พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดค้านการดำเนินการเรียกเก็บค่าเสียหายในโครงการจำนำข้าวด้วยการออกคำสั่งทางการปกครองว่า เนื่องจากนายกฯอยากให้สังคมเข้าใจ รับรู้ และรับทราบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมาย สาเหตุที่รัฐบาลต้องดำเนินการต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะกระทรวงการคลังได้รับเรื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 58 ไม่ได้มโนขึ้นเอง เมื่อได้รับเรื่องนายกฯกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงต้องออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ไม่ทำไม่ได้ เพราะเราเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องดูแลประโยชน์ของประเทศชาติ สาเหตุที่ต้องใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะในมาตรา 4 ระบุว่าเจ้าหน้าที่หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะกรรมการหรือฐานะอื่นใด ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์เข้าทั้งสองข้อเลยคือ เป็นข้าราชการการเมือง และเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะขอยื่นพยานหลักฐานนั้น ยินดีเลย ไม่เคยปิดกั้น แต่ต้องเท้าความว่าคณะกรรมการฯได้เคยเชิญมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกน.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบกลับมาว่าเชิญมาในฐานะอะไร พอแล้วตอบไปครั้งที่สองท่านก็ตอบกลับมาว่าจะถามอะไร ซึ่งเข้าใจว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการตอบเป็นเอกสาร จะเป็นเพราะว่าท่านอธิบายความแล้วคนฟังไม่เข้าใจเลยเขียนมาดีกว่า ซึ่งการถามไปและตอบมาแบบนี้แสดงออกว่าท่านต้องการประวิงเวลา ไม่อยากมา ดังนั้น ไม่ใช่เราไม่เคยเชิญ แต่เขาไม่มา ตอนนี้หากอยากจะยื่นพยานหลักฐานเรายินดี ยังไม่สาย ให้มาเลย คณะกรรมการจะได้มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดครบถ้วน แต่สิ่งที่ตอบมาครั้งก่อนๆ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอ่านสาระที่ตอบมาแล้วไม่สามารถเอามาใช้ได้เลย
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า ส่วนทนายความถามว่าทำไมคนอื่นถึงไม่โดนกรณีแบบนี้ ก็เพราะไม่มีใครทำผิดเหมือนน.ส.ยิ่งลักษณ์ การจะทำอย่างนี้ได้จะต้องมีหนังสือจากป.ป.ช.มา ไม่ใช่รัฐบาลมโน ถ้าแจ้งมาก็ดำเนินการไม่เคยละเว้น และที่มีความพยายามที่จะเบี่ยงเบนอีกว่า เรื่องนี้มีพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยมาตรา 4 เขียนว่า มิให้ใช้บังคับแก่รัฐสภาและครม. แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการดำเนินการกับครม. แต่เป็นการดำเนินการรายบุคคล อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ พล.อ.ประยุทธ์มีส่วนเกี่ยวพันเพียงครึ่งแรกเท่านั้น คือ ในขั้นของการลงนามร่วมกับการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมกาตรวจสอบข้อเท็จจริงตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อดำเนินการสอบเสร็จเรียบร้อยแล้วการที่จะออกคำสั่งจะต้องดูในมาตรา 5 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ดังกล่าวที่ระบุว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานดูให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้สังกัดหน่วยใด ดังนั้นคนลงนามจึงต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
"คุณยิ่งลักษณ์กับทนายจะบ่นทำไมหากเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลกระทำอยู่ขณะนี้เป็นกระบวนการที่ผิด ไม่ถูกกฎหมาย จะมาสอนโจทก์ทำไม ปล่อยให้รัฐบาลทำแบบผิดๆ แบบนี้ไปสิ พอถึงขั้นศาลปกครอง ถ้าศาลปกครองเห็นด้วยกับคุณ คุณก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ จะมาร้องแรกแหกกระเชอทำไม นายกฯเน้นย้ำว่า เราจะดำเนินการทุกอย่างไปตามข้อกฎหมาย นายกฯเป็นห่วงว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการดำเนินการตามโรดแมป มีเรื่องรัฐธรรมนูญ การสร้างความปรองดอง ท่านจึงไม่อยากให้สิ่งต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมาในสังคมเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ประเทศไทยจะเดินหน้าได้ประชาชนต้องรู้ขอเท็จจริง ถ้าผิดเพี้ยนการทำความเข้ใจจะยาก กรณีต่างๆ จะมีคำอธิบายออกมา" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะขอยื่นพยานหลักฐานนั้น ยินดีเลย ไม่เคยปิดกั้น แต่ต้องเท้าความว่าคณะกรรมการฯได้เคยเชิญมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกน.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบกลับมาว่าเชิญมาในฐานะอะไร พอแล้วตอบไปครั้งที่สองท่านก็ตอบกลับมาว่าจะถามอะไร ซึ่งเข้าใจว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการตอบเป็นเอกสาร จะเป็นเพราะว่าท่านอธิบายความแล้วคนฟังไม่เข้าใจเลยเขียนมาดีกว่า ซึ่งการถามไปและตอบมาแบบนี้แสดงออกว่าท่านต้องการประวิงเวลา ไม่อยากมา ดังนั้น ไม่ใช่เราไม่เคยเชิญ แต่เขาไม่มา ตอนนี้หากอยากจะยื่นพยานหลักฐานเรายินดี ยังไม่สาย ให้มาเลย คณะกรรมการจะได้มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดครบถ้วน แต่สิ่งที่ตอบมาครั้งก่อนๆ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอ่านสาระที่ตอบมาแล้วไม่สามารถเอามาใช้ได้เลย
พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า ส่วนทนายความถามว่าทำไมคนอื่นถึงไม่โดนกรณีแบบนี้ ก็เพราะไม่มีใครทำผิดเหมือนน.ส.ยิ่งลักษณ์ การจะทำอย่างนี้ได้จะต้องมีหนังสือจากป.ป.ช.มา ไม่ใช่รัฐบาลมโน ถ้าแจ้งมาก็ดำเนินการไม่เคยละเว้น และที่มีความพยายามที่จะเบี่ยงเบนอีกว่า เรื่องนี้มีพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยมาตรา 4 เขียนว่า มิให้ใช้บังคับแก่รัฐสภาและครม. แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการดำเนินการกับครม. แต่เป็นการดำเนินการรายบุคคล อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ พล.อ.ประยุทธ์มีส่วนเกี่ยวพันเพียงครึ่งแรกเท่านั้น คือ ในขั้นของการลงนามร่วมกับการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมกาตรวจสอบข้อเท็จจริงตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อดำเนินการสอบเสร็จเรียบร้อยแล้วการที่จะออกคำสั่งจะต้องดูในมาตรา 5 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ดังกล่าวที่ระบุว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานดูให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้สังกัดหน่วยใด ดังนั้นคนลงนามจึงต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
"คุณยิ่งลักษณ์กับทนายจะบ่นทำไมหากเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลกระทำอยู่ขณะนี้เป็นกระบวนการที่ผิด ไม่ถูกกฎหมาย จะมาสอนโจทก์ทำไม ปล่อยให้รัฐบาลทำแบบผิดๆ แบบนี้ไปสิ พอถึงขั้นศาลปกครอง ถ้าศาลปกครองเห็นด้วยกับคุณ คุณก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ จะมาร้องแรกแหกกระเชอทำไม นายกฯเน้นย้ำว่า เราจะดำเนินการทุกอย่างไปตามข้อกฎหมาย นายกฯเป็นห่วงว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการดำเนินการตามโรดแมป มีเรื่องรัฐธรรมนูญ การสร้างความปรองดอง ท่านจึงไม่อยากให้สิ่งต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมาในสังคมเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ประเทศไทยจะเดินหน้าได้ประชาชนต้องรู้ขอเท็จจริง ถ้าผิดเพี้ยนการทำความเข้ใจจะยาก กรณีต่างๆ จะมีคำอธิบายออกมา" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว