นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม ติดลบร้อยละ 5.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มติดลบลดลงกว่าช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมติดลบประมาณร้อยละ 7-8 เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารที่การผลิตภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ที่เน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นหลัก จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวมีรายได้และการบริโภคมากขึ้น จะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นได้ รวมทั้งนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลเชิงบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงต่อไป
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม ติดลบร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลง ตามการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ภาพรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.58) การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมติดลบร้อยละ 2.9 สอดคล้องการภาพรวมการส่งออกของประเทศในช่วง 7 เดือนที่ติดลบร้อยละ 4.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 58.74 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการใช้อัตราการผลิตอยู่ที่ 60.07
อย่างไรก็ตามขณะนี้คงไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้มากนัก จะเห็นได้ว่าบางประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบายโดยให้ความสำคัญเศรษฐกิจในประเทศมากกว่าการส่งออก สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันคงเป็นเรื่องยากที่จะใช้การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นในประเทศมากขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นๆที่จะเห็นผลในปีนี้ ส่วนการประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรม ยังไม่มีการปรับประมาณการ เพราะยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณา โดยยังคงเป้าดัชนีผลผลิตอุตฯ ปีนี้ไว้ว่า จะขยายตัวร้อยละ 3-4 ส่วนตัวเลขจีดีพีอุตสาหกรรมปีนี้ก็ยังคงไว้ที่ร้อยละ 2-3 แต่จะพิจารณาทบทวนตัวเลขดังกล่าวใหม่อีกครั้งในช่วงสิ้นไตรมาส 3
ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ที่เน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นหลัก จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวมีรายได้และการบริโภคมากขึ้น จะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นได้ รวมทั้งนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลเชิงบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงต่อไป
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม ติดลบร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลง ตามการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ภาพรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.58) การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมติดลบร้อยละ 2.9 สอดคล้องการภาพรวมการส่งออกของประเทศในช่วง 7 เดือนที่ติดลบร้อยละ 4.7 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 58.74 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการใช้อัตราการผลิตอยู่ที่ 60.07
อย่างไรก็ตามขณะนี้คงไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้มากนัก จะเห็นได้ว่าบางประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบายโดยให้ความสำคัญเศรษฐกิจในประเทศมากกว่าการส่งออก สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันคงเป็นเรื่องยากที่จะใช้การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นในประเทศมากขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นๆที่จะเห็นผลในปีนี้ ส่วนการประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรม ยังไม่มีการปรับประมาณการ เพราะยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณา โดยยังคงเป้าดัชนีผลผลิตอุตฯ ปีนี้ไว้ว่า จะขยายตัวร้อยละ 3-4 ส่วนตัวเลขจีดีพีอุตสาหกรรมปีนี้ก็ยังคงไว้ที่ร้อยละ 2-3 แต่จะพิจารณาทบทวนตัวเลขดังกล่าวใหม่อีกครั้งในช่วงสิ้นไตรมาส 3