การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (23 ก.ค.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ โดยมี พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ เป็นประธาน กมธ.พิจารณา จำนวน 125 มาตรา โดยสาระสำคัญที่สมาชิกสนใจ คือ เรื่องสวัสดิการที่คนประจำเรือจะได้รับจากเจ้าของเรือ อาทิ มาตรา77 ให้เจ้าของเรือจัดให้มีพื้นที่และอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมอาหาร เพื่อให้สามารถเตรียมอาหารได้อย่างถูกสุขลักษณะและถูกโภชนาการ
ขณะที่ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. ได้ตั้งข้อสังเกตให้มีการแก้ไขคำว่าจัดเตรียมอาหารเป็นคำว่าการครัว เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. กล่าวว่า มาตรา57 การที่ให้คนประจำเรือมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 130 วัน ยังขาดความชัดเจนในการนับจำนวนรอบเจ็บป่วย
ส่วน กมธ.ชี้แจงว่า การจ่ายสวัสดิการค่าตอบแทนเป็นหน้าที่ของบริษัทคู่สัญญาประกันภัยที่เจ้าของเรือจะต้องจัดหาสวัสดิการให้กับคนประจำบนเรือ โดยมีข้อกำหนดลาป่วยแบบได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 130 วันต่อครั้ง ซึ่งหลังจากการอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง ที่ประชุมเห็นควรให้คงตามเดิม และบันทึกเป็นข้อสังเกตของที่ประชุม ก่อนจะมีมติผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนน 145 ต่อ 3 เสียง และเห็นควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ขณะที่ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. ได้ตั้งข้อสังเกตให้มีการแก้ไขคำว่าจัดเตรียมอาหารเป็นคำว่าการครัว เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ
ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. กล่าวว่า มาตรา57 การที่ให้คนประจำเรือมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 130 วัน ยังขาดความชัดเจนในการนับจำนวนรอบเจ็บป่วย
ส่วน กมธ.ชี้แจงว่า การจ่ายสวัสดิการค่าตอบแทนเป็นหน้าที่ของบริษัทคู่สัญญาประกันภัยที่เจ้าของเรือจะต้องจัดหาสวัสดิการให้กับคนประจำบนเรือ โดยมีข้อกำหนดลาป่วยแบบได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 130 วันต่อครั้ง ซึ่งหลังจากการอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง ที่ประชุมเห็นควรให้คงตามเดิม และบันทึกเป็นข้อสังเกตของที่ประชุม ก่อนจะมีมติผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนน 145 ต่อ 3 เสียง และเห็นควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป