สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 20 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของตลาดหุ้นและการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้กระตุ้นให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 22.30 ดอลลาร์ หรือ 1.97% ปิดที่ 1,153.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนหลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ โดยเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลงจะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นในสหรัฐยังกระตุ้นให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำด้วยความปลอดภัย โดยตลาดหุ้นอ่อนแรงลงเนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีการคาดการณ์กันว่านางเยลเลนอาจจะส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากที่ราคาน้ำมันร่วงลงไปกว่า 4% เมื่อวันพุธ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำอย่างคึกคักด้วย
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 43 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 44.91 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 48.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงไปกว่า 4% เมื่อวันพุธ อันเนื่องมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 218.8 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย. เพิ่มขึ้น 19,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.136 ล้านบาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ โดยเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลงจะทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลนจะแถลงมุมมองด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนของสหัฐ และการร่วงลงของหุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ หลังจากทางบริษัทประกาศปลดพนักงาน 10,000 คนเพื่อลดการใช้จ่าย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,201.32 จุด ลดลง 78.57 จุด หรือ -0.48% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,734.48 จุด ลดลง 18.26 จุด หรือ -0.38% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 1,932.24 จุด ลดลง 6.52 จุด หรือ -0.34%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซาเมื่อคืนนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนเมื่อคืนนี้ โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส.ค.ลดลง 2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 5.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 552,000 ยูนิต และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 267,000 ราย
ขณะเดียวกันตลาดอ่อนแรงลงหลังจากบริษัทแคทเทอร์พิลลาร์ อิงค์ ประกาศปลดพนักงาน 10,000 คนจนถึงปี 2561 อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับลดค่าใช้จ่ายประจำปีลง 1.5 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทยังได้ปรับลดแนวโน้มรายได้ประจำปีนี้ลงราว 1 พันล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่ายอดขายในปีหน้าจะลดลง 5%
ข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ร่วงลง 2.5% และยังได้ฉุดราคาหุ้นเดียร์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง ปรับตัวลงกว่า 2.5% ด้วย
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพร่วงลง หลังจากนางฮิลลารี คลินตัน ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐได้ออกมาโจมตีบริษัทเวชภัณฑ์ที่กำหนดราคาสูงเกินไป โดยหุ้นไบโอเจน หุ้นเซลจีน และหุ้นเรเจเนรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 1.7%
นักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเยลเลน ประธานเฟดจะกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองแอมเฮิร์สท์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ในหัวข้อ "Inflation Dynamics and Monetary Policy" โดยมีการคาดการณ์กันว่า นางเยลเลนอาจจะส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการที่เจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาส่งสัญญาณในทิศทางที่แตกต่างกันนั้น ยังคงสร้างแรงกดดันต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงการเปิดเผยจีดีพีขั้นสุดท้ายช่วงไตรมาส 2/2558, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 22.30 ดอลลาร์ หรือ 1.97% ปิดที่ 1,153.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนหลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ โดยเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลงจะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นในสหรัฐยังกระตุ้นให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำด้วยความปลอดภัย โดยตลาดหุ้นอ่อนแรงลงเนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีการคาดการณ์กันว่านางเยลเลนอาจจะส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากที่ราคาน้ำมันร่วงลงไปกว่า 4% เมื่อวันพุธ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำอย่างคึกคักด้วย
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 43 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 44.91 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 48.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงไปกว่า 4% เมื่อวันพุธ อันเนื่องมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 218.8 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 ก.ย. เพิ่มขึ้น 19,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.136 ล้านบาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ โดยเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลงจะทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเจเน็ต เยลเลนจะแถลงมุมมองด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนของสหัฐ และการร่วงลงของหุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ หลังจากทางบริษัทประกาศปลดพนักงาน 10,000 คนเพื่อลดการใช้จ่าย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,201.32 จุด ลดลง 78.57 จุด หรือ -0.48% ดัชนีแนสแด็ก ปิดที่ 4,734.48 จุด ลดลง 18.26 จุด หรือ -0.38% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 1,932.24 จุด ลดลง 6.52 จุด หรือ -0.34%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซาเมื่อคืนนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนเมื่อคืนนี้ โดยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส.ค.ลดลง 2% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 5.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 552,000 ยูนิต และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 267,000 ราย
ขณะเดียวกันตลาดอ่อนแรงลงหลังจากบริษัทแคทเทอร์พิลลาร์ อิงค์ ประกาศปลดพนักงาน 10,000 คนจนถึงปี 2561 อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับลดค่าใช้จ่ายประจำปีลง 1.5 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทยังได้ปรับลดแนวโน้มรายได้ประจำปีนี้ลงราว 1 พันล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่ายอดขายในปีหน้าจะลดลง 5%
ข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ร่วงลง 2.5% และยังได้ฉุดราคาหุ้นเดียร์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง ปรับตัวลงกว่า 2.5% ด้วย
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพร่วงลง หลังจากนางฮิลลารี คลินตัน ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐได้ออกมาโจมตีบริษัทเวชภัณฑ์ที่กำหนดราคาสูงเกินไป โดยหุ้นไบโอเจน หุ้นเซลจีน และหุ้นเรเจเนรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 1.7%
นักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่นางเยลเลน ประธานเฟดจะกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองแอมเฮิร์สท์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ในหัวข้อ "Inflation Dynamics and Monetary Policy" โดยมีการคาดการณ์กันว่า นางเยลเลนอาจจะส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการที่เจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาส่งสัญญาณในทิศทางที่แตกต่างกันนั้น ยังคงสร้างแรงกดดันต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงการเปิดเผยจีดีพีขั้นสุดท้ายช่วงไตรมาส 2/2558, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน