รายงานข่าวจากเรือนจำกลางบางขวาง เปิดเผยว่า ขณะนี้ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือ "ผู้พันตึ๋ง" ผู้ต้องขังคดีฆาตกรรมนายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เมื่อปี 2544 ได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ และถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำกลางบางขวางแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา
สำหรับ "ผู้พันตึ๋ง" นั้น ต้องโทษคดีฆาตกรรมผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเห็นตามศาลชั้นต้น และในปี 2549 ศาลฎีกามีคำพิพากษาสิ้นสุดยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต กระทั่งวันที่ 9 ธ.ค. 2550 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ลดโทษประหารชีวิต เหลือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ ผู้พันตึ๋งยังได้รับการอภัยโทษหลายครั้งในโอกาสสำคัญต่างๆ จนเหลือโทษประมาณ 17 ปี และถูกจำคุกมาแล้ว 14 ปี
ทั้งนี้ ผู้พันตึ๋งได้รับการพักการลงโทษตามเงื่อนไข คือเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ได้รับโทษมาแล้วเกิน 2 ใน 3 เหลือระยะเวลาพักการลงโทษ 2 ปี 9 เดือน 15 วัน สำหรับกรณีดังกล่าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์พักการลงโทษ โดยเรือนจำทำหน้าที่เสนอรายชื่อผู้ต้องขังที่เข้าเงื่อนไขพักการลงโทษ เพื่อให้คณะกรรมการของกรมราชทัณฑ์พิจารณาตามขั้นตอน
โดยหลังจากนี้ ผู้พันตึ๋งต้องไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ จนครบกำหนดเวลาคุมประพฤติในช่วงพักการลงโทษอีก 2 ปี 9 เดือน 5 วัน กับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจังหวัดนนทบุรี
อนึ่ง สำหรับการอภัยโทษครั้งใหญ่ที่มีขึ้นบ่อย คือในช่วงในปี 2553 - 2555 ซึ่งมีการอภัยโทษครั้งใหญ่ติดๆ กัน 3 ปีซ้อน ทำให้ผู้ต้องโทษประหารในคดีอาญาทั่วไปทุกราย ได้รับการอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต และต่อมาปี 2554 ลดอีกครึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 50 ปี จากนั้นปี 2555 ได้ลดอีกครึ่งหนึ่งเหลือ 25 ปี
สำหรับ "ผู้พันตึ๋ง" นั้น ต้องโทษคดีฆาตกรรมผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเห็นตามศาลชั้นต้น และในปี 2549 ศาลฎีกามีคำพิพากษาสิ้นสุดยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต กระทั่งวันที่ 9 ธ.ค. 2550 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ลดโทษประหารชีวิต เหลือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ ผู้พันตึ๋งยังได้รับการอภัยโทษหลายครั้งในโอกาสสำคัญต่างๆ จนเหลือโทษประมาณ 17 ปี และถูกจำคุกมาแล้ว 14 ปี
ทั้งนี้ ผู้พันตึ๋งได้รับการพักการลงโทษตามเงื่อนไข คือเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ได้รับโทษมาแล้วเกิน 2 ใน 3 เหลือระยะเวลาพักการลงโทษ 2 ปี 9 เดือน 15 วัน สำหรับกรณีดังกล่าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์พักการลงโทษ โดยเรือนจำทำหน้าที่เสนอรายชื่อผู้ต้องขังที่เข้าเงื่อนไขพักการลงโทษ เพื่อให้คณะกรรมการของกรมราชทัณฑ์พิจารณาตามขั้นตอน
โดยหลังจากนี้ ผู้พันตึ๋งต้องไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ จนครบกำหนดเวลาคุมประพฤติในช่วงพักการลงโทษอีก 2 ปี 9 เดือน 5 วัน กับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจังหวัดนนทบุรี
อนึ่ง สำหรับการอภัยโทษครั้งใหญ่ที่มีขึ้นบ่อย คือในช่วงในปี 2553 - 2555 ซึ่งมีการอภัยโทษครั้งใหญ่ติดๆ กัน 3 ปีซ้อน ทำให้ผู้ต้องโทษประหารในคดีอาญาทั่วไปทุกราย ได้รับการอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต และต่อมาปี 2554 ลดอีกครึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 50 ปี จากนั้นปี 2555 ได้ลดอีกครึ่งหนึ่งเหลือ 25 ปี