นายคเณศ วังส์ไพจิตร ผู้อำนวยการสภาธุรกิจ ตลาดทุนไทย (FETCO) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ลงทุน 4 กลุ่ม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่มีต่อระดับดัชนีฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ยังมีปัจจัยฉุดจากเหตุการณ์ความไม่แน่นอนในช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนียังคงทรงตัวอยู่ในกรอบซบเซา
ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 59.57 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.02% จากเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 57.27 โดยนักลงทุนทุกกลุ่มมองไปในทิศทางเดียวกันว่าตลาดจะปรับตัวลงไปอยู่ในเกณฑ์ซบเซา โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศปรับตัวลดลงต่ำสุด ในรอบ 15 เดือน อยู่ที่ 40.00 จนแตะระดับซบเซาอย่างมาก ขณะที่ความเชื่อมั่นของ นักลงทุนรายบุคคลมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 63.60 หรือปรับเพิ่ม 8.27% ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่น นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่านโยบายด้านเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยบวกที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นมากที่สุด ส่วนปัจจัยเชิงลบที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นคือ เหตุการณ์ไม่แน่นอน ด้านหมวดอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนมากที่สุด คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่เหล็ก เป็นหมวดอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้น อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณเริ่มฟื้นตัว การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สงครามการเงินระหว่างมหาอำนาจของโลก ปัญหาการเมืองและสงครามระหว่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายในประเทศบางประการที่ส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้น เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพื่อใช้ในการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การประมูลคลื่นความถี่ 4G นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ สถานการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์ความไม่สงบ เป็นต้น
ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 59.57 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.02% จากเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 57.27 โดยนักลงทุนทุกกลุ่มมองไปในทิศทางเดียวกันว่าตลาดจะปรับตัวลงไปอยู่ในเกณฑ์ซบเซา โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศปรับตัวลดลงต่ำสุด ในรอบ 15 เดือน อยู่ที่ 40.00 จนแตะระดับซบเซาอย่างมาก ขณะที่ความเชื่อมั่นของ นักลงทุนรายบุคคลมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 63.60 หรือปรับเพิ่ม 8.27% ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่น นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่านโยบายด้านเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยบวกที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นมากที่สุด ส่วนปัจจัยเชิงลบที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นคือ เหตุการณ์ไม่แน่นอน ด้านหมวดอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนมากที่สุด คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่เหล็ก เป็นหมวดอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้น อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณเริ่มฟื้นตัว การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สงครามการเงินระหว่างมหาอำนาจของโลก ปัญหาการเมืองและสงครามระหว่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายในประเทศบางประการที่ส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้น เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพื่อใช้ในการลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การประมูลคลื่นความถี่ 4G นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ สถานการณ์ทางการเมือง และเหตุการณ์ความไม่สงบ เป็นต้น