วันนี้ (5 พ.ย.) พรรคเพื่อไทย ได้ออกแถลงการณ์ต่อแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่จะนำการเลือกตั้งระบบใหม่ ที่เรียกว่า "ระบบจัดสรรปันส่วนผสม" มาใช้ ว่า พรรคเห็นว่า 1.ระบบการเลือกตั้งที่จะนำมาใช้ต้องให้โอกาสความเท่าเทียมกันของพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครตามความต้องการของประชาชน ความมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพของรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ไม่ใช่ระบบที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
2.การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ไม่อาจทราบถึงความต้องการของประชาชนว่าจะเลือกผู้สมัคร หรือเลือกพรรคการเมือง เป็นการจำกัดสิทธิประชาชน ไม่ได้สะท้อนความต้องการอันแท้จริง 3.พรรคที่ชนะการเลือกตั้งในระบบเขตมีจำนวน ส.ส. มาก อาจไม่ใช่พรรคเสียงข้างมากในสภา เพราะถูกตัดคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อออกไปหมด 4.ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่นำเสนอนั้น ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง และระบบนี้จะทำให้พรรคการเมืองไม่ต้องแข่งขันกันด้านนโยบายมากนัก เพราะถึงจะแพ้การเลือกตั้ง ก็นำคะแนนที่แพ้มาคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้อยู่แล้ว
5. ระบบจัดสรรปันส่วน ไม่ใช่ระบบสัดส่วนซึ่งเป็นระบบที่แท้จริงในการสะท้อนทุกคะแนนไม่ให้สูญเปล่า 6.ระบบจัดสรรปันส่วนผสม ไม่ได้ส่งผลให้การซื้อสิทธิขายเสียงลดน้อยลง เพราะขึ้นอยู่กับมาตรการทางกฎหมาย และองค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งมากกว่า 7. กรธ.ตั้งใจว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นสากล แต่ระบบจัดสรรปันส่วนไม่เป็นสากล การกล่าวอ้างว่าไทยไม่จำเป็นต้องลอกตำราฝรั่งนั้น ต้องถามว่าระบบรัฐสภา องค์กรอิสระ การแบ่งแยกอำนาจ เราคิดเองหรือนำองค์ความรู้มาจากต่างประเทศ และ 8.พรรคเพื่อไทยเห็นว่าปัญหาของการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเพราะระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ดี แต่เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ปัญหาที่ผู้แพ้การเลือกตั้งไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และใช้วิธีการเพื่อบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้องค์กรและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นต้น
พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมไม่ใช่เป็นระบบที่เป็นสากล และไม่ใช่ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยและการเมืองไทย เป็นระบบที่จะสร้างปัญหามากกว่าจะแก้ปัญหา ระบบที่ กรธ.จะนำมาใช้นั้น ยังไม่เคยใช้มาก่อน ควรต้องศึกษา ผลดี ผลเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้ถ่องแท้ เนื่องจากประเทศชาติไม่ใช่เครื่องทดลองทางความคิดของ กรธ.ที่คิดอะไรได้ก็จะนำมาใช้ทันที ระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้นควรใช้ระบบการเลือกตั้งแบบผสมตามรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 เป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบการเลือกตั้งที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนและเปิดโอกาสให้เลือกทั้งคนและพรรค โดยไม่ตัดคะแนนใด ๆ ที่ประชาชนมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคที่แพ้เลือกตั้ง หรือที่ชนะเลือกตั้งก็ตาม
2.การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ไม่อาจทราบถึงความต้องการของประชาชนว่าจะเลือกผู้สมัคร หรือเลือกพรรคการเมือง เป็นการจำกัดสิทธิประชาชน ไม่ได้สะท้อนความต้องการอันแท้จริง 3.พรรคที่ชนะการเลือกตั้งในระบบเขตมีจำนวน ส.ส. มาก อาจไม่ใช่พรรคเสียงข้างมากในสภา เพราะถูกตัดคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อออกไปหมด 4.ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่นำเสนอนั้น ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง และระบบนี้จะทำให้พรรคการเมืองไม่ต้องแข่งขันกันด้านนโยบายมากนัก เพราะถึงจะแพ้การเลือกตั้ง ก็นำคะแนนที่แพ้มาคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้อยู่แล้ว
5. ระบบจัดสรรปันส่วน ไม่ใช่ระบบสัดส่วนซึ่งเป็นระบบที่แท้จริงในการสะท้อนทุกคะแนนไม่ให้สูญเปล่า 6.ระบบจัดสรรปันส่วนผสม ไม่ได้ส่งผลให้การซื้อสิทธิขายเสียงลดน้อยลง เพราะขึ้นอยู่กับมาตรการทางกฎหมาย และองค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งมากกว่า 7. กรธ.ตั้งใจว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นสากล แต่ระบบจัดสรรปันส่วนไม่เป็นสากล การกล่าวอ้างว่าไทยไม่จำเป็นต้องลอกตำราฝรั่งนั้น ต้องถามว่าระบบรัฐสภา องค์กรอิสระ การแบ่งแยกอำนาจ เราคิดเองหรือนำองค์ความรู้มาจากต่างประเทศ และ 8.พรรคเพื่อไทยเห็นว่าปัญหาของการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเพราะระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ดี แต่เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ปัญหาที่ผู้แพ้การเลือกตั้งไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และใช้วิธีการเพื่อบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้องค์กรและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นต้น
พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมไม่ใช่เป็นระบบที่เป็นสากล และไม่ใช่ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยและการเมืองไทย เป็นระบบที่จะสร้างปัญหามากกว่าจะแก้ปัญหา ระบบที่ กรธ.จะนำมาใช้นั้น ยังไม่เคยใช้มาก่อน ควรต้องศึกษา ผลดี ผลเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้ถ่องแท้ เนื่องจากประเทศชาติไม่ใช่เครื่องทดลองทางความคิดของ กรธ.ที่คิดอะไรได้ก็จะนำมาใช้ทันที ระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้นควรใช้ระบบการเลือกตั้งแบบผสมตามรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 เป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบการเลือกตั้งที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนและเปิดโอกาสให้เลือกทั้งคนและพรรค โดยไม่ตัดคะแนนใด ๆ ที่ประชาชนมอบให้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคที่แพ้เลือกตั้ง หรือที่ชนะเลือกตั้งก็ตาม