วันนี้ (29 ก.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ดำเนินการเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในช่วงที่ผ่านมาในหลายรูปแบบ อาทิ การช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (เกาะอัมบน , เบนจิน่า) ตาม 4 ภารกิจ คือ 1.ช่วยเหลือคนไทย 2.ช่วยเหลือคนที่เป็นเหยื่อ/อยากกลับบ้าน 3.ตรวจสอบคนไทยในสุสาน 4.ส่งคนไทยกลับบ้าน โดยสามารถช่วยเหลือแรงงาน เดินทางกลับได้ 452 คน จากการคัดแยกมีเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 32 คน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการจัดระเบียบคนเร่ร่อนขอทาน การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมตามหลัก 3P ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย (Policy) คุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) และป้องกัน (Prevention) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคทางสังคม รวมทั้งมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน" การจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ 3 ครั้ง กทม. 2 ครั้ง (ต.ค. และ พ.ย.57) ขยายผลทั่วประเทศ 1 ครั้ง (พ.ค.58) ผลการจัดระเบียบทั่วประเทศพบขอทานรวม 1,626 คน (ไทย 1,025 คน ต่างด้าว 601 คน) การปรับปรุงสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชาย โดยน้อมนำโครงการพระราชดำริเป็นแนวทางฝึกอาชีพ (ธัญบุรีโมเดล) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทาน และคนไร้ที่พึ่ง ในพื้นที่ กทม. จัดชุดปฏิบัติการ 6 ชุด และให้มีจังหวัด นำร่องเพื่อขยายผลไปยังส่วนภูมิภาค จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคนไร้ที่พึ่งคนขอทาน ได้รับเงินประเดิมจากภาคเอกชนจำนวน 1 ล้านบาท และจัดตั้งกล่องบริจาคจำนวน 100 กล่อง เพื่อพัฒนาฟื้นฟูและเป็นกองทุนประกอบอาชีพ รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผ่านคณะกรรมการนโยบายแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ และการทำประมงผิดกฎหมาย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านสตรีฯ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการแก้ไขปัญหา โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านสตรีและเด็ก (ศสด.) ขับเคลื่อนการปฏิบัติ
พร้อมทั้งมีการพัฒนาและสร้างความมั่นคงในที่ดินและที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ โดยจัดสรรที่ดินและมอบเอกสารสิทธิ ที่ดินทำกินนิคมสร้างตนเอง จำนวน 17,407 ไร่ ในพื้นที่นิคมฯ 37 แห่งทั่วประเทศ แก้ปัญหาที่ดินให้ประชาชน 3,567 ราย จัดสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ตามโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ของ กคช. จำนวน 38 โครงการ 16,146 หน่วย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด (ผลดำเนินการตั้งแต่ 2519 - ปัจจุบัน จำนวน 709,256 ใน 6 หน่วย กลุ่มเป้าหมาย 2.2 ล้านคน) รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดน โดยจัดทำแผนแม่บทโครงการฟื้นฟู เมืองชุมชนดินแดงปี 2558 โดยเน้นแผนการก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยและการเคลื่อนย้าย ซึ่งแผนแม่บทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ การเคหะแห่งชาติแล้ว เมื่อ 25 มีนาคม 2558 อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยผ่านความเห็นของ สศช. ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการ ดังนี้ 1.ก่อสร้างใหม่ทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม 6,492 หน่วย 2.ปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิมที่ไม่เสื่อมโทรมมาก 4,746 หน่วย 3.ก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับข้าราชการและบุคคลภายนอก 13,924 หน่วย ใช้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7.6 ปี มีจำนวนประชากรที่ได้รับประโยชน์ 30,000 คน
อย่างไรก็ตาม มีการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและการรุกล้ำลำคลอง 9 สายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บุกรุก 16,881 ครัวเรือน ประชากร 68,087 คน โดยระยะที่ 1 (พ.ศ. 2558 ถึง 2560) นำร่องในคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร พื้นที่ 8 เขต 66 ชุมชน 9,981 ครัวเรือน ประชากร 58,838 คน งบประมาณ 419,221 ล้านบาท อีกทั้งดำเนิน"โครงการบ้านมั่นคง" เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัดแล้วเสร็จ ใน 5 พื้นที่ (กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี กระบี่ ขอนแก่น นครสวรรค์) โดยมีประชาชนผู้รับผลประโยชน์ 1,185 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 6,300 ครัวเรือน ควบคู่กับการขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และการสร้างพื้นที่รูปธรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนริมคลอง ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนริมคลอง โดยมีแผนการปฏิบัติการ 3 ปี (พ.ศ. 2558 - 2560)
นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการจัดระเบียบคนเร่ร่อนขอทาน การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมตามหลัก 3P ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย (Policy) คุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) และป้องกัน (Prevention) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคทางสังคม รวมทั้งมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน" การจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ 3 ครั้ง กทม. 2 ครั้ง (ต.ค. และ พ.ย.57) ขยายผลทั่วประเทศ 1 ครั้ง (พ.ค.58) ผลการจัดระเบียบทั่วประเทศพบขอทานรวม 1,626 คน (ไทย 1,025 คน ต่างด้าว 601 คน) การปรับปรุงสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชาย โดยน้อมนำโครงการพระราชดำริเป็นแนวทางฝึกอาชีพ (ธัญบุรีโมเดล) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทาน และคนไร้ที่พึ่ง ในพื้นที่ กทม. จัดชุดปฏิบัติการ 6 ชุด และให้มีจังหวัด นำร่องเพื่อขยายผลไปยังส่วนภูมิภาค จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคนไร้ที่พึ่งคนขอทาน ได้รับเงินประเดิมจากภาคเอกชนจำนวน 1 ล้านบาท และจัดตั้งกล่องบริจาคจำนวน 100 กล่อง เพื่อพัฒนาฟื้นฟูและเป็นกองทุนประกอบอาชีพ รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผ่านคณะกรรมการนโยบายแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ และการทำประมงผิดกฎหมาย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านสตรีฯ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการแก้ไขปัญหา โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านสตรีและเด็ก (ศสด.) ขับเคลื่อนการปฏิบัติ
พร้อมทั้งมีการพัฒนาและสร้างความมั่นคงในที่ดินและที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ โดยจัดสรรที่ดินและมอบเอกสารสิทธิ ที่ดินทำกินนิคมสร้างตนเอง จำนวน 17,407 ไร่ ในพื้นที่นิคมฯ 37 แห่งทั่วประเทศ แก้ปัญหาที่ดินให้ประชาชน 3,567 ราย จัดสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ตามโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ของ กคช. จำนวน 38 โครงการ 16,146 หน่วย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด (ผลดำเนินการตั้งแต่ 2519 - ปัจจุบัน จำนวน 709,256 ใน 6 หน่วย กลุ่มเป้าหมาย 2.2 ล้านคน) รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดน โดยจัดทำแผนแม่บทโครงการฟื้นฟู เมืองชุมชนดินแดงปี 2558 โดยเน้นแผนการก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยและการเคลื่อนย้าย ซึ่งแผนแม่บทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ การเคหะแห่งชาติแล้ว เมื่อ 25 มีนาคม 2558 อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยผ่านความเห็นของ สศช. ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการ ดังนี้ 1.ก่อสร้างใหม่ทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม 6,492 หน่วย 2.ปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิมที่ไม่เสื่อมโทรมมาก 4,746 หน่วย 3.ก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับข้าราชการและบุคคลภายนอก 13,924 หน่วย ใช้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7.6 ปี มีจำนวนประชากรที่ได้รับประโยชน์ 30,000 คน
อย่างไรก็ตาม มีการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและการรุกล้ำลำคลอง 9 สายตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บุกรุก 16,881 ครัวเรือน ประชากร 68,087 คน โดยระยะที่ 1 (พ.ศ. 2558 ถึง 2560) นำร่องในคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร พื้นที่ 8 เขต 66 ชุมชน 9,981 ครัวเรือน ประชากร 58,838 คน งบประมาณ 419,221 ล้านบาท อีกทั้งดำเนิน"โครงการบ้านมั่นคง" เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัดแล้วเสร็จ ใน 5 พื้นที่ (กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี กระบี่ ขอนแก่น นครสวรรค์) โดยมีประชาชนผู้รับผลประโยชน์ 1,185 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 6,300 ครัวเรือน ควบคู่กับการขับเคลื่อนแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และการสร้างพื้นที่รูปธรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนริมคลอง ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนริมคลอง โดยมีแผนการปฏิบัติการ 3 ปี (พ.ศ. 2558 - 2560)