สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ออกแถลงการณ์ ยืนยันว่า พนักงานการบินไทย และสหภาพฯไม่มีการนัดชุมนุมในวันนี้ (26 พ.ย.) แต่มีการรวมตัวของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัท การบินไทยฯ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาระผู้ค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ที่ถูกหักเงินจากซองเงินเดือน จนเหลือไม่พอต่อการดำรงชีพ โดยเป็นการรวมตัวเพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ให้ความช่วยเหลือเท่านั้น
ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ปฏิเสธตอบคำถามกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพนักงานการบินไทยบางส่วนนัดหยุดงานประท้วงแผนฟื้นฟูดังกล่าวในวันนี้ (26พ.ย.58)
ส่วนการส่งแผนฟื้นฟูการบินไทย ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. สั่งการให้การบินไทยปรับปรุงแผนการแก้ไขปัญหาการขาดทุนระยะสั้น โดยให้เพิ่มมาตรการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พิจารณาสัดส่วนพนักงานให้เหมาะสมกับภารกิจและทิศทางของบริษัท และส่งแผนให้ คนร. พิจารณาในปลายเดือนนี้ (พ.ย)
ทั้งนี้ นายจรัมพร จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี และคณะกรรมการการบินไทยจะประเมินผลงานในเดือนธันวาคมนี้ รวมทั้งกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากนายจรัมพร ยังไม่สามารถแก้ปัญหาภายในการบินไทยได้ จะต้องพิจารณาตัวเองในเดือนมีนาคม 2559
ขณะเดียวกันอดีตผู้บริหารการบินไทย เช่น นายโยธิน ภมรมนตรี และนายสุเทพ สืบสันติวงศ์ เข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ตรวจสอบนายบรรยงค์ พงษ์พานิช อดีตที่ปรึกษา นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และนายโชคชัย ปัญญายงค์ รองผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กรณีว่าจ้างที่ปรึกษาบริษัทเอคเซนเซอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเคยถูกศาลของสหรัฐอเมริกาสั่งปรับเป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ในคดีให้สินบนกับบริษัทคู่ค้า
อีกทั้งยังดำเนินนโยบายแบบเพิ่มรายจ่ายลดรายได้ด้วยการสั่งปรับปรุงการให้บริการอย่างไม่เหมาะสม เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ถูกต้องและไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทการบินไทย ฯ ว่าด้วยการพัสดุ และอาจเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ จึงขอให้ป.ป.ช.ดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 การบินไทยเสนอแผนเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายระยะเร่งด่วนต่อ คนร. โดยมีเป้าหมาย เพิ่มรายได้ในปีนี้อีก 1,500 ล้านบาท และลดรายจ่ายอีก 1,500 ล้านบาท หลังการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูไม่เข้าเป้า โดยแผนระยะเร่งด่วนจะช่วยให้การบินไทยลดค่าใช้จ่ายทั้งปีได้ 7,000 ล้านบาท จากเป้าหมายของแผนฟื้นฟูที่จะลดทั้งหมด 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้หลังไตรมาส 3 ปี 2558 การบินไทยขาดทุนสุทธิ 9,894 ล้านบาท แต่ยังน้อยกว่าไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ขาดทุน 12,000 ล้านบาท และนายจรัมพร ระบุว่า การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูคืบหน้าร้อยละ 75-85 เช่น ยกเลิกเที่ยวบินที่ขาดทุน ขายเครื่องบิน 42 ลำ และลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ สามารถลดรายจ่ายได้ 8,000 ล้านบาทจากเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
สำหรับภาวะขาดทุน 18,000 ล้านบาทในรอบ 9 เดือนในปีนี้ เป็นตัวเลขที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพราะผลขาดทุนจากการดำเนินงานปรับลดลงเหลือ 4,500 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีผลขาดทุน 16,000 ล้านบาท หลังยกเลิกเส้นทางบินที่ขาดทุนเฉลี่ยเส้นทางละ 200-300 ล้านบาท และจะเดินหน้าลดค่าใช้จ่ายอีก 20,000 ล้านบาท รวมทั้งหารายได้เพิ่ม โดยคาดว่าการบินไทย จะเริ่มมีกำไรตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป
ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ปฏิเสธตอบคำถามกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพนักงานการบินไทยบางส่วนนัดหยุดงานประท้วงแผนฟื้นฟูดังกล่าวในวันนี้ (26พ.ย.58)
ส่วนการส่งแผนฟื้นฟูการบินไทย ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. สั่งการให้การบินไทยปรับปรุงแผนการแก้ไขปัญหาการขาดทุนระยะสั้น โดยให้เพิ่มมาตรการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พิจารณาสัดส่วนพนักงานให้เหมาะสมกับภารกิจและทิศทางของบริษัท และส่งแผนให้ คนร. พิจารณาในปลายเดือนนี้ (พ.ย)
ทั้งนี้ นายจรัมพร จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี และคณะกรรมการการบินไทยจะประเมินผลงานในเดือนธันวาคมนี้ รวมทั้งกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากนายจรัมพร ยังไม่สามารถแก้ปัญหาภายในการบินไทยได้ จะต้องพิจารณาตัวเองในเดือนมีนาคม 2559
ขณะเดียวกันอดีตผู้บริหารการบินไทย เช่น นายโยธิน ภมรมนตรี และนายสุเทพ สืบสันติวงศ์ เข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ตรวจสอบนายบรรยงค์ พงษ์พานิช อดีตที่ปรึกษา นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และนายโชคชัย ปัญญายงค์ รองผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กรณีว่าจ้างที่ปรึกษาบริษัทเอคเซนเซอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเคยถูกศาลของสหรัฐอเมริกาสั่งปรับเป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ในคดีให้สินบนกับบริษัทคู่ค้า
อีกทั้งยังดำเนินนโยบายแบบเพิ่มรายจ่ายลดรายได้ด้วยการสั่งปรับปรุงการให้บริการอย่างไม่เหมาะสม เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ถูกต้องและไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทการบินไทย ฯ ว่าด้วยการพัสดุ และอาจเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ จึงขอให้ป.ป.ช.ดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 การบินไทยเสนอแผนเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายระยะเร่งด่วนต่อ คนร. โดยมีเป้าหมาย เพิ่มรายได้ในปีนี้อีก 1,500 ล้านบาท และลดรายจ่ายอีก 1,500 ล้านบาท หลังการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูไม่เข้าเป้า โดยแผนระยะเร่งด่วนจะช่วยให้การบินไทยลดค่าใช้จ่ายทั้งปีได้ 7,000 ล้านบาท จากเป้าหมายของแผนฟื้นฟูที่จะลดทั้งหมด 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้หลังไตรมาส 3 ปี 2558 การบินไทยขาดทุนสุทธิ 9,894 ล้านบาท แต่ยังน้อยกว่าไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ขาดทุน 12,000 ล้านบาท และนายจรัมพร ระบุว่า การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูคืบหน้าร้อยละ 75-85 เช่น ยกเลิกเที่ยวบินที่ขาดทุน ขายเครื่องบิน 42 ลำ และลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ สามารถลดรายจ่ายได้ 8,000 ล้านบาทจากเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
สำหรับภาวะขาดทุน 18,000 ล้านบาทในรอบ 9 เดือนในปีนี้ เป็นตัวเลขที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพราะผลขาดทุนจากการดำเนินงานปรับลดลงเหลือ 4,500 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีผลขาดทุน 16,000 ล้านบาท หลังยกเลิกเส้นทางบินที่ขาดทุนเฉลี่ยเส้นทางละ 200-300 ล้านบาท และจะเดินหน้าลดค่าใช้จ่ายอีก 20,000 ล้านบาท รวมทั้งหารายได้เพิ่ม โดยคาดว่าการบินไทย จะเริ่มมีกำไรตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป