พ.อ.ยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ในปีงบประมาณ 2559 พล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้มอบหมายนโยบายในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความเป็นพิเศษมากขึ้น คือ “โครงการประชารัฐร่วมใจสร้างอำเภอสันติสุข” ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านพลังประชารัฐ ประกอบด้วย ประชาชน กลุ่มผู้เห็นต่าง และภาครัฐ มาร่วมแก้ไขปัญหาภายใต้หลักคิด “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมประเมินผล” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชน และผู้เห็นต่างเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมแก้ปัญหาความขัดแย้ง ลดความรุนแรง เสริมสร้างความสงบสุข และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ทั้งนี้ ได้เริ่มต้นดำเนินการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยกำหนดพื้นที่นำร่องใน 4 จังหวัด รวม 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บาเจาะ และ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.ยะหา จ.ยะลา และ อ.นาทวี จ.สงขลา ก่อนที่จะขยายพื้นที่เป้าหมายให้ครบทั้ง 37 อำเภอใน 4 จังหวัดในระยะต่อไป
สำหรับการขับเคลื่อน “โครงการประชารัฐร่วมใจสร้างอำเภอสันติสุข” ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติโดยผนึกกำลังร่วมกัน 3 ฝ่าย ใช้ 3 งานหลักเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ภาครัฐ ซึ่งมีตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ภาคประชาชนมี ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ มา “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมประเมินผล” ตามยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยกำหนดให้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ ที่มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าศูนย์ เป็นศูนย์กลางการทำงานในระดับพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เป็นผู้ขับเคลื่อนแผนงาน รวมทั้งมีหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข หน่วยเฉพาะกิจทหารพราน และสถานีตำรวจภูธรประจำพื้นที่ ร่วมปฏิบัติงานในลักษณะการบูรณาการ ส่วน 3 งานหลักที่จะต้องดำเนินการไปพร้อมกัน ประกอบด้วย งานสร้างพื้นที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน เน้นการสร้างชุมชน หมู่บ้านเข้มแข็ง ปลอดเหตุร้าย ปลอดยาเสพติด โดยมีผู้นำท้องที่ และผู้นำศาสนาเป็นศูนย์กลาง โดยมี 4 งานสำคัญ คือ งานบังคับใช้กฎหมายตามแนวทางสันติวิธี เช่น การใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก การมีส่วนร่วมของผู้นำศาสนา ผู้นำในท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเครือญาติในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ งานควบคุมพื้นที่ และทำหมู่บ้านให้ปลอดภัย งานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วม โดยการนำกำลังภาคประชาชนออกมาดูแลพื้นที่ ตามแผนรักษาความปลอดภัยตำบล การเสริมสร้างศักยภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และชุดควบคุมตำบล และงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน เช่น การป้องกันและปราบปรามธุรกิจผิดกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม
สำหรับการขับเคลื่อน “โครงการประชารัฐร่วมใจสร้างอำเภอสันติสุข” ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติโดยผนึกกำลังร่วมกัน 3 ฝ่าย ใช้ 3 งานหลักเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ภาครัฐ ซึ่งมีตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ภาคประชาชนมี ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ มา “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมประเมินผล” ตามยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยกำหนดให้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ ที่มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าศูนย์ เป็นศูนย์กลางการทำงานในระดับพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เป็นผู้ขับเคลื่อนแผนงาน รวมทั้งมีหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข หน่วยเฉพาะกิจทหารพราน และสถานีตำรวจภูธรประจำพื้นที่ ร่วมปฏิบัติงานในลักษณะการบูรณาการ ส่วน 3 งานหลักที่จะต้องดำเนินการไปพร้อมกัน ประกอบด้วย งานสร้างพื้นที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน เน้นการสร้างชุมชน หมู่บ้านเข้มแข็ง ปลอดเหตุร้าย ปลอดยาเสพติด โดยมีผู้นำท้องที่ และผู้นำศาสนาเป็นศูนย์กลาง โดยมี 4 งานสำคัญ คือ งานบังคับใช้กฎหมายตามแนวทางสันติวิธี เช่น การใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก การมีส่วนร่วมของผู้นำศาสนา ผู้นำในท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเครือญาติในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ งานควบคุมพื้นที่ และทำหมู่บ้านให้ปลอดภัย งานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วม โดยการนำกำลังภาคประชาชนออกมาดูแลพื้นที่ ตามแผนรักษาความปลอดภัยตำบล การเสริมสร้างศักยภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และชุดควบคุมตำบล และงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน เช่น การป้องกันและปราบปรามธุรกิจผิดกฎหมาย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม