มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดัง ปรับความน่าเชื่อถือของธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์เป็นติดลบ หรือมีโอกาส 50% ที่จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือภายในระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่ประกาศ ภายหลังจากที่ทั้งสองธนาคารดังกล่าวต้องตั้งสำรองหนี้ของหนี้บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (เอสเอสไอ)
นอกจากนี้ ไซมอน เฉิน ระบุอีกว่า แม้ทางมูดี้ส์จะคาดการณ์การขยายตัวสัดส่วนเงินทุนสำรองของทั้งสองธนาคารภายในปี 2015 โดยสามารถปรับขึ้นได้ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง และสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรตามจากกรณีหนี้เอสเอสไอ ส่งผลให้สัดส่วนดังกล่าวจะยังคงไม่ขยายตัวในปี 2015 นี้
การเปิดเผยดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี ยุติการผลิตเหล็กที่โรงงานเอสเอสไอทีไซด์ ซึ่งเป็นธุรกิจโรงถลุงเหล็กเอสเอสไอในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้บรรดาเจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ไทยพาณิชย์ และทิสโก้ ต้องตั้งสำรองหนี้ที่มีความเสี่ยงกลายเป็นหนี้สูญ มูลค่าราว 5.33 ล้านบาท โดยกรุงไทยและไทยพาณิชย์แบกรับมูลค่าหนี้อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท
มูดี้ส์ ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหวิริยาสตีลอินดัสตรีถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยตกต่ำลง รวมถึงยังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ในภาคเอกชนของไทยอีกด้วย
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสียในภาคส่วนเอกชนขนาดใหญ่ยังทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของธนาคารไทยปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมูลค่าหนี้แต่ละก้อนมีขนาดใหญ่ ดังนั้นหนี้เพียงไม่กี่ก้อนที่มีปัญหาจึงเพียงพอต่อการเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์ ระบุว่า แม้ภาพรวมเงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของไทยจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ทว่าภาพรวมหนี้ในบริษัทใหญ่ของไทยยังคงยืดหยุ่นอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ ไซมอน เฉิน ระบุอีกว่า แม้ทางมูดี้ส์จะคาดการณ์การขยายตัวสัดส่วนเงินทุนสำรองของทั้งสองธนาคารภายในปี 2015 โดยสามารถปรับขึ้นได้ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง และสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรตามจากกรณีหนี้เอสเอสไอ ส่งผลให้สัดส่วนดังกล่าวจะยังคงไม่ขยายตัวในปี 2015 นี้
การเปิดเผยดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี ยุติการผลิตเหล็กที่โรงงานเอสเอสไอทีไซด์ ซึ่งเป็นธุรกิจโรงถลุงเหล็กเอสเอสไอในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้บรรดาเจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ไทยพาณิชย์ และทิสโก้ ต้องตั้งสำรองหนี้ที่มีความเสี่ยงกลายเป็นหนี้สูญ มูลค่าราว 5.33 ล้านบาท โดยกรุงไทยและไทยพาณิชย์แบกรับมูลค่าหนี้อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท
มูดี้ส์ ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหวิริยาสตีลอินดัสตรีถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยตกต่ำลง รวมถึงยังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ในภาคเอกชนของไทยอีกด้วย
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสียในภาคส่วนเอกชนขนาดใหญ่ยังทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของธนาคารไทยปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมูลค่าหนี้แต่ละก้อนมีขนาดใหญ่ ดังนั้นหนี้เพียงไม่กี่ก้อนที่มีปัญหาจึงเพียงพอต่อการเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์ ระบุว่า แม้ภาพรวมเงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของไทยจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ทว่าภาพรวมหนี้ในบริษัทใหญ่ของไทยยังคงยืดหยุ่นอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลง