ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกนอกคั้นกันน้ำ และตรวจประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองแสนแสบ ซอยประชาร่วมใจ มีนบุรี
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม เป็นต้นมา ส่งผลให้น้ำในคลองซอยและคลองสายหลักต่างๆ ในพื้นที่เขตตะวันออก เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองแสนแสบ มีระดับน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้เอ่อล้นเข้าท่วมขังในชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง 4 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก ลาดกระบัง คลองสามวา และมีนบุรี
จากการสำรวจพบว่า หมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่สร้างมาเป็นเวลานาน ระบบท่อระบายน้ำจึงมีขนาดเล็ก และบางแห่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักต่อเนื่องจึงส่งผลให้มีน้ำท่วมขังรอการระบาย
อย่างไรก็ตาม สำนักงานเขตได้เข้าช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายสู่คลองย่อยในพื้นที่ใกล้เคียง และส่งต่อไปยังคลองสายหลัก เช่น คลองแสนแสบ พร้อมทั้งประสานสำนักการระบายน้ำในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำ คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า พื้นที่ด้านตะวันออกยังมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1.7 แสนไร่ ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำจึงต้องคำนึงถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังควบคู่ไปกับการกักเก็บน้ำให้เพียงพอสำหรับฤดูแล้ง เนื่องจากกรมชลประทานแจ้งเตือนสถานการณ์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยายังน่าเป็นห่วง หลังจากหมดช่วงฤดูฝนแล้ว ปีหน้า หลายพื้นที่อาจประสบปัญหาภัยแล้งหนักกว่าปีนี้ จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เร่งทำความเข้าใจกับชาวเกษตรกรรมในพื้นที่ หันมาปลูกพืชทดแทนที่ใช้น้ำน้อย หรือสร้างอาชีพเสริม ตลอดจนหาตลาดรองรับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม เป็นต้นมา ส่งผลให้น้ำในคลองซอยและคลองสายหลักต่างๆ ในพื้นที่เขตตะวันออก เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองแสนแสบ มีระดับน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้เอ่อล้นเข้าท่วมขังในชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง 4 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก ลาดกระบัง คลองสามวา และมีนบุรี
จากการสำรวจพบว่า หมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่สร้างมาเป็นเวลานาน ระบบท่อระบายน้ำจึงมีขนาดเล็ก และบางแห่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักต่อเนื่องจึงส่งผลให้มีน้ำท่วมขังรอการระบาย
อย่างไรก็ตาม สำนักงานเขตได้เข้าช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายสู่คลองย่อยในพื้นที่ใกล้เคียง และส่งต่อไปยังคลองสายหลัก เช่น คลองแสนแสบ พร้อมทั้งประสานสำนักการระบายน้ำในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำ คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า พื้นที่ด้านตะวันออกยังมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1.7 แสนไร่ ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำจึงต้องคำนึงถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังควบคู่ไปกับการกักเก็บน้ำให้เพียงพอสำหรับฤดูแล้ง เนื่องจากกรมชลประทานแจ้งเตือนสถานการณ์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยายังน่าเป็นห่วง หลังจากหมดช่วงฤดูฝนแล้ว ปีหน้า หลายพื้นที่อาจประสบปัญหาภัยแล้งหนักกว่าปีนี้ จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เร่งทำความเข้าใจกับชาวเกษตรกรรมในพื้นที่ หันมาปลูกพืชทดแทนที่ใช้น้ำน้อย หรือสร้างอาชีพเสริม ตลอดจนหาตลาดรองรับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน