รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2558 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นซองประกวดเทคนิคและราคาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ โดยเปิดให้ยื่นซองเทคนิคและซองราคาเวลา 09.30-10.00 น. ปรากฏว่ามีผู้สนใจเข้ามายื่นซองทั้งหมด 2 รายจากผู้ที่ซื้อซองไปทั้งสิ้น 12 ราย
สำหรับผู้ที่ยื่นซองประกวดฯ 2 ราย ได้แก่ 1.กลุ่มบริษัทค้าร่วมระหว่างพาวเวอร์ไชน่ากับอิตาเลียน-ไทย (ซีเมนต์และ B&W จะเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์) 2.อัลสตอม และมารูเบนี (ALSTOM Thailand -Marubeni Corporation) อย่างไรก็ตาม กลุ่มซีเมนและมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้แจ้งว่าจะมาลงทะเบียน แต่ที่สุดไม่ได้ยื่นเพียงมาสังเกตการณ์เท่านั้น
นายรัตนชัย นามวงศ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ. คาดว่าอีก 4 เดือนจะทราบว่าใครชนะประมูล โดยโครงการนี้มีราคากลางประมาณ 49,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะลงนามสัญญาก่อสร้างหลังจากรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรืออีเอชไอเอ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและรัฐบาลอนุมัติก่อสร้าง ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ชุมชนมีความกังวล แต่แผนก่อสร้างได้คำนึงถึงความกังวลและกำหนดมาตรการเข้มข้นด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดในเงื่อนไขการก่อสร้างที่เข้มข้นมากกว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล
ด้านเครือข่ายภาคประชาชน ออกจดหมายเปิดผนึก เรื่อง จดหมายเปิดผนึก "ทางออกเฉพาะหน้ากรณีความขัดแย้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ - เทพา" โดยมีผู้ร่วมลงชื่อแนบท้ายจดหมายดังกล่าวแบ่งเป็นองค์กร 42 แห่ง บุคคล 53 คน เนื้อหาของจดหมายะบุถึงความขัดแย้งที่ทวีขึ้นของเจ้าของโครงการและผู้คัดค้าน โดยคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่จัดตั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาเริ่มตั้งแต่การวางแผนด้านพลังงานในแผน PDP 2015 จึงเสนอข้อเรียกร้องให้เปิดเวทีสาธารณะเพื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลให้รอบด้าน ในเรื่องความมั่นคงพลังงานไฟฟ้า ความเหมาะสมของแผน PDP 2015 ภาระทางการเงินของผู้บริโภคในระยะยาว โดยระหว่างนี้ให้ชะลอการเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ จนกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังขอให้ยกเลิกผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (เวที ค.1 ถึง ค.3) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น ภายใต้กระบวนการที่โปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิบาล
สำหรับผู้ที่ยื่นซองประกวดฯ 2 ราย ได้แก่ 1.กลุ่มบริษัทค้าร่วมระหว่างพาวเวอร์ไชน่ากับอิตาเลียน-ไทย (ซีเมนต์และ B&W จะเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์) 2.อัลสตอม และมารูเบนี (ALSTOM Thailand -Marubeni Corporation) อย่างไรก็ตาม กลุ่มซีเมนและมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้แจ้งว่าจะมาลงทะเบียน แต่ที่สุดไม่ได้ยื่นเพียงมาสังเกตการณ์เท่านั้น
นายรัตนชัย นามวงศ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ. คาดว่าอีก 4 เดือนจะทราบว่าใครชนะประมูล โดยโครงการนี้มีราคากลางประมาณ 49,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะลงนามสัญญาก่อสร้างหลังจากรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรืออีเอชไอเอ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและรัฐบาลอนุมัติก่อสร้าง ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ชุมชนมีความกังวล แต่แผนก่อสร้างได้คำนึงถึงความกังวลและกำหนดมาตรการเข้มข้นด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดในเงื่อนไขการก่อสร้างที่เข้มข้นมากกว่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล
ด้านเครือข่ายภาคประชาชน ออกจดหมายเปิดผนึก เรื่อง จดหมายเปิดผนึก "ทางออกเฉพาะหน้ากรณีความขัดแย้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ - เทพา" โดยมีผู้ร่วมลงชื่อแนบท้ายจดหมายดังกล่าวแบ่งเป็นองค์กร 42 แห่ง บุคคล 53 คน เนื้อหาของจดหมายะบุถึงความขัดแย้งที่ทวีขึ้นของเจ้าของโครงการและผู้คัดค้าน โดยคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่จัดตั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาเริ่มตั้งแต่การวางแผนด้านพลังงานในแผน PDP 2015 จึงเสนอข้อเรียกร้องให้เปิดเวทีสาธารณะเพื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลให้รอบด้าน ในเรื่องความมั่นคงพลังงานไฟฟ้า ความเหมาะสมของแผน PDP 2015 ภาระทางการเงินของผู้บริโภคในระยะยาว โดยระหว่างนี้ให้ชะลอการเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ จนกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังขอให้ยกเลิกผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (เวที ค.1 ถึง ค.3) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น ภายใต้กระบวนการที่โปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิบาล