นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กระทรวงการคลัง รวบรวมมาตรการและยุทธ์ศาสตร์ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของทุกกรมและหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลกระทรวงการคลัง เพื่อเตรียมเสนอให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังคนใหม่ รับทราบและพิจารณาโครงการและมาตรการต่างๆ ภายหลังที่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ รมว.คลังคนใหม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายไว้ได้ทันที
ทั้งนี้ มาตรการที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ รมว.การคลัง พิจารณา แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้นประกอบด้วย มาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐ (แบงก์รัฐ) ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถมาประกอบอาชีพได้ตามปกติ รวมถึงแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งงบประจำและงบลงทุน ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของงบประมาณปี 2558 และแนวทางการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2559
ขณะที่ มาตรการระยะยาวประกอบด้วย การปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่รัฐบาลต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมในสังคม โดยต้องรอให้ รมว.การคลัง พิจารณาและเห็นชอบ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อบริหารจัดการหนี้ที่รัฐบาลค้างจ่าย วงเงิน 7.3 แสนล้านบาท ด้วยการออกกฎหมายพิเศษล้างหนี้ของประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าและดำเนินการไปแล้ว เช่นการแก้ไขกฎหมายของ 3 กรมภาษี ทั้งกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร เพื่อสร้างฐานรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดเก็บภาษี ที่ผ่านการเห็นชอบของที่ประชุม ครม. และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้ง กฎหมายที่กระทรวงการคลังเสนอและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ที่จะเริ่มประกาศใช้ภายหลังจาก 180 วัน โดยเฉพาะเรื่องของภาษีการรับโอน เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีมรดกไม่ให้เกิดการรั่วไหล
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และมีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้งโครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) ที่กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้กับผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์ไปแล้ว 12 ราย และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่จะดูแลประชาชนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่สมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบตามที่กองทุนกำหนดไว้
ทั้งนี้ มาตรการที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ รมว.การคลัง พิจารณา แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้นประกอบด้วย มาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐ (แบงก์รัฐ) ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถมาประกอบอาชีพได้ตามปกติ รวมถึงแผนการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งงบประจำและงบลงทุน ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของงบประมาณปี 2558 และแนวทางการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2559
ขณะที่ มาตรการระยะยาวประกอบด้วย การปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่รัฐบาลต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมในสังคม โดยต้องรอให้ รมว.การคลัง พิจารณาและเห็นชอบ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อบริหารจัดการหนี้ที่รัฐบาลค้างจ่าย วงเงิน 7.3 แสนล้านบาท ด้วยการออกกฎหมายพิเศษล้างหนี้ของประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าและดำเนินการไปแล้ว เช่นการแก้ไขกฎหมายของ 3 กรมภาษี ทั้งกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร เพื่อสร้างฐานรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดเก็บภาษี ที่ผ่านการเห็นชอบของที่ประชุม ครม. และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้ง กฎหมายที่กระทรวงการคลังเสนอและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ที่จะเริ่มประกาศใช้ภายหลังจาก 180 วัน โดยเฉพาะเรื่องของภาษีการรับโอน เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีมรดกไม่ให้เกิดการรั่วไหล
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และมีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้งโครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) ที่กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้กับผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์ไปแล้ว 12 ราย และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่จะดูแลประชาชนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่สมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบตามที่กองทุนกำหนดไว้