น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 14 ก.ย.นี้ การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 31/2558 เตรียมพิจารณาวาระ (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ก่อนนำเสนอที่ประชุม กสทช. ต่อไป ซึ่งร่างประกาศฉบับนี้ ได้เชิญให้ผู้มีส่วนได้เสียให้ความเห็นชอบตั้งแต่เดือน ก.ย. – พ.ย. 57 โดยได้มีการปรับแก้ไขให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญต่อผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ต้องเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ทั้งบริการสาธารณะ ธุรกิจ หรืออื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนดต่อประชาชนโดยตรงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำซ้ำ ดัดแปลง ผังรายการ เนื้อหา หรือมาตรการความคมชัด โดยห้ามนำบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเผยแพร่ซ้ำในหมวดหมู่บริการโทรทัศน์อื่นๆ
ทั้งนี้ ตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดหมวดหมู่และการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ แต่หากจะนำไปเผยแพร่ซ้ำในหมวดหมู่อื่นๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้รับใบอนุญาตอาจขอยกเว้นการดำเนินการ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน ทั้งนี้ต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็น หรือหากมีเหตุจำเป็นทางด้านเทคนิค คณะกรรมการอาจพิจารณาเป็นอย่างอื่นก็ได้
น.ส.สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างประกาศเรียงช่องใหม่ตรงกันทุกกล่อง เคยผ่านการพิจารณาในบอร์ด กสท. และ บอร์ด กสทช. มาแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ผ่านเนื่องจากทางกลุ่มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีคัดค้าน ล่าสุดทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินได้ไปฟ้องศาลปกครองในประเด็นนี้ด้วย ซึ่ง กสท. ได้มีมติให้นำร่างประกาศฉบับนี้เสนอกรรมการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนตัวคิดว่าถ้าร่างนี้ผ่านแล้วมีการเรียงช่องฟรีทีวีตรงกันทุกกล่อง จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งาน และจะส่งผลดีต่อการแข่งขันกันที่คุณภาพเนื้อหาในอุตสาหกรรมทีวี แต่ก็คงต้องรอลุ้นมติ กสทช. ต่อไปว่าจะมีพลิกอีกหรือไม่ ส่วนตัวหวังว่าเรื่องนี้ที่ค้างคามานานจะได้จบลงด้วยดีสักที
ทั้งนี้ ตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดหมวดหมู่และการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ แต่หากจะนำไปเผยแพร่ซ้ำในหมวดหมู่อื่นๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้รับใบอนุญาตอาจขอยกเว้นการดำเนินการ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน ทั้งนี้ต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็น หรือหากมีเหตุจำเป็นทางด้านเทคนิค คณะกรรมการอาจพิจารณาเป็นอย่างอื่นก็ได้
น.ส.สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างประกาศเรียงช่องใหม่ตรงกันทุกกล่อง เคยผ่านการพิจารณาในบอร์ด กสท. และ บอร์ด กสทช. มาแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ผ่านเนื่องจากทางกลุ่มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีคัดค้าน ล่าสุดทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินได้ไปฟ้องศาลปกครองในประเด็นนี้ด้วย ซึ่ง กสท. ได้มีมติให้นำร่างประกาศฉบับนี้เสนอกรรมการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนตัวคิดว่าถ้าร่างนี้ผ่านแล้วมีการเรียงช่องฟรีทีวีตรงกันทุกกล่อง จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งาน และจะส่งผลดีต่อการแข่งขันกันที่คุณภาพเนื้อหาในอุตสาหกรรมทีวี แต่ก็คงต้องรอลุ้นมติ กสทช. ต่อไปว่าจะมีพลิกอีกหรือไม่ ส่วนตัวหวังว่าเรื่องนี้ที่ค้างคามานานจะได้จบลงด้วยดีสักที