นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยยอดการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2558 พบว่ามีมูลค่า 18,162 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.87 ส่งผลให้ยอดการส่งออกในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- มิ.ย.58) มีมูลค่า 106,856 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.84 ซึ่งยอดส่งออกที่ติดลบดังกล่าว ถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน นับจากเดือน ธันวาคม 2554 ซึ่งติดลบร้อยละ 8.15
ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 18,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.21 ทำให้ยอดการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.58) มีมูลค่า 103,383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.91 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรก ไทยยังคงเกินดุลการค้าอยู่ 3,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ฉุดยอดส่งออกยังคงมาจากปัจจัยราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำลง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด แต่ยังมั่นใจยอดส่งออกเดือนกรกฎาคม 58 จะดีขึ้น หลังสินค้าในกลุ่มยานยนต์ และสินค้าเกษตรเริ่มมีแนวโน้มส่งออกดีขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงยังจะช่วยหนุนให้การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าจะเริ่มสั่งซื้อสินค้ามากขึ้นตามฤดูกาลด้วย
ส่วนกรณีสหรัฐอเมริกาจะประกาศรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ ประจำปี 2558 ในคืนนี้ หากไทยจะถูกให้คงสถานะเดิม จะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าในทันที เพราะการสั่งซื้อสินค้ายังคงต้องเป็นไปตามพันธสัญญา แต่อาจจะส่งผลในแง่ภาพลักษณ์ของประเทศต่อนักลงทุน ที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน และยังคงมีหลายประเทศที่การส่งออกติดลบมากกว่าไทย เช่น ออสเตรเลีย ติดลบร้อยละ 21.9 ฝรั่งเศสติดลบร้อยละ 16.8 สิงคโปร์ติดลบร้อยละ 13.3 มาเลเซียติดลบร้อยละ 13.1 และญี่ปุ่นติดลบร้อยละ 7.8 ขณะที่ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และไต้หวัน เป็นต้น
ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 18,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.21 ทำให้ยอดการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.58) มีมูลค่า 103,383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.91 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรก ไทยยังคงเกินดุลการค้าอยู่ 3,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ฉุดยอดส่งออกยังคงมาจากปัจจัยราคาน้ำมันดิบที่ลดต่ำลง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด แต่ยังมั่นใจยอดส่งออกเดือนกรกฎาคม 58 จะดีขึ้น หลังสินค้าในกลุ่มยานยนต์ และสินค้าเกษตรเริ่มมีแนวโน้มส่งออกดีขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงยังจะช่วยหนุนให้การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าจะเริ่มสั่งซื้อสินค้ามากขึ้นตามฤดูกาลด้วย
ส่วนกรณีสหรัฐอเมริกาจะประกาศรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ ประจำปี 2558 ในคืนนี้ หากไทยจะถูกให้คงสถานะเดิม จะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าในทันที เพราะการสั่งซื้อสินค้ายังคงต้องเป็นไปตามพันธสัญญา แต่อาจจะส่งผลในแง่ภาพลักษณ์ของประเทศต่อนักลงทุน ที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน และยังคงมีหลายประเทศที่การส่งออกติดลบมากกว่าไทย เช่น ออสเตรเลีย ติดลบร้อยละ 21.9 ฝรั่งเศสติดลบร้อยละ 16.8 สิงคโปร์ติดลบร้อยละ 13.3 มาเลเซียติดลบร้อยละ 13.1 และญี่ปุ่นติดลบร้อยละ 7.8 ขณะที่ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และไต้หวัน เป็นต้น