รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า จากผลการสำรวจความเร็วรถในพื้นที่กรุงเทพหมานครโดยสำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง(สนข.)ประจำปี 2558พบว่าสภาพการเคลื่อนตัวของรถในพื้นที่กรุงเทพฯในปี 58 เวลาเร่งด่วนเช้า(ขาเข้าเมือง)ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 15.00 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.)ลดลงกว่าปี 57 เฉลี่ย 0.8 กม.ต่อชั่วโมง เวลาเร่งด่วนเย็น(ขาออกเมือง)ความเฉลี่ยอยู่ที่ 22.00 กม.ต่อชม.ลดลงกว่าปี 57 เฉลี่ย 0.4 กม.ต่อชม.
ทั้งนี้พบว่าบริเวณทิศใต้ของกรุงเทพฯในถนนสมเด็จพระเข้าตากสิน ถนนกรุงธนบุรี ถนนมไหสวรรย์ และถนนเจริญกรุงมีความเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 10 .1 กม.ต่อชม. ช่วงเวลาเร่งด่วนเย็นความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 32.2 กม.ต่อชม. เนื่องจากว่าในเส้นทางดังกล่าวเป็นจุดรับรถที่จะเดินทางเข้าเมืองไม่ว่าจะเป็นรถที่มาจากถนนราชพฤกษ์ วงเวียนใหญ่ ซึ่งในแต่ละวันก็จะมีรถที่ใช้เส้นทางตลอดทั้งวันดังนั้นจึงส่งผลให้การจราจรติดขัดและหนาแน่นโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเช้า
สำหรับ 5 อันดับถนนที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดได้แก่ อันดับ 1 ถนนกรุงธนบุรีตั้งแต่กรุงธนบุรี-แยกสุรศักดิ์(สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ความเร็วเฉลี่ยที่ 5.1 กม.ต่อชม. อันดับ 2 ถนนพระราม 9 ตั้งแต่แยกรามคำแหง-แยกพระราม9 ความเร็วเฉลี่ยที่ 9.7กม.ต่อชม. อันดับ 3 ถนนเจริญกรุงตั้งแต่แยกถนนตก-แยกสุรวงศ์ ความเร็วเฉลี่ยที่10.6 กม.ต่อชม. อันดับ 4 ถนนราชวิถีตั้งแต่แยกบางพลัด-แยกอุภัยฯ ความเร็วเฉลี่ยที่ 10.8 กม.ต่อชม. ถนนสุขุมวิทชั้นในตั้งแต่แยกอโศก-แยกนานา ความเร็วเฉลี่ยที่ 10.8 กม.ต่อชม.
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า จากการสำรวจความเร็วรถในปี 58 จึงสามารถสรุปได้ว่าภาพรวมการจราจรในปีนี้มีปัญหาการจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโครงการก่อสร้างต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯยังไม่แล้วเสร็จ และพบว่าบางโครงการมีการคืนผิวการจราจรในแต่ละช่วงน้อยมากประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของรถที่จดทะเบียนใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯในช่วงปี 2555-2558 ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีจำนวนรถสะสมเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยในขณะนี้ที่ถนนในกรุงเทพฯยังมีอยู่เท่าเดิมโครงการก่อสร้างโคร่งข่ายถนน ทางด่วน รถไฟฟ้ายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาย้อนหลังในหลายๆ
ปีพบว่า ราคาลดลงประมาณลิตรละ 10 บาท ซึ่งก็ทำให้ประชาชนนำรถออกมาใช้มากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐก็ยังมีข้อจำกัดในการให้บริการไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้ามี่มีเพียง 2 เส้นทาง รถประจำทางที่ยังต้องใช้เวลารอรถเป็นเวลานานฉะนั้นภาครัฐจำเป็นจะต้องหามาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ปะชาชนหันมาใช้รถสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้พบว่าบริเวณทิศใต้ของกรุงเทพฯในถนนสมเด็จพระเข้าตากสิน ถนนกรุงธนบุรี ถนนมไหสวรรย์ และถนนเจริญกรุงมีความเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 10 .1 กม.ต่อชม. ช่วงเวลาเร่งด่วนเย็นความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 32.2 กม.ต่อชม. เนื่องจากว่าในเส้นทางดังกล่าวเป็นจุดรับรถที่จะเดินทางเข้าเมืองไม่ว่าจะเป็นรถที่มาจากถนนราชพฤกษ์ วงเวียนใหญ่ ซึ่งในแต่ละวันก็จะมีรถที่ใช้เส้นทางตลอดทั้งวันดังนั้นจึงส่งผลให้การจราจรติดขัดและหนาแน่นโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเช้า
สำหรับ 5 อันดับถนนที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดได้แก่ อันดับ 1 ถนนกรุงธนบุรีตั้งแต่กรุงธนบุรี-แยกสุรศักดิ์(สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ความเร็วเฉลี่ยที่ 5.1 กม.ต่อชม. อันดับ 2 ถนนพระราม 9 ตั้งแต่แยกรามคำแหง-แยกพระราม9 ความเร็วเฉลี่ยที่ 9.7กม.ต่อชม. อันดับ 3 ถนนเจริญกรุงตั้งแต่แยกถนนตก-แยกสุรวงศ์ ความเร็วเฉลี่ยที่10.6 กม.ต่อชม. อันดับ 4 ถนนราชวิถีตั้งแต่แยกบางพลัด-แยกอุภัยฯ ความเร็วเฉลี่ยที่ 10.8 กม.ต่อชม. ถนนสุขุมวิทชั้นในตั้งแต่แยกอโศก-แยกนานา ความเร็วเฉลี่ยที่ 10.8 กม.ต่อชม.
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า จากการสำรวจความเร็วรถในปี 58 จึงสามารถสรุปได้ว่าภาพรวมการจราจรในปีนี้มีปัญหาการจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโครงการก่อสร้างต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯยังไม่แล้วเสร็จ และพบว่าบางโครงการมีการคืนผิวการจราจรในแต่ละช่วงน้อยมากประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของรถที่จดทะเบียนใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯในช่วงปี 2555-2558 ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีจำนวนรถสะสมเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยในขณะนี้ที่ถนนในกรุงเทพฯยังมีอยู่เท่าเดิมโครงการก่อสร้างโคร่งข่ายถนน ทางด่วน รถไฟฟ้ายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาย้อนหลังในหลายๆ
ปีพบว่า ราคาลดลงประมาณลิตรละ 10 บาท ซึ่งก็ทำให้ประชาชนนำรถออกมาใช้มากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐก็ยังมีข้อจำกัดในการให้บริการไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้ามี่มีเพียง 2 เส้นทาง รถประจำทางที่ยังต้องใช้เวลารอรถเป็นเวลานานฉะนั้นภาครัฐจำเป็นจะต้องหามาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ปะชาชนหันมาใช้รถสาธารณะเพิ่มมากขึ้น