นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่รัฐสภายุโรปได้ส่งหนังสือเชิญถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม หรือเมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ว่า ประการแรกทางสถานทูตไทยประจำกรุงบรัสเซลส์ และผู้แทนสหภาพยุโรปหรืออียูในไทย ได้ตรวจสอบหนังสือเชิญดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าหนังสือเชิญเป็นของจริง ซึ่งเชิญโดยนายเอลมา บร็อก กับนายแวร์เนอร์ แลงเกิน ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นสมาชิกรัฐสภายุโรป แต่เป็นการเชิญในนามส่วนตัว เพราะในหนังสือเชิญระบุเพียงชื่อและลายเซ็นผู้เชิญเท่านั้น ไม่ได้ลงรายละเอียดตำแหน่งกำกับท้ายชื่อผู้เชิญ ดังนั้น แสดงว่าไม่ใช่การเชิญในนามสหภาพยุโรป ฝ่ายการเมืองหรือคณะกรรมาธิการสภายุโรปแต่อย่างใด
นายเสข กล่าวต่อว่า ประการต่อมาสมาชิกรัฐสภายุโรป สามารถเชิญบุคคลใดๆ มาหารือได้ ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ประการสุดท้ายสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานของสหภาพยุโรปไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภายุโรปกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรือมาตรการใด ๆ และว่าการดำเนินการของรัฐสภายุโรป ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัตินั้น เป็นอิสระแยกออกจากฝ่ายการเมือง ขณะที่ทางฝ่ายไทยโดยสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงบรัสเซลส์ หรือคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ยังคงจะชี้แจงประเด็นที่รัฐสภายุโรปแสดงความห่วงกังวลทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความคืบหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย
นายเสข กล่าวต่อว่า ประการต่อมาสมาชิกรัฐสภายุโรป สามารถเชิญบุคคลใดๆ มาหารือได้ ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ประการสุดท้ายสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานของสหภาพยุโรปไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภายุโรปกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรือมาตรการใด ๆ และว่าการดำเนินการของรัฐสภายุโรป ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัตินั้น เป็นอิสระแยกออกจากฝ่ายการเมือง ขณะที่ทางฝ่ายไทยโดยสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงบรัสเซลส์ หรือคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ยังคงจะชี้แจงประเด็นที่รัฐสภายุโรปแสดงความห่วงกังวลทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความคืบหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย