากมีการกระทำดังกล่าวเมื่อไร จะเข้าไปดำเนินการทันที ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หากผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหากันได้ ก็ให้ดำเนินการต่อไป ผู้สื่อข่าวจึงถามย้ำว่า หากผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหาไม่ได้จะทำอย่างไร พล.อ.ดาว์พงษ์ ตอบว่า ก็ต้องดูว่าเรื่องนี้มันหน้าที่ใคร
“เอแบคเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน เรามีอำนาจเข้าไปดูแลให้เรียบร้อย ไม่ให้มีผลกับเด็ก ถ้ามีผลกระทบกับนักศึกษาเมื่อไหร่ ผมโดดเข้าไปแน่ ตอนนี้ก็ติดตามอยู่ตลอด ซึ่งเขาก็มีปัญหานี้มานานแล้ว”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ ได้สั่งการมาแล้ว โดยให้ตนไปดูแลและติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามจนเกิดการกระทบกระทั่งกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการยังไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ได้ เพราะยังไม่ส่งผลกระต่อการจัดการศึกษา หรือส่งผลกระทบต่อนักศึกษา ซึ่งก็คงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่อไป หากใครกระทำการใดๆ โดยพลการและก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน ต่อมหาวิทยาลัย หรือเกิดความเสียหายต่อระบบการบริหารภายใน ผู้ก่อการทั้งหลายก็จะต้องรับผิดชอบตัวเองต่อการกระทำนั้นๆ ส่วนจะมีการเสนอให้พิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องพิจารณาในหลายๆ แนวทาง
ส่วนกรณีที่มีอาจารย์และนักศึกษาเดินทางไปร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ช่วยเข้าไปดูแลปัญหานั้น ก็ต้องไปดูถึงผลกระทบ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมอยู่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พล.อ.ดาว์พงษ์ พยายามใช้อำนาจในฐานะผู้กำกับดูแล เข้าไปไกล่เกลี่ยและแก้ปัญหา ซึ่งก็อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อกฎหมายต่างๆ โดยได้มีการนัดหมายทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันในต้นปี 2559 นี้อยู่แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ