กองทัพเรือสหรัฐฯ มีแผนจะส่งเรือตรวจการณ์ลาดตระเวนเข้าไปภายในรัศมี 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะเทียมของปักกิ่งในทะเลจีนใต้ประมาณ 2 ครั้งทุกๆ 3 เดือน เพื่อย้ำเตือนให้จีนและชาติอื่นๆ ตระหนักถึงสิทธิของสหรัฐฯ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ขณะที่ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของอเมริกาก็พูดย้ำที่ปักกิ่งในวันอังคาร (3) ว่า กองทัพสหรัฐฯจะยังคงออกปฏิบัติการในน่านน้ำและน่านฟ้าทุกหนแห่งซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอนุญาต อย่างไรก็ตาม ความพยายามของวอชิงตันและโตเกียวในการผลักดันประเด็นนี้เข้าไปในคำแถลงร่วมที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมเอเชีย-แปซฟิก ทำท่าจะล้มเหลว
สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำแผนปฏิบัติการของกองทัพเรือออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ระบุว่า เรือรบอเมริกันจะออกไปตรวจการณ์ถึงภายในเขตน่านน้ำ 12 ไมล์ทะเลของเกาะเทียมต่างๆ ซึ่งจีนสร้างขึ้นในทะเลจีนใต้ ประมาณไตรมาสละ 2 ครั้งหรือบ่อยกว่านั้นเล็กน้อย เพราะเห็นว่าความถี่ขนาดนี้กำลังพอดี ไม่เป็นการยั่วยุจนเกินไป และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการแสดงสิทธิของอเมริกาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศอยู่เป็นกิจวัตร รวมทั้งเตือนจีนและชาติอื่นๆ เกี่ยวกับจุดยืนของสหรัฐฯ
ทางด้าน เบน โรดส์ รองที่ปรึกษาด้านความมั่นคงภายในของสหรัฐฯ ก็กล่าวที่กรุงวอชิงตันในวันจันทร์ (2) ว่า กองทัพสหรัฐฯ จะมีการแสดงออกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ในการปกป้องเสรีภาพการเดินเรือในทะเลจีนใต้
ในอีกด้านหนึ่ง มีรายงานว่าในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมของชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน ร่วมทั้งประเทศอื่นๆ ในแถบนี้ ดังเช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, และออสเตรเลีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันพุธ (4) นี้ วอชิงตันกับโตเกียวพยายามที่จะผลักดันให้คำแถลงสุดท้ายของที่ประชุมบรรจุเรื่องทะเลจีนใต้เข้าไว้ด้วย
เจ้าหน้าที่กลาโหมอาวุโสคนหนึ่งของสหรัฐฯ เผยว่า ปักกิ่งประกาศชัดเจนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ว่า ไม่ต้องการให้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมคราวนี้ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นต่างออกไป
แหล่งข่าววงในยังเผยว่า ญี่ปุ่นเรียกร้องให้มาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม “ปรับปรุง” ร่างคำแถลงที่จัดภาพเตรียมไว้ โดยเพิ่มเติมประเด็นทะเลจีนใต้เข้าไปด้วย
กระนั้น ร่างคำแถลงที่มาเลเซียจัดเตรียมยังไม่มีการพาดพิงถึงประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในการกล่าวเปิดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมเฉพาะ 10 ชาติอาเซียนเมื่อวันอังคาร (3) ไฮชามมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย ยังไม่กล่าวถึงสถานการณ์ทะเลจีนใต้แม้แต่น้อย
สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำแผนปฏิบัติการของกองทัพเรือออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ระบุว่า เรือรบอเมริกันจะออกไปตรวจการณ์ถึงภายในเขตน่านน้ำ 12 ไมล์ทะเลของเกาะเทียมต่างๆ ซึ่งจีนสร้างขึ้นในทะเลจีนใต้ ประมาณไตรมาสละ 2 ครั้งหรือบ่อยกว่านั้นเล็กน้อย เพราะเห็นว่าความถี่ขนาดนี้กำลังพอดี ไม่เป็นการยั่วยุจนเกินไป และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการแสดงสิทธิของอเมริกาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศอยู่เป็นกิจวัตร รวมทั้งเตือนจีนและชาติอื่นๆ เกี่ยวกับจุดยืนของสหรัฐฯ
ทางด้าน เบน โรดส์ รองที่ปรึกษาด้านความมั่นคงภายในของสหรัฐฯ ก็กล่าวที่กรุงวอชิงตันในวันจันทร์ (2) ว่า กองทัพสหรัฐฯ จะมีการแสดงออกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ในการปกป้องเสรีภาพการเดินเรือในทะเลจีนใต้
ในอีกด้านหนึ่ง มีรายงานว่าในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมของชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน ร่วมทั้งประเทศอื่นๆ ในแถบนี้ ดังเช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, และออสเตรเลีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันพุธ (4) นี้ วอชิงตันกับโตเกียวพยายามที่จะผลักดันให้คำแถลงสุดท้ายของที่ประชุมบรรจุเรื่องทะเลจีนใต้เข้าไว้ด้วย
เจ้าหน้าที่กลาโหมอาวุโสคนหนึ่งของสหรัฐฯ เผยว่า ปักกิ่งประกาศชัดเจนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ว่า ไม่ต้องการให้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมคราวนี้ ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นต่างออกไป
แหล่งข่าววงในยังเผยว่า ญี่ปุ่นเรียกร้องให้มาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม “ปรับปรุง” ร่างคำแถลงที่จัดภาพเตรียมไว้ โดยเพิ่มเติมประเด็นทะเลจีนใต้เข้าไปด้วย
กระนั้น ร่างคำแถลงที่มาเลเซียจัดเตรียมยังไม่มีการพาดพิงถึงประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในการกล่าวเปิดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมเฉพาะ 10 ชาติอาเซียนเมื่อวันอังคาร (3) ไฮชามมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย ยังไม่กล่าวถึงสถานการณ์ทะเลจีนใต้แม้แต่น้อย