นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 2-3 จากปีนี้ที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพจริงของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่รัฐบาลกำหนดไว้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
โดยประเมินการส่งออกมีทิศทางดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ติดลบร้อยละ 5 ในปีนี้เป็นไม่ขยายตัว หรือร้อยละ 0 ในปีหน้า โดยได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าถึง 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าต่อเนื่องจากสิ้นปี 2558 อยู่ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดโลก
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ ความเสี่ยงด้านการเมือง ซึ่งเมื่อไม่มีความชัดเจน ทำให้เอกชนไม่ตัดสินใจลงทุน ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการปฏิรูปประเทศ ยังเป็นเพียงแค่ความหวังหากไม่เกิดการลงมือปฏิบัติจริง ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ คือแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ว่า แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือนธันวาคม หลังจากนั้นในปี 2559 จะปรับขึ้นอีก2ครั้งตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ และไทยมีความผันผวน ซึ่งจะต้องติดตามว่าจะมีเม็ดเงินเข้าต่างชาติไหลกลับออกไปมากน้อยแค่ไหน
ส่วนผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศแม้เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1-1.5 และต้องการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โดยประเมินการส่งออกมีทิศทางดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ติดลบร้อยละ 5 ในปีนี้เป็นไม่ขยายตัว หรือร้อยละ 0 ในปีหน้า โดยได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าถึง 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าต่อเนื่องจากสิ้นปี 2558 อยู่ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดโลก
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ ความเสี่ยงด้านการเมือง ซึ่งเมื่อไม่มีความชัดเจน ทำให้เอกชนไม่ตัดสินใจลงทุน ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการปฏิรูปประเทศ ยังเป็นเพียงแค่ความหวังหากไม่เกิดการลงมือปฏิบัติจริง ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ คือแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ว่า แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือนธันวาคม หลังจากนั้นในปี 2559 จะปรับขึ้นอีก2ครั้งตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ และไทยมีความผันผวน ซึ่งจะต้องติดตามว่าจะมีเม็ดเงินเข้าต่างชาติไหลกลับออกไปมากน้อยแค่ไหน
ส่วนผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศแม้เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1-1.5 และต้องการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ