นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ประเทศไทยมีขยะทิ้งในทะเลจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของโลก รองจาก จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และศรีลังกาพบว่า ขยะพลาสติกและโฟมเป็นปัญหาสำคัญเพราะการย่อยสลายใช้เวลานาน โดยเฉพาะโฟมจะใช้เวลาย่อยสลายกว่า 450 ปี และปัจจุบันไทยมีปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทั้งบนบกและในทะเล หากมีปริมาณขยะที่มาจากกระทงไหลลงสู่ทะเลจะกระทบต่อปริมาณขยะที่สะสมอยู่ในทะเลให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุดในการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษจัดทำแผนจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมจัดการปัญหาดังกล่าวให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน เพราะปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ
สำหรับเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ขอเชิญชวนประชาชนลอยกระทงรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเลือกใช้วัสดุลอยกระทงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และเมื่อเก็บขึ้นมานำไปจัดการได้ง่าย เช่น กาบกล้วย ดอกไม้ และใบตองเป็นวัสดุที่เหมาะสม จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุจากโฟมและพลาสติก เพราะใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก และเป็นอันตรายกับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยและรักษาสิ่งแวดล้อม
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ส่วนกระทงที่ทำจากขนมปัง หากอยู่ในแหล่งน้ำปิด เช่น สระน้ำในวัด หนองน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง ที่มีความสกปรกเดิมอยู่แล้ว แม้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หากมีปริมาณมากเกินไปในแหล่งน้ำจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดน้ำเน่าเสียได้ เพราะขนมปังมีส่วนประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน หากมีสารอินทรีย์ในปริมาณมาก จุลินทรีย์ต้องการปริมาณออกซิเจน เพื่อการหายใจและย่อยสลายวัสดุจากธรรมชาติ จะยิ่งทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น
สำหรับเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ขอเชิญชวนประชาชนลอยกระทงรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเลือกใช้วัสดุลอยกระทงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และเมื่อเก็บขึ้นมานำไปจัดการได้ง่าย เช่น กาบกล้วย ดอกไม้ และใบตองเป็นวัสดุที่เหมาะสม จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุจากโฟมและพลาสติก เพราะใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก และเป็นอันตรายกับสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยและรักษาสิ่งแวดล้อม
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ส่วนกระทงที่ทำจากขนมปัง หากอยู่ในแหล่งน้ำปิด เช่น สระน้ำในวัด หนองน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง ที่มีความสกปรกเดิมอยู่แล้ว แม้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หากมีปริมาณมากเกินไปในแหล่งน้ำจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดน้ำเน่าเสียได้ เพราะขนมปังมีส่วนประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน หากมีสารอินทรีย์ในปริมาณมาก จุลินทรีย์ต้องการปริมาณออกซิเจน เพื่อการหายใจและย่อยสลายวัสดุจากธรรมชาติ จะยิ่งทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น