กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาแสดงความกังวลต่อการแสดงความคิดเห็นในเชิงต่อต้านมุสลิมของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อวานนี้ (8 ธ.ค.) เขาเสนอให้ห้ามคนมุสลิมเดินทางเข้าสหรัฐฯ ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักจากหลายฝ่าย รวมทั้งโฆษกกระทรวงกลาโหมที่ออกมาเตือนว่าข้อเสนอของทรัมพ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
นายทรัมป์กล่าวในคำปราศรัยหาเสียงว่าสหรัฐฯ ควรปิดด่านชายแดนไปจนกว่าทางการจะสรุปได้ว่าชาวมุสลิมมีทัศนคติอย่างไรต่ออเมริกา ความเห็นของทรัมป์มีขึ้นหลังจากคู่สามีภรรยาชาวมุสลิมก่อเหตุกราดยิงที่ศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพในเมืองซานเบอร์นาดิโนเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2558 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน
ในเอกสารแถลงข่าวที่ทรัมป์ส่งให้ผู้สื่อข่าววานนี้ (8 ธ.ค.) เขาอ้างผลการสำรวจของศูนย์นโยบายด้านความมั่นคงซึ่งเป็นสถาบันของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ระบุว่าคนมุสลิมจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกเกลียดชังชาวอเมริกัน ซึ่งเขาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ถึงต้นตอและสาเหตุของความเกลียดชังนี้
"ในขณะที่เรายังไม่เข้าใจในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้รวมถึงอันตรายที่แฝงมากับความเกลียดชังนี้ ประเทศของเราก็ไม่ควรต้องตกเป็นเหยื่อของการโจมตีของผู้คนที่เชื่อแต่ในเรื่องญิฮาดและไม่มีความเคารพต่อชีวิตมนุษย์" เขาระบุ
ข้อเสนอของนายทรัมป์ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกสหรัฐฯ นายปีเตอร์ คุก โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าความเห็นดังกล่าวนั้น "เข้าทางกลุ่มไอเอส"
"อะไรก็ตามที่เข้าทางกลุ่มไอเอสและผลักให้สหรัฐฯ เป็นปฏิปักษ์กับศรัทธาของชาวมุสลิมนั้นไม่เพียงแต่ขัดกับค่านิยมของสหรัฐฯ แต่ยังเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติด้วย" นายคุกเตือนและระบุว่าการห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศไม่เป็นผลดีต่อความพยายามของสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับฝ่ายนิยมความรุนแรง
นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาตำหนิการให้ความเห็นของนายทรัมป์ซึ่งเขาบอกว่าเป็นความเห็นที่ "ไม่สร้างสรรค์" และไม่เป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับกลุ่มไอเอส
ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพยายามโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอสในซีเรียและอิรัก
ขณะที่ชาวปากีสถานบางส่วนก็แสดงความไม่พอใจต่อข้อเสนอของทรัมป์เช่นกัน ชาวปากีสถานในกรุงอิสลามาบัดบางคนบอกว่าข้อคิดเห็นของทรัมป์เป็นเรื่องไร้สาระและจะทำให้สหรัฐฯ ถูกโดดเดี่ยวจากสังคมโลก ขณะที่บางคนก็บอกว่า ทรัมป์ต้องการสร้างกระแสเพื่อให้ตัวเองเป็นข่าว
แม้แต่สมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนก็ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของนายทรัมป์เช่นกัน เช่น นายพอล ไรอัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า ข้อเสนอห้ามคนมุสลิมเข้าสหรัฐฯ ไม่ใช่จุดของพรรค "และที่สำคัญกว่านั้น คือมันไม่ใช่จุดยืนของสหรัฐฯ ด้วย"
หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนัก นายทรัมป์ได้ออกมาปกป้องความเห็นของตน โดยเปรียบเทียบข้อเสนอของเขาว่าไม่ต่างอะไรจากนโยบายของประธานาธิบดีรูสเวลต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีต่อชาวญี่ปุ่น เยอรมันและอิตาเลียนที่อยู่ในสหรัฐฯ
นายทรัมป์กล่าวในคำปราศรัยหาเสียงว่าสหรัฐฯ ควรปิดด่านชายแดนไปจนกว่าทางการจะสรุปได้ว่าชาวมุสลิมมีทัศนคติอย่างไรต่ออเมริกา ความเห็นของทรัมป์มีขึ้นหลังจากคู่สามีภรรยาชาวมุสลิมก่อเหตุกราดยิงที่ศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพในเมืองซานเบอร์นาดิโนเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2558 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน
ในเอกสารแถลงข่าวที่ทรัมป์ส่งให้ผู้สื่อข่าววานนี้ (8 ธ.ค.) เขาอ้างผลการสำรวจของศูนย์นโยบายด้านความมั่นคงซึ่งเป็นสถาบันของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ระบุว่าคนมุสลิมจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกเกลียดชังชาวอเมริกัน ซึ่งเขาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ถึงต้นตอและสาเหตุของความเกลียดชังนี้
"ในขณะที่เรายังไม่เข้าใจในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้รวมถึงอันตรายที่แฝงมากับความเกลียดชังนี้ ประเทศของเราก็ไม่ควรต้องตกเป็นเหยื่อของการโจมตีของผู้คนที่เชื่อแต่ในเรื่องญิฮาดและไม่มีความเคารพต่อชีวิตมนุษย์" เขาระบุ
ข้อเสนอของนายทรัมป์ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกสหรัฐฯ นายปีเตอร์ คุก โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าความเห็นดังกล่าวนั้น "เข้าทางกลุ่มไอเอส"
"อะไรก็ตามที่เข้าทางกลุ่มไอเอสและผลักให้สหรัฐฯ เป็นปฏิปักษ์กับศรัทธาของชาวมุสลิมนั้นไม่เพียงแต่ขัดกับค่านิยมของสหรัฐฯ แต่ยังเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติด้วย" นายคุกเตือนและระบุว่าการห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศไม่เป็นผลดีต่อความพยายามของสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับฝ่ายนิยมความรุนแรง
นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาตำหนิการให้ความเห็นของนายทรัมป์ซึ่งเขาบอกว่าเป็นความเห็นที่ "ไม่สร้างสรรค์" และไม่เป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับกลุ่มไอเอส
ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพยายามโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอสในซีเรียและอิรัก
ขณะที่ชาวปากีสถานบางส่วนก็แสดงความไม่พอใจต่อข้อเสนอของทรัมป์เช่นกัน ชาวปากีสถานในกรุงอิสลามาบัดบางคนบอกว่าข้อคิดเห็นของทรัมป์เป็นเรื่องไร้สาระและจะทำให้สหรัฐฯ ถูกโดดเดี่ยวจากสังคมโลก ขณะที่บางคนก็บอกว่า ทรัมป์ต้องการสร้างกระแสเพื่อให้ตัวเองเป็นข่าว
แม้แต่สมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนก็ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของนายทรัมป์เช่นกัน เช่น นายพอล ไรอัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า ข้อเสนอห้ามคนมุสลิมเข้าสหรัฐฯ ไม่ใช่จุดของพรรค "และที่สำคัญกว่านั้น คือมันไม่ใช่จุดยืนของสหรัฐฯ ด้วย"
หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนัก นายทรัมป์ได้ออกมาปกป้องความเห็นของตน โดยเปรียบเทียบข้อเสนอของเขาว่าไม่ต่างอะไรจากนโยบายของประธานาธิบดีรูสเวลต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีต่อชาวญี่ปุ่น เยอรมันและอิตาเลียนที่อยู่ในสหรัฐฯ