นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง จะเกิดขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ (28 ก.ย.2558) แต่ในประเทศไทยไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เนื่องจากตรงกับเวลากลางวัน ซึ่งดวงจันทร์ยังอยู่ใต้ขอบฟ้า โดยปรากฏการณ์ครั้งนี้จะสังเกตเห็นได้ในแถบอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป แอฟริกา และด้านตะวันตกของเอเชีย ขณะเดียวกันดวงจันทร์เต็มดวงจะโคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 356,876 กม. ทำให้มองเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณร้อยละ 2-3 หรือที่เรียกกันว่า Supermoon ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถมองเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงสีแดงอิฐที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติอีกด้วย
หากสังเกตตามเวลาในไทย ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 07.11 น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวง มีสีแดงอิฐ ตั้งแต่เวลา 09.11-10.23 น. จนกระทั่งออกจากเงามืดของโลกทั้งดวงในเวลา 11.27 น. แล้วจะเปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัว โดยจะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 12.28 น. ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดของปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงโดยสมบูรณ์
สำหรับจันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปทีละน้อยจนดวงจันทร์เข้าไปอยู่เงามืดทั้งดวง โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก นับเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพียง 5 ครั้ง ได้แก่ พ.ศ.2453 2471 2489 2507 2525 และครั้งที่ 6 วันที่ 28 ก.ย.นี้ และจะเกิดครั้งต่อไปในปี 2576 แม้ว่าคนไทยจะพลาดชมจันทรุปราคาเต็มดวง แต่ในคืนวันที่ 28 กันยายน ก็ยังมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี สามารถรอชมและเก็บภาพความสวยงามกันได้ทั่วประเทศ
หากสังเกตตามเวลาในไทย ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 07.11 น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวง มีสีแดงอิฐ ตั้งแต่เวลา 09.11-10.23 น. จนกระทั่งออกจากเงามืดของโลกทั้งดวงในเวลา 11.27 น. แล้วจะเปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัว โดยจะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 12.28 น. ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดของปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงโดยสมบูรณ์
สำหรับจันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปทีละน้อยจนดวงจันทร์เข้าไปอยู่เงามืดทั้งดวง โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก นับเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพียง 5 ครั้ง ได้แก่ พ.ศ.2453 2471 2489 2507 2525 และครั้งที่ 6 วันที่ 28 ก.ย.นี้ และจะเกิดครั้งต่อไปในปี 2576 แม้ว่าคนไทยจะพลาดชมจันทรุปราคาเต็มดวง แต่ในคืนวันที่ 28 กันยายน ก็ยังมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี สามารถรอชมและเก็บภาพความสวยงามกันได้ทั่วประเทศ